Social :



กางแผนยัน “ศักดิ์สยาม”ตอบกระทู้ส.ว.มีแผนรองรับรถไฟจีน-ลาว

18 ม.ค. 65 06:01
กางแผนยัน “ศักดิ์สยาม”ตอบกระทู้ส.ว.มีแผนรองรับรถไฟจีน-ลาว

กางแผนยัน “ศักดิ์สยาม”ตอบกระทู้ส.ว.มีแผนรองรับรถไฟจีน-ลาว

“ศักดิ์สยาม” ตอบกระทู้ สว. ในการพัฒนารองรับเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว กางแผนยันคมนาคมเตรียมพร้อมต่อเนื่อง เดินหน้าศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ
 




นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงกระทู้ถามของนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ว่า ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันประเทศจีนเป็นตลาดนำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของไทย เป็นลำดับที่ 2 รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา การค้าระหว่างไทย-จีน ส่วนใหญ่นำเข้า-ส่งออกผ่านทางทะเล ผ่านท่าเรือแหลมฉบังกว่า 90% ส่วนอีก 10% เป็นการขนส่งทางถนนผ่านประเทศลาว

 

ทั้งนี้ มูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2.48 ล้านล้านบาท เป็นกว่า 3 ล้านล้านบาทในปี 2564 และมีแนวโน้มขาดดุลการค้า เป็น 8.54 แสนล้านบาท

 


ขณะที่ จากสถิติของกรมศุลกากร ระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2563 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มูลค่าการค้าไทย – จีน ณ ด่านชายแดนของไทย มีมูลค่าการค้านำเข้า-ส่งออก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555-2563 (9 ปีที่ผ่านมา) มูลค่าการส่งออกคงตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน
MulticollaC

 

ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟ ผ่านแดนหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อรถไฟจีน-ลาว เปิดให้บริการแล้ว หากพิจารณาความสามารถสูงสุดในการขนส่งสินค้าของรถไฟในเส้นทางดังกล่าวผ่านมายังด่านศุลกากรหนองคายของประเทศไทย ซึ่งสามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้สูงสุด 728 ตู้ต่อวัน คาดว่าจะมีตู้สินค้าเข้ามายังประเทศไทยผ่านด่านศุลกากรหนองคาย เพิ่มขึ้นประมาณ 50% ของปริมาณที่จะสามารถขนส่งได้ทั้งหมด โดยคาดว่าเพิ่มขึ้น 364 ตู้ต่อวัน

 

ทั้งนี้ หากมีการเปิดให้บริการรถไฟระหว่างจีน-ลาว อาจทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น โดยผู้ประกอบการสามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปจนถึงจีน ได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีการขนถ่ายสินค้าทางรถนำมาลงเรือที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และเมื่อไปถึงท่าเรือปลายทางก็จะต้องขนถ่ายสินค้าขึ้นรถเพื่อนำสินค้าไปส่งยังผู้รับสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกหรือต้นทุนในการขนส่งสินค้าลดลงได้

 

ส่วนข้อตกลงระหว่างประเทศปัจจุบัน บริเวณชายแดนไทย-ลาว ได้กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศทางรางนั้น โดยจากบันทึกความร่วมมือระหว่างไท-ลาว-จีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2562 ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวตกลงที่จะให้มีพิธีการศุลกากร และสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งในบริเวณชายแดนของฝั่งไทยและฝั่งลาว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรบริเวณชายแดน และตกลงกันว่าการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์

 

ทั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จะพิจารณาให้มีการจัดตั้งสถานีท่าและสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาว มายังโครงข่ายรถไฟขนาดทาง 1 เมตร ที่มีอยู่ของประเทศไทย และระยะที่ 2 โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะเชื่อมต่อกับสถานีดังกล่าว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาว และโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนต่อไป



ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy