Social :



“วิษณุ”ค้านตั้งกมธ.ม.44มองยิบย่อยไม่วิจารณ์สภาล่ม2วัน

30 พ.ย. 62 06:11
“วิษณุ”ค้านตั้งกมธ.ม.44มองยิบย่อยไม่วิจารณ์สภาล่ม2วัน

“วิษณุ”ค้านตั้งกมธ.ม.44มองยิบย่อยไม่วิจารณ์สภาล่ม2วัน




"วิษณุ" ยืนยัน ไม่เห็นด้วยการตั้ง กมธ. ศึกษาผลกระทบ ม.44 มองเป็นเรื่องยิบย่อย แต่ควรนำปัญหาไปเสนอตรงกับ กมธ.ที่เกี่ยวข้อง ขณะไม่ขอแสดงความเห็นประชุมสภาล่ม2วันติด

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีศึกษาผลกระทบมาตรา 44 ว่าเหลือไม่กี่ฉบับ ส่วนความเห็นที่ถูกเสนอว่าไม่ควรตั้งกรรมาธิการ หมายถึงว่า เมื่อมีเรื่องอะไรเหลืออยู่ก็ส่งไปที่กรรมาธิการสามัญในแต่ละคณะ ยกขึ้นเป็นรายฉบับได้ และคิดว่าวิธีนี้จะได้ผลดีกว่า เช่น ถ้าเป็นเรื่องแรงงาน IUU ก็ควรไปเข้ากรรมาธิการแรงงาน น่าจะได้ผลดีกว่าเอาทั้งหมดมาหารือกันในคณะกรรมาธิการเพียงชุดเดียว ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้

ส่วนประเด็นที่กรรมาธิการ จะเรียนเชิญให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้า และ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เข้าไปชี้แจง มองว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะกรรมาธิการชุดไหนก็เรียกให้เข้าไปชี้แจงได้

ซึ่ง ยืนยันว่าคำสั่งของ คสช. เหลืออยู่ไม่กี่ฉบับ ที่เหลืออยู่ก็เพราะว่ามันเป็นการไปแก้ พ.ร.บ. บางฉบับ อย่างกรณี พ.ร.บ. ฉบับหนึ่งมี 40 มาตรา ก็ออกคำสั่ง คสช. ไปแก้ 5 มาตรา พอแก้เสร็จก็จะถูกบรรจุใน พ.ร.บ. ฉบับนั้น พอเลิกทันทีก็จะเกิดช่องว่างคือ 5 มาตรานั้นหายไป ซึ่งจะกระทบกับ พ.ร.บ. ทั้งฉบับ และจำเป็นต้องคงเอาไว้ แต่ยืนยันบางฉบับ หมดไปพร้อมกับ คสช. จึงเกิดคำถามตามมาว่าทำไมถึงไม่ยกเลิกให้หมดไป คำตอบที่ได้คือ กว่า 20 ฉบับก็จะเป็นในลักษณะแบบนี้ เพราะ คสช. หมดไปตามสภาพ


ซึ่งก่อนหน้านั้น รัฐบาลไม่รู้ว่า คสช. จะหมดวาระไปตอนไหน เพราะขึ้นอยู่กับการถวายสัตย์ของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งบางฉบับก็หมดไปพร้อมกับ คสช. และรัฐบาลชุดเก่า

ส่วนบางฉบับที่ยังไม่สิ้นสุด เพราะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเช่นการโยกย้าย พักงาน ของ อบจ.
MulticollaC
อบต. แต่เมื่อไหร่ที่มีการสอบบุคคลเหล่านีหรือเคลียร์คำสั่งพวกนี้ สิ้นสุด ซึ่งเหลืออยู่ไม่เท่าไหร่

 

“วิษณุ”ไม่ขอแสดงความเห็นประชุมสภาล่ม2วันติด

นายวิษณุ ไม่ขอแสดงความคิดเห็นหลังจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ล่ม 2 ครั้งที่ผ่านมา จะกระทบกับการเสนอแก้กฎหมายที่สำคัญต่อไปหรือไม่ แต่ได้ระบุถึงการประชุมในช่วงที่ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยหรือข้างมาก การรักษาองค์ประชุมให้ครบเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพรรคร่วมรัฐบาล

ส่วนกรณีฝ่ายค้าน จะเดินออก-เดินเข้า ก็เป็นสิทธิและหน้าที่ของแต่ละคน และไม่ขอแสดงความเห็นว่าเป็นการบกพร่องต่อการทำงานของรัฐบาลหรือไม่หลังเกิดสภาล่มติดกัน 2 วัน ส่วนจะต้องแสดงความรับผิดชอบหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่เรื่อง เพราะหากเป็นเรื่องใหญ่ต้องรับผิดชอบ อย่างเช่นการเสนอกฎหมาย แต่กรณีที่เกิดขึ้นเป็นญัตติธรรมดา พร้อมทิ้งท้ายว่า ส่วนตัว เคยเห็นแต่พรรคร่วมรัฐบาลเดินออกที่ประชุม


 

“วิษณุ” เห็นด้วยถึงเวลาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ

นายวิษณุ ได้กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าจะมีการตั้งอยู่แล้ว ส่วนจะเสร็จหรือไม่และจะใช่เวลาเท่าใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมาธิการ และหากเสร็จต้องรายงานต่อรัฐสภา เช่นเดียวกับกรรมาธิการทุกคณะที่ทำหน้าที่แทนสภาเท่านั้น

ส่วนการตั้งกรรมาธิการชุดนี้จะมีการตั้งในสัปดาห์หน้า ซึ่งต้องทำตามขั้นตอน และไม่สามารถข้ามญัตติได้ เพราะในระหว่างมีญัตติห้ามเสนอญัตติอื่นแทกรกเข้ามา ซึ่งเรื่องนี้ ส.ส. ต้องกลับไปหารือกันอีกครั้ง เพราะหากยกญัตติรัฐธรรมนูญขึ้นมา จะทำให้ญัตติการตั้งคณะกรรมาธิการในเรื่อง มาตรา 44 ก็ต้องตกไป ซึ่งส่วนตัวมองว่าญัตติการแก้รัฐธรรมนูญควรเสนอมาก่อนหน้านี้ ซึ่งตอนนี้มองว่าสำหรับการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นช่วงที่เหมาะสม ส่วนจะแก้ตรงไหนบ้าง ยังไม่ทราบในรายละเอียด เพราะจากการสังเกตเห็น ส.ส. แต่ละคน จะพูดกันคนละประเด็น ส่วนตัวมองว่าหากกลับไปให้รัฐบาลคิด อาจไม่ตรงกับนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. พลังประชารัฐ , นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. ประชาธิปัตย์ และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งคิดไม่ตรงกัน ซึ่งคณะกรรมาธิการต้องกลับไปหารือกันก่อน



ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด