Social :



สรรพากร แจงกองทุนหมู่บ้านถือเป็นนิติบุคคลต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

23 ส.ค. 59 16:08
สรรพากร แจงกองทุนหมู่บ้านถือเป็นนิติบุคคลต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

สรรพากร แจงกองทุนหมู่บ้านถือเป็นนิติบุคคลต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

นายสมชาย แสงรัตนมณีเดช รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนเงินทุนให้หมู่บ้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการฐานรากตามแนวทางประชารัฐ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หรือโครงการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันนั้น กรณีรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือหน่วยงานอื่นที่ดำเนินโครงการตามนโยบายสนับสนุนเงินทุนของรัฐบาลให้หมู่บ้านต่าง ๆ หรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน เมื่อจ่ายเงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าจ้างงานต่างๆ ย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้


1.การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย โดยประมวลรัษฎากรบัญญัติให้รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ ตามมาตรา 50 (4) และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

2. กองทุนหมู่บ้านซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ถือเป็นองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อกองทุนหมู่บ้านจ่ายเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 50 (4)
MulticollaC
และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และกองทุนหมู่บ้านมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในนามกองทุนหมู่บ้านและต้องนำเงินภาษี ที่หักไปนำส่ง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายเงิน


3. กรณีส่วนราชการได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นผู้ดำเนินโครงการใด ๆ โดยให้ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งอาจมีการตั้งคณะกรรมการในระดับตำบลหรือในระดับหมู่บ้านเป็นผู้แทนส่วนราชการในการอนุมัติโครงการ การเบิกจ่ายเงิน และการจัดทำบัญชี เข้าลักษณะเป็นการดำเนินการของส่วนราชการโดยมีคณะกรรมการเป็นผู้แทน เมื่อคณะกรรมการจ่ายเงินได้แทนส่วนราชการ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ ตามมาตรา 50 (4) และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และส่วนราชการโดยคณะกรรมการในระดับตำบลหรือในระดับหมู่บ้านมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในนามของส่วนราชการ และมีหน้าที่ต้องนำเงินภาษีที่หักไปนำส่ง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายเงิน

ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติที่กล่าวมาข้างต้น สามารถใช้เป็นทางปฏิบัติสำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการดำเนินโครงการตามนโยบายสนับสนุนเงินทุนของรัฐบาลในโครงการอื่น ๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันที่ได้ดำเนินการไปแล้ว หรืออาจมีการดำเนินการในอนาคตได้ทุกโครงการ



โพสต์โดย : อาจารย์ตาใส

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด