Social :



ครม.เห็นชอบหลักการร่างกม.พัฒนารัฐวิสาหกิจ มุ่งปฏิรูป-เพิ่มประสิทธิภาพ-สร้างกลไกกำกับดูแล

23 ส.ค. 59 16:08
ครม.เห็นชอบหลักการร่างกม.พัฒนารัฐวิสาหกิจ มุ่งปฏิรูป-เพิ่มประสิทธิภาพ-สร้างกลไกกำกับดูแล

ครม.เห็นชอบหลักการร่างกม.พัฒนารัฐวิสาหกิจ มุ่งปฏิรูป-เพิ่มประสิทธิภาพ-สร้างกลไกกำกับดูแล

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ....(ร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ) และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป


สำหรับร่างกฎหมายดังกล่าวจะมุ่งเน้นการปฏิรูปและสร้างกลไกการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพแก่ประชาชน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์สินของประเทศ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีมาตรฐานระดับสากล และสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและปราศจากการแทรกแซงทางการเมืองที่ไม่รับผิดชอบ

"การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในครั้งนี้ จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศไทยได้ยั่งยืนต่อไป"นายอภิศักดิ์ กล่าว

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า ร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1.การจัดตั้ง"คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ" ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติขึ้นตามกฎหมายเพื่อกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้ดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

2.การจัดทำ"แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ" ที่มีอายุ 5 ปี เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกภาพ ชัดเจน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ 3.การมีกลไกสร้างความโปร่งใส โดยเปิดเผยข้อมูลและให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบรัฐวิสาหกิจอย่างแท้จริง

4.การมีกระบวนการคัดเลือกกรรมการรัฐวิสาหกิจที่โปร่งใสและได้มาตรฐาน โดยการกำหนดสมรรถนะหลักเพื่อให้ได้คนดีและคนเก่งมาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ 5.การพัฒนาระบบประเมินผล ให้สามารถวัดผลการดำเนินงานตามแผนและนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก และ 6.การจัดตั้ง"บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ"เพื่อทำหน้าที่เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจและพัฒนารัฐวิสาหกิจในฐานะผู้ถือหุ้นเชิงรุก (Active shareholder)

นายเอกนิติ กล่าวถึงการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติว่า บรรษัทฯ จะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบรรษัท (โดยมีข้อห้ามการจำหน่ายหุ้นของกระทรวงการคลังไม่ว่ากรณีใดก็ตาม) โดยบรรษัทฯ
Lif
จะถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจ 12 แห่งแทนกระทรวงการคลัง ซึ่งรัฐวิสาหกิจทั้ง 12 แห่ง ประกอบด้วย บมจ.ปตท. (PTT), บมจ.การบินไทย (THAI), บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT), บมจ.อสมท. (MCOT), ธนาคารกรุงไทย (KTB), บมจ.ทีโอที, บมจ. กสท โทรคมนาคม, บริษัท ขนส่ง จำกัด, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด, บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด และบริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด


โดยบรรษัทฯ จะมีหน้าที่ส่งผ่านนโยบายของรัฐให้กับรัฐวิสาหกิจที่บรรษัทฯ ถือหุ้น กำกับดูแลการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจที่บรรษัทฯ ถือหุ้น เพื่อให้เกิดผลตอบแทนแก่รัฐที่เหมาะสม และทำหน้าที่ในฐานะผู้ถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่บรรษัทถือหุ้น

ทั้งนี้ หลังจากครม.เห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.... (พ.ร.บ.พัฒนารัฐวิสาหกิจ) แล้ว จะได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีการได้พิจารณาต่อไป ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ในปีนี้ ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ดังนั้นจึงเชื่อว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ได้ภายในปี 60

ทั้งนี้ ยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.พัฒนารัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการวางรากฐานในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่ใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และที่สำคัญคือได้เพิ่มหลักธรรมมาภิบาล เพื่อให้การบริหารงานรัฐวิสาหกิจมีความโปร่งใส ลดการถูกแทรกแซงจากนักการเมืองที่จะมาหาประโยชน์จากรัฐวิสาหกิจ และช่วยให้การบริหารรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โพสต์โดย : อาจารย์ตาใส

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด