Social :



อะไรทำให้อีลอน มัสก์เป็นอัจฉริยะด้านการเรียนรู้

18 ก.พ. 63 07:02
อะไรทำให้อีลอน มัสก์เป็นอัจฉริยะด้านการเรียนรู้

อะไรทำให้อีลอน มัสก์เป็นอัจฉริยะด้านการเรียนรู้

ในช่วงชีวิตของอีลอน มัสก์ เขาสร้างธุรกิจที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์มากถึง 4 ธุรกิจ ซึ่งก็คือเพย์พาล สเปซเอ็กซ์ เทสลา และโซลาร์ ซิตี้ อีลอน มัสก์ทำงานอาทิตย์ละ 85 ชั่วโมง เขาเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์และเป็นคนขยัน บทความนี้อ้างอิงมาจากบทความภาษาอังกฤษที่เขียนโดยไมเคิล ซิมมอนส์ ชื่อบทความว่า How Elon Musk learns faster and better than everyone else?


ไมเคิล ซิมมอนส์อธิบายว่ามัสก์ แหกกฎความเชื่อแบบดั้งเดิมว่าการที่จะเป็นคนเก่งระดับโลก เราต้องพัฒนาทักษะและความสามารถเพียงด้านเดียวให้โดดเด่น แต่จริงๆแล้วเราต้องเป็นคนที่เชี่ยวชาญในหลายๆด้าน เช่น ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ การก่อสร้าง คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ ปัญญาประดิษฐ์  และไฟฟ้า 

ไมเคิล ซิมมอนส์บอกว่าอีลอน มัสก์เป็นพหูสูตร (Polymaths) Polymath ในภาษาอังกฤษหมายถึงคนที่มีความรู้หลายๆด้านและเป็นคนรักการเรียนรู้จนสามารถนำความรู้ต่างๆไปแก้ปัญหาได้ ส่วนพหูสูตรในภาษาไทยหมายถึงคนที่เรียนรู้มาก คนที่มีความทรงจำดี มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนอย่างลึกซึ้งจนสามารถขบคิดให้แตกเป็นทฤษฎีและสามารถนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ได้

อะไรทำให้อีลอน มัสก์เป็ยพหูสูตร อีลอน มัสก์ให้เวลากับการเรียนรู้สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง เขาเป็นคนที่ศึกษาหาความรู้ในหลายๆด้านหลายๆสาขา เขาเป็นคนที่เข้าใจความรู้ในแต่ละสาขาไปถึงแก่นของความรู้นั้นๆและสามารถเอาความรู้ที่หลากหลายไปเชื่อมต่อกันได้ ไมเคิล 

ซิมมอนส์แนะนำให้เราเรียนรู้หลายๆด้านเพราะการมีความรู้หลายด้านช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้ดีกว่า คนที่ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างบริษัทระดับโลกขึ้นมาได้ต่างก็เป็นพหูสูตร ไม่ว่าจะเป็นบิลล์ เกตส์ สตีฟ จ็อบส์
MulticollaC
หรือวอร์เรน บัฟเฟตต์

การมีความรู้หลายๆด้านถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น ถ้าคุณอยู่ในวงการธุรกิจสตาร์ทอัพทุกคนก็จะอ่านข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี แต่ถ้าคุณมีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาด้วย คุณจะมีไอเดียและแนวความคิดที่พิเศษที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแบบคุณได้ มีคนน้อยมากที่เรียนรู้เรื่องอื่นที่ไม่ใช่สาขาอาชีพที่ตัวเองทำอยู่

จากคำบอกเล่าของน้องชายของอีลอน มัสก์ อีลอน มัสก์อ่านหนังสือสัปดาห์ละ 2 เล่มและอ่านหนังสือหลายๆประเภท เขาอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ การออกแบบ เทคโนโลยี และธุรกิจ อีลอน มัสก์เรียนรู้เพื่อเข้าใจไปถึงแก่นขององค์ความรู้นั้นๆและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆจากองค์ความรู้เดิมที่เขามี

มัสก์ศึกษาเรื่องการเงินการธนาคาร ศึกษาการเขียนโปรแกรมจนเข้าใจอย่างถ่องแท้ หลังจากนั้นเขาเอาความรู้เรื่องการเงินมาสร้างธุรกิจที่มีชื่อว่า PayPal ซึ่งเป็นระบบชำระเงินออนไลน์ มัสก์ศึกษาเรื่องวิศกรรมยานยนต์และเทคโนโลยีไฟฟ้า แล้วนำความรู้นี้ไปสร้างบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าที่มีชื่อว่า Tesla 

มัสก์ศึกษาฟิสิกส์และวิศกรรมโยธา มัสก์นำความรู้สองอย่างนี้มารวมกันแล้วสร้างเป็น Hyperloop แคปซูลโดยสารที่เคลื่อนที่ในท่อที่ไม่มีแรงต้านอากาศซึ่งถ้าทำสำเร็จไฮเปอร์ลูปสามารถเดินทางด้วยความเร็ว 1,200 กม./ชม.

ไมเคิล ซิมมอนส์แนะนำว่าเราไม่ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง (specialist) แต่เราควรจะเป็นผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้านที่มีความรู้กว้างขวาง (expert-generalist)





อ้างอิง

โพสต์โดย : writer