Social :



สธ.จับมือจุฬาฯ ชุบชีวีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ฆาตรกรเงียบที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน พบมากถึง 14 ล้านคน

10 ส.ค. 59 14:38
สธ.จับมือจุฬาฯ ชุบชีวีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ฆาตรกรเงียบที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน พบมากถึง 14 ล้านคน

สธ.จับมือจุฬาฯ ชุบชีวีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ฆาตรกรเงียบที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน พบมากถึง 14 ล้านคน

สธ.จับมือจุฬาฯ ชุบชีวีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 

ฆาตรกรเงียบที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน พบมากถึง  14  ล้านคน

 




วันนี้ ( 10  ส.ค.  2559)  นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตามโครงการ  “ เฉลิมพระเกียรติแปดสิบสี่พรรษา มหาราชินี ชุบชีวีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แก่แพทย์ พยาบาลจากโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศกว่า  300  คน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม 2559

 

นพ.โสภณ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้บรรจุให้การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เป็นกิจกรรมในแผนพัฒนาระบบบริการ ( Service plan) ให้มีการปฏิบัติในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เนื่องจากพบว่าเมื่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมาวัดระดับความดันโลหิตที่โรงพยาบาลก่อนพบแพทย์ จะมีค่าสูงกว่าความเป็นจริงถึงร้อยละ 30 สาเหตุจากความเหนื่อย

Lif
ความเครียด หรือเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ส่งผลให้แพทย์ผู้ทำการรักษาให้ยาเกินความจำเป็น ซึ่งการวัดความดันโลหิตเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการรักษาและควบคุมการเกิดโรคภาวะแทรกซ้อน   เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจ   การตายจากความดันโลหิตสูง เนื่องจากโรคนี้มักจะไม่มีอาการอะไรบ่งบอก หรือที่เรียกว่า  “ ฆาตกรเงียบ ”  และการวัดความดันโลหิตเองที่บ้าน จะช่วยเตือนให้ควบคุมระดับความดันโลหิต ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูงที่ทั่วโลกใช้

 

ทั้งนี้ การสำรวจภาวะสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 5 ปี  2557  พบคนไทยมีอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด พบมากถึง  14  ล้านคน ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด หัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว น้ำคั่งในปอด ไตวาย เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ค่าใช้จ่ายจากการมีผู้ดูแล ขาดงาน สูญเสียผลผลิต ความพิการ เกษียณอายุก่อนวัย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ข้อมูลจากกรมการแพทย์ปี  2557  การรักษาผู้ป่วยโรคนี้หากเป็นผู้ป่วยนอกมีค่าใช้จ่าย  831  บาท/คน/ปี ผู้ป่วยใน  4,586 บาท/คน/ปี ถ้ามีผู้ป่วย  10  ล้านคน ต้องเสียค่าใช้จ่าย  79,263  ล้านบาท/ปี





topicza.com

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด