Social :



เช็คที่นี่!‘ศูนย์ทนายฯ’แยกชัดๆ‘กลุ่มม็อบ’ที่ถูกจับใครเป็นใคร-ข้อหาอะไร พร้อมสถานการณ์ล่าสุด

17 ต.ค. 63 13:10
เช็คที่นี่!‘ศูนย์ทนายฯ’แยกชัดๆ‘กลุ่มม็อบ’ที่ถูกจับใครเป็นใคร-ข้อหาอะไร พร้อมสถานการณ์ล่าสุด

เช็คที่นี่!‘ศูนย์ทนายฯ’แยกชัดๆ‘กลุ่มม็อบ’ที่ถูกจับใครเป็นใคร-ข้อหาอะไร พร้อมสถานการณ์ล่าสุด

เช็คที่นี่!‘ศูนย์ทนายฯ’แยกชัดๆ‘กลุ่มม็อบ’ที่ถูกจับใครเป็นใคร-ข้อหาอะไร พร้อมสถานการณ์ล่าสุด


17 ตุลาคม 2563 เพจเฟซบุ๊ก “ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน” โพสต์ข้อความมีเนื้อหาดังนี้…

จับกุม 12 ราย ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จาก #ม็อบ16ตุลา และ #15ตุลาไปราชประสงค์

ภายหลังจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าสลายการชุมนุม #ม็อบ14ตุลา ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ได้มีประชาชนออกมาแสดงความไม่พอใจและไม่เห็นจำนวนมากจนเกิดการชุมนุมขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
16 ต.ค. 63 มีการนัดหมายชุมนุม #ม็อบ16ตุลา #16ตุลาไปราชประสงค์ #16ตุลาไปแยกปทุมวัน ตั้งแต่เวลา 16.00 น. การชุมนุมดำเนินไปจนกระทั่งเวลาประมาณ 18.48 น. เจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนได้ใช้กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากพร้อมอุปกรณ์ครบมือเข้าสลายการชุมนุม เริ่มด้วยการประกาศให้ยุติการชุมนุม ตามมาด้วยการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดน้ำเปล่า, น้ำผสมสี และน้ำผสมสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมจากบริเวณแยกเฉลิมเผ่า จนกลุ่มผู้ชุมนุมค่อยๆ ถอยร่นไปจนถึงบริเวณแยกปทุมวัน ก่อนจะยึดพื้นที่บริเวณแยกปทุมวัน หลังใช้เวลาในการเข้าสลายการชุมนุมกว่า 2 ชั่วโมง

ปฏิบัติการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน ได้มีการจับกุมผู้ชุมนุมระหว่างการสลายการชุมนุม จำนวน 9 ราย ขณะเดียวกันภายหลังจากการชุมนุมยุติลงได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าแสดงหมายจับตามที่ออกตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ มาตรา 12 เข้าจับกุมตัวแกนนำการชุมนุมก่อนหน้านี้จำนวน 3 ราย โดยรายชื่อผู้ที่ถูกจับกุมทั้ง 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ผู้ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลแขวงปทุมวัน ลงวันที่ 16 ต.ค. 2563 ฐานเป็นบุคคลตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 9

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
1. ชินวัตร จันทร์กระจ่าง นักกิจกรรมกลุ่มนนทบุรีปลดแอก

2. ทัดเทพ เรืองประไพกิจเสรี นักกิจกรรมกลุ่มเยาวชนปลดแอก

3. สมบัติ ทองย้อย คนเสื้อแดง

กลุ่มที่ 2 ผู้จับกุมตัวในขณะเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม

4. ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน บรรณาธิการบริหาร Spaceth.co

5. อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ นักกิจกรรมกลุ่มเส้นทางสีแดง

6. กิตติ พันธภาค ผู้สื่อข่าวประชาไท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
7. เอฐ์เรียฐ์ ฟอฟิ นักกิจกรรมกลุ่มศิลปินปลดแอก

8. ชลธิชา คุ้มจันทร์อัด

9. พรพสุ  ชูรอด

10. คณิติน  ติเยาว์

11. อรรคพล วันทะไชย

12. อินทราช แสงมณี

ผู้ถูกจับกุมตัวทั้งหมดได้ถูกส่งไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) เพื่อจัดทำบันทึกจับกุมตัว แจ้งข้อกล่าวหา และสอบปากคำ

MulticollaC
ต่อมาเวลา 01.45 น. ของวันที่ 17 ต.ค. 63 กิตติ พันธภาค ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้ถูกปล่อยตัวด้านหน้ากองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 ขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน และได้เปรียบเทียบปรับจำนวน 300 บาท

จนเวลาประมาณ 03.00 น. หลังกลุ่มนักวิชาการ ทนายความ ญาติของผู้ถูกจับกุมและสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจากพรรคฝ่ายค้านเดินทางไปเพื่อขอเข้าเยี่ยมผู้ถูกจับกุม  มีเพียง ส.ส.และทนายความที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปเยี่ยมผู้ถูกจับกุมภายใน บก.ตชด.ภาค 1 เท่านั้น

ภายหลังเข้าเยี่ยมผู้ถูกจับกุม ส.ส.พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า มีผู้ถูกจับกุมเพียง 12 รายและจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีการจับกุมผู้ชุมนุมกว่า 100 ราย จริงหรือไม่ ตำรวจใน บก.ตชด.ภาค 1 ไม่สามารถตอบคำถามได้ แต่ภายในห้องควบคุมตัวดังกล่าวได้มีการจัดเตรียมสถานที่พักเพื่อรองรับผู้ถูกจับกุมจำนวน 100 รายไว้พร้อมแล้ว (https://www.facebook.com/TheReportersTH/videos/1067733423676153/)

จนกระทั่งเวลาประมาณ 05.00 น. พนักงานสอบสวนจัดทำบันทึกจับกุม บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำผู้ต้องหาจำนวน 11 คน จนแล้วเสร็จ พนักงานสอบสวนได้แจ้งว่า จะนำผู้ต้องหาทั้ง 11 คน ไปขออำนาจศาลแขวงปทุมวันฝากขังในเวลา 09.00 น.

สำหรับ ชินวัตร, ทัดเทพ และสมบัติ ซึ่งถูกจับกุมตามหมายจับของศาลแขวงปทุมวัน ซึ่งระบุว่า “เป็นบุคคลตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 9” พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา “ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย”

จากพฤติการณ์ ที่ระบุเพียงสั้นๆว่า “ผู้ต้องหาได้ไปปรากฏตามในพื้นที่ที่มีการชุมนุม บริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 63” ผู้ต้องหาทั้งสามรายให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

ส่วนผู้ถูกจับกุมตัวขณะสลายการชุมนุมอีก 8 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. อนุรักษ์, เอฐ์เรียฐ์, คณิติน, อินทราช, อรรถพล, ณัฐนนท์ ถูกกล่าวหาว่า “ชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปหรือกระทําการอันเป็นการยั่วยุให้ เกิดความไม่สงบเรียบร้อย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ”

จากพฤติการณ์การชุมนุมในวันที่ 16 ต.ค. 63 บริเวณแยกปทุมวัน ที่มีผู้ชุมนุมประมาณ 50-60 คน แต่งกายด้วยเสื้อยืดสีดำ พร้อมตะโกนขับไล่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมทั้งมีการแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว และผู้บังคับบัญชาได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตํารวจ กองกํากับการควบคุมฝูงชนทําการกระชับพื้นที่ โดยประกาศเตือนให้กลุ่มผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม แต่ปรากฏว่ากลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยอมปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงกระชับพื้นที่ด้วยการฉีดน้ำ แต่ปรากฏว่าผู้ถูกจับไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดจับกุมเห็นว่าผู้ถูกจับทําการฝ่าฝืนข้อกําหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จึงจับกุมตัวผู้ถูกจับนําส่งพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน

2. พรพสุธ และชลธิชา ถูกกล่าวหาว่า “ ร่วมกันฝ่าฝืนข้อกําหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทําการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และนํายานพาหนะซึ่งบรรทุกเครื่องขยายเสียงและเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เคลื่อนที่เข้ามาใช้ในพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยไม่ได้รับอนุญาต” โดยเจ้าหน้าที่ได้ยึดรถยนต์,  เครื่องกําเนิดไฟฟ้าเคลื่อนที่, แท่นขยายเสียง, ลําโพง , ไมค์ , แอมป์ขยายเสียง, ปลั๊กพ่วง และถังสี ไว้เป็นของกลาง พรพสุธ ให้การภาคเสธ รับว่ารถยนต์ของกลางเป็นของตนเองและเป็นผู้ขับเข้าที่ชุมนุม แต่เครื่องเสียงไม่ใช่ของตน ส่วนชลธิชา ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา




ขอบคุณข้อมูล -แนวหน้า

โพสต์โดย : Ao