Social :



โควิด-19: เปิดประสบการณ์ทีมแพทย์ดูแลแรงงานข้ามชาติ ที่รพ.สนาม จ.สมุทรสาคร

13 ม.ค. 64 16:01
โควิด-19: เปิดประสบการณ์ทีมแพทย์ดูแลแรงงานข้ามชาติ ที่รพ.สนาม จ.สมุทรสาคร

โควิด-19: เปิดประสบการณ์ทีมแพทย์ดูแลแรงงานข้ามชาติ ที่รพ.สนาม จ.สมุทรสาคร

โควิด-19: เปิดประสบการณ์ทีมแพทย์ดูแลแรงงานข้ามชาติ ที่รพ.สนาม จ.สมุทรสาคร - BBCไทย

"เราต้องหา (ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการปอดอักเสบ) ให้ได้ใน 700 คน เพื่อที่จะส่งเขาไป ไม่ให้เขาอาการหนักกว่านี้ที่นี่ เพราะว่ามันจะวุ่นวายมากและเราอาจจะเสียคนไข้ไป"

เป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์แล้วที่ พญ.เอม สิริวราภรณ์ แพทย์ชำนาญการ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพะเยา และทีมบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลใน จ.พะเยา รวม 16 คน ลงมาปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลสนามสนามกีฬา จ.สมุทรสาคร -จังหวัดที่มีผู้ป่วยยืนยันสะสมในการระบาดระลอกใหม่กว่า 3,500 คน ในจำนวนนี้กว่า 2,500 คน เป็นแรงงานข้ามชาติผู้เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด

"เราไม่ได้คิดว่าเขาเป็นพม่า ติดแค่ว่าเราคุยกับเขาไม่ค่อยรู้เรื่องเท่านั้นเอง..." แพทย์ฉุกเฉินหญิงกล่าวถึงบทสรุปของภารกิจที่ยังไม่จบ "สิ่งที่เราทำ เราก็ให้การดูแลเขา และสนับสนุนปัจจัย 4 ที่สามารถจัดหาได้ให้เขา"


สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร
โรงพยาบาลสนามสนามกีฬาจังหวัดสมุทรสาคร เป็นโรงพยาบาลสนามที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดขณะนี้ รองรับผู้ป่วยได้ 700 เตียง และในสัปดาห์นี้ สมุทรสาครกำลังจัดตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 8

ใช้ชีวิต 24 ช.ม.ในโรงพยาบาลสนาม ทางจังหวัดจัดที่พักใกล้ ๆ ให้ทีมแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมหากมีผู้ป่วยฉุกเฉินตอนกลางคืน พวกเธอคือหนึ่งในทีมรับมือเหตุฉุกเฉินด้านการแพทย์ หรือ MERT (Medical Emergency Response Team) ที่ถูกส่งมาจากจังหวัดอื่น เพื่อสนับสนุนเป็นกำลังเสริมให้กับแพทย์พยาบาลในสมุทรสาคร

"รถทัวร์คว่ำผู้ประสบภัย 16-17 คน เราบัญชาการเหตุ ช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่กี่ชั่วโมงเสร็จแล้ว" คือประสบการณ์การเป็นหมอฉุกเฉินกว่า 3 ปี ทว่าไม่มีเหตุภัยพิบัติครั้งไหนที่ดูจะยืดยาวและต้องคิดแก้ปัญหาเหมือนกับโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หมอเอมบอกว่า ภารกิจนี้ยังไม่เห็นวันสิ้นสุด

ทีมรับมือเหตุฉุกเฉินด้านการแพทย์ คือ ทีมบุคลากรที่ถูกส่งมาจากพื้นที่ที่มีความพร้อม มีบุคลากรเพียงพอ และผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ ซึ่งจะถูกร้องขอกำลังมาช่วยรับมือในโรงพยาบาลสนาม สับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นรอบ ปฏิบัติงานรอบละกว่า 10 วัน และไม่ใช่แค่พะเยา เพียงที่เดียว แต่ยังมีทีมบุคลากรโรงพยาบาลจากจังหวัดอื่นเข้ามาช่วย


พญ.เอม สิริวราภรณ์
ทีมแพทย์และพยาบาล เภสัชกร เวชกิจฉุกเฉิน จากโรงพยาบาลพะเยา

จนถึงวันนี้ โรงพยาบาลสนาม เปิดดำเนินการรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเข้ามาพักเป็นสู่สัปดาห์ที่สอง และเริ่มส่งกลับผู้ป่วยกลุ่มแรงงานข้ามชาติซึ่งมีผลตรวจปลอดเชื้อกลับบ้าน ภายหลังครบกำหนดกักตัว 14 วัน ตั้งแต่ 10 ม.ค. เป็นต้นมา

"ถ้าปล่อยคนไข้คนนึงกลับไป ถ้ายังมีผู้ป่วยที่ค้างอยู่จากข้างนอก ก็จะประสานส่งเข้ามา ตอนนี้ก็ยังอยู่ในสถานะที่เตียงว่างอยู่ ก็ยังมีส่งเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ ค่ะ ที่อื่นก็เหมือนกัน" แพทย์หญิงวัย 32 ปี กล่าว และคิดว่าวันถัด ๆ ไปของโรงพยาบาลสนาม "ก็น่าจะพีคขึ้นเรื่อย ๆ"

นับตั้งแต่พบผู้ป่วยรายแรกที่ตลาดกลางกุ้ง มหาชัย เมื่อกลางเดือน ธ.ค. สมุทรสาครได้ทยอยตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้น จนถึงขณะนี้มีทั้งหมด 8
Lif
แห่งแล้วเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่มีตัวเลขสะสมเพิ่มขึ้น

โรงพยาบาลสนาม 101
โรงพยาบาลสนามมีอะไรในนั้นบ้าง รักษาผู้ป่วยได้แค่ไหน

พญ.เอม อธิบายแนวทางการดำเนินการโรงพยาบาลสนามให้ฟังว่า คือการจำลองโรงพยาบาลและหน้าที่การทำงานของทุกอย่างในโรงพยาบาลขึ้นมาแห่งหนึ่ง เริ่มตั้งแต่การรับ ดูแล และวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยหนึ่งคนเหมือนในโรงพยาบาล

ทว่าความแตกต่างจากโรงพยาบาลจริง ๆ คือต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบตามลักษณะหน้างาน ที่บุคลากรมีจำนวนจำกัด คนหนึ่งคนทำหน้าที่หลายหน้าที่


โรงพยาบาลสนามที่สนามกีฬาจังหวัด เริ่มรับแรงงานข้ามชาติกลุ่มจากตลาดกลางกุ้งเข้ามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.

จุดประสงค์ของการตั้งโรงพยาบาลสนาม คือเพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ที่ไม่ติดเชื้อเพื่อตัดวงจรการติดต่อของโรค ผู้ป่วยที่มาเข้าพักเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ และระหว่างการพักกักตัว แพทย์พยาบาลต้องติดตามอาการ เฝ้าระวัง หากผู้ป่วยรายใดมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือรุนแรงขึ้น ก็จะส่งตัวผู้ป่วยรายนั้นเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหลัก

"เราให้เขามาอยู่ที่นี่เพื่อติดตามอาการ ดูแลให้เห็นว่าถ้าเขาป่วย หรือมีอาการเปลี่ยนแปลง จะได้ตรวจสอบได้ง่ายกว่าที่เขาอยู่ที่ชุมชนแออัด"

ใครทำงานในโรงพยาบาลสนาม
เจ้าหน้าที่หน้างานมีตั้งแต่แพทย์ พยาบาลที่ดูแลคนไข้ เจ้าหน้าที่ห้องบัตรเวชระเบียน เอ็กซเรย์ คอมพิวเตอร์ เภสัชกรจ่ายยา นับสิบชีวิต นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ซึ่งดูแลระบบสภาพแวดล้อม สาธารณูปโภค ห้องน้ำ อาหารการกิน รวมไปถึงตำรวจตระเวนชายแดน เรียกได้ว่าใช้บุคลากรทุกแขนงทั้งการแพทย์และไม่ใช่การแพทย์เพื่อขับเคลื่อนงานที่โรงพยาบาลสนาม

การขับเคลื่อนโรงพยาบาลสนามจะมีทีมแพทย์บุคลากรโรงพยาบาลสมุทรสาครเป็นแกนหลัก ซึ่งมีทั้งการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล และถูกกระจายกำลังไปตามโรงพยาบาลสนามแห่งต่าง ๆ ทีม MERT มีหน้าที่เสริมกำลังในการดูแล พยาบาล และการบริหารจัดการหน้างาน


สำหรับทีม MERT หมอเอมเป็นแพทย์ประจำการเป็นหลักตลอด 24 ชม. มีแพทย์ พยาบาล หมุนเวียนทำงานแต่ละคนเข้าทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันต่อคน กลางวันมีแพทย์สมุทรสาคร 2-3 คน เข้าสับเปลี่ยน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ใช้กำลังคนในอัตราเท่ากันต่อเวรการทำงาน รวม ๆ แล้วมีบุคลากรหมุนเวียนขับเคลื่อนโรงพยาบาลสนามแห่งหนึ่งราว 20-30 คน

"สำหรับผู้ป่วย 700 คน เรื่องกิน เรื่องอาบน้ำ ของใช้ ความสะอาด ขยะ ต้องใช้คนจากทุกส่วน จริง ๆ ไม่ใช่แค่ด้านสาธารณสุข เป็นเรื่องใหญ่โตพอสมควร และเป็นเรื่องของการดูแลรักษาความปลอดภัยด้วย"

ก่อนเดินทาง

ขึ้นชื่อว่าเป็นทีม MERT หมอเอมบอกว่า เวลาไปช่วยงานที่เป็นสาธารณภัย ทีมฉุกเฉินมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ "กินอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นภาระพื้นที่" ดังนั้น ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการยังชีพ ตั้งแต่ยา ชุดป้องกันการติดเชื้อโรค (พีพีอี) ของใช้จำเป็นจึงถูกเตรียมพร้อม

จากพื้นที่การทำงานใน จ.พะเยา ที่มีผู้ป่วยยืนยันเป็นศูนย์เมื่อรับทราบภารกิจ มาเจอพื้นที่ที่มีผู้ป่วยยืนยันหลักพันคน ก็ไม่ได้ทำให้หมอเอมกังวล เพราะรู้อยู่แล้วว่าเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยง การป้องกันเป็นไปตามมาตรฐานในระดับสูงสุด

"ตอนนี้มันเลยความวิตกกังวลอยู่แล้ว ติด (เชื้อ) ก็เป็นเรื่องธรรมชาติที่เหมือนเราติดเชื้อติดหวัด" เธอกล่าวและให้ความเห็นว่าหากมีการติดเชื้อในบุคลากรขึ้นมาก็เชื่อว่าทุกฝ่ายจะมองเห็นจุดอ่อนของระบบและแก้ปัญหาตรงนั้นได้เพื่อป้องกันบุคลากรได้ดีขึ้น

"ในทีมก็คุยกันแล้วว่า โอเค ถ้าเราทำตามมาตรฐานเต็มที่จะติดหรือไม่ติด ไม่ต้องกังวล สุดท้ายเดี๋ยวเราต้องไปตรวจอยู่ดี หลังจากที่เราเสร็จภารกิจ"


โพสต์โดย : ต้นน้ำ