Social :



ต้องปรับตัว! "หมอยง" ห่วง โควิด-19 ระบาดระลอก 2 ในกลุ่มนักเรียนช่วงหน้าฝน

23 พ.ค. 63 12:05
ต้องปรับตัว! "หมอยง" ห่วง โควิด-19 ระบาดระลอก 2 ในกลุ่มนักเรียนช่วงหน้าฝน

ต้องปรับตัว! "หมอยง" ห่วง โควิด-19 ระบาดระลอก 2 ในกลุ่มนักเรียนช่วงหน้าฝน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หวั่นว่าโควิด-19 จะกลับมาระบาดในช่วงฤดูฝน ห่วงเด็กนักเรียนกลับมาเรียนกลายเป็นกลุ่มแพร่เชื้อ แนะ โรงเรียนต้องมีการเตรียมการ การเรียนการสอนแบบวิถีชีวิตใหม่

เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดเทอมในช่วงฤดูฝน ว่าอาจจะมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ระรอกที่ 2 ฉะนั้น จึงต้องมีการเตรียมวิธีรับมือในการป้องกันโรคระบาดและวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ ทั้งนี้ หมอยง ได้ระบุข้อความว่า


"โควิด-19 เราจะต้องอยู่ด้วยกันได้ ถึงแม้ว่า ขณะนี้ประเทศไทยติดเชื้อน้อยมาก จะพบการติดเชื้อ ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ มาตรการในการควบคุมทำได้ดีมากแต่ยังมีโรคนี้ระบาดอยู่ทั่วโลก มีผู้ป่วยใหม่วันละเป็นแสนคน จึงเป็นการยากที่จะกวาดล้างไวรัสนี้ให้หมดไป ทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัว ให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ ในทุกปี โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่นไข้หวัดใหญ่ RSV จะพบน้อยมากในฤดูร้อน และในช่วงปิดเทอม จะระบาดมากในฤดูฝน เริ่มตั้งแต่นักเรียนเปิดเทอม จะติดต่อกันง่ายมาก ในโรงเรียน โควิด-19 เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีการติดเชื้อ เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจ ก็ไม่แปลก ที่จะระบาดในฤดูฝน โดยเฉพาะจากเด็กสู่เด็กก่อน แล้วจึงแพร่ระบาดออกไป
Lif

การระบาดในระลอก 2 ถ้าเกิดในฤดูฝน อย่างไข้หวัดใหญ่ ก็ยากที่จะควบคุม จะต้องเริ่มต้นปิดบ้านปิดเมืองใหม่ หรือ ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น การเรียนการสอนปีนี้ จึงต้องอยู่ในวิถีชีวิตใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคได้ เด็กนักเรียนจะต้องเรียนได้ทั้งที่บ้าน และ ที่โรงเรียน การเรียนการสอน ไม่ควรยกให้เป็นภาระของโรงเรียนเท่านั้น ที่บ้านก็จะต้องมีบทบาทมาก แม้กระทั่งท้องถิ่น ก็มีปราชญ์ชาวบ้านมากมาย ที่พร้อมจะสอนได้ การประสบความสำเร็จในชีวิตของเด็ก ไม่ได้เกิดจากการแข่งขันเข้าเรียน การกวดวิชา โรงเรียนกวดวิชาไม่สามารถกำหนดระยะห่างของบุคคลได้ เด็กเรียนกวดวิชาจ่ายค่าเล่าเรียนแพง แล้วนั่งเรียนกับครูตู้ นั่งติดกัน ก็ไม่เห็นมีใครบ่น หรือดรามา ที่ผ่านมา คนมีฐานะสามารถให้ลูกหลานไปเรียนกวดวิชา เกิดความแตกต่างทางการศึกษา เพราะตัววัดของเราไม่ดี คุณครูเองก็จะต้องเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสเลย การเรียนเชิงภาคปฏิบัติ ปฏิบัติงานจริง ไปทำได้จริง ถึงอยู่ที่บ้านก็สามารถทำได้ การศึกษาในปีนี้ จึงต้องมีการเตรียมการ การเรียนการสอนแบบวิถีชีวิตใหม่ ให้เด็กไทยประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ใช่เกิดความเครียดในการเรียน ตั้งแต่เช้าจนเย็น นอกเวลาต้องไปกวดวิชา วิถีชีวิตใหม่ อาจทำให้เด็กมีความสุขมากขึ้นก็ได้"



ขอขอบคุณข้อมูล- Manager Online 

โพสต์โดย : Ao