Social :



สัญญาณที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ วัว ควาย! หลังรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 จำนวน 5 โครงการ วงเงินรวม 15,597.340 ล้านบาท

18 ส.ค. 59 19:04
สัญญาณที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ วัว ควาย! หลังรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 จำนวน 5 โครงการ วงเงินรวม 15,597.340 ล้านบาท

สัญญาณที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ วัว ควาย! หลังรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 จำนวน 5 โครงการ วงเงินรวม 15,597.340 ล้านบาท

สัญญาณที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ วัว ควาย ! หลังรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 จำนวน 5 โครงการ วงเงินรวม 15,597.340 ล้านบาท

 


 


พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ นำเสนอ ครม. เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยมติ ครม.ให้ความเห็นชอบการดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการผลิต (เพิ่มเติม) จำนวน 5 โครงการ วงเงินรวม 15,597.340 ล้านบาท เพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม รวม 40 จังหวัด พื้นที่ 570,000 ไร่ และการปรับเปลี่ยนอาชีพที่สร้างรายได้ดีกว่าทำนา ได้แก่ ปศุสัตว์/ทำนาหญ้า และเกษตรกรรมทางเลือก เพื่อลดความเสี่ยงและมีรายได้เสริม ให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร

 


 


สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการผลิต (เพิ่มเติม) ในโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริม ทั้ง 5 โครงการ ได้แก่  

 

1) การเลี้ยงกระบือ มีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 40 จังหวัด 25,000 ไร่ เกษตรกร 5,000 ครัวเรือน กระบือ 25,000 ตัว โดยจะส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงกระบือรายละ 5 ตัว และปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวมาปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนรายละ 5 ไร่  

 

2) การเลี้ยงโคเนื้อ มีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 40 จังหวัด 120,000 ไร่ เกษตรกร 24,000

Lif
ครัวเรือน แม่โคเนื้อ 120,000 ตัว โดยจะส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อรายละ 5 ตัว และปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวมาปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนรายละ 5 ไร่  

 

3) การเลี้ยงแพะ มีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 40 จังหวัด 2,500 ไร่ เกษตรกร 500 ครัวเรือน แพะ 16,000 ตัว โดยจะส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงแพะ รายละ 32 ตัว (เพศเมีย 30 ตัว และเพศผู้ 2 ตัว) และปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนรายละ 5 ไร่

 

 4) การทำนาหญ้า มีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 40 จังหวัด 2,500 ไร่ เกษตรกร 500 ครัวเรือน โดยจะส่งเสริมให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าว มาปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนและจำหน่ายในเชิงการค้ารายละ 5 ไร่

 

และ  5)  เป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น มีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 30 จังหวัด 420,000 ไร่ เกษตรกร 84,000 ครัวเรือน โดยจะส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพื้นที่ สร้างระบบน้ำ และปัจจัยการผลิต และค่าใช้จ่ายในระหว่างการปรับเปลี่ยนพื้นที่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและมีอาหารบริโภคในครัวเรือน

 

ทั้งนี้ หากดำเนินตามโครงการดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ จะสามารถลดพื้นที่นาข้าวไม่เหมาะสม 570,000 ไร่ ออกจากสารบบแผนที่ Agri-Map ไปเป็นอาชีพอื่นที่มีรายได้ดีกว่า โดยเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนทำปศุสัตว์/นาหญ้า จะมีรายได้เสริมจากการขายมูลสัตว์ 2,000 บาท/เดือน และขายหญ้าอาหารสัตว์ 2,000 บาท/เดือน และมีปริมาณปศุสัตว์ (กระบือ โค แพะ) เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งเกษตรกรที่ทำกิจกรรมเกษตรทางเลือกแบบผสมผสาน จะมีอาหารเพียงพอในครัวเรือนและขายในชุมชนเป็นรายได้เสริมอีกด้วย

 




topicza.com

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด