Social :



กกต.ตัดทิ้ง “ใบดำ” เพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งตลอดชีพ

15 ก.ย. 59 16:36
กกต.ตัดทิ้ง “ใบดำ” เพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งตลอดชีพ

กกต.ตัดทิ้ง “ใบดำ” เพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งตลอดชีพ

กกต.ตัดทิ้ง ใบดำ เพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งตลอดชีพ

 

ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2559 ที่ประชุมได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ที่คณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมายของสำนักงานเป็นผู้เสนอ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบและปรับแก้ร่างตามข้อเสนอการปฏิรูปการเลือกตั้งใน 4 ด้านตามที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เสนอ

 

แต่ที่ประชุมได้ถกเถียงในประเด็นเรื่องใบดำ (เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง) ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านการลงประชามติกำหนดไว้ในมาตรา 226 และยังมีการกำหนดไว้เป็นลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ทางการเมืองและกรรมการองค์กรอิสระตามมาตราต่างๆ

 

ที่ประชุมเห็นว่า การที่คณะทำงานสร้างคำเรียกการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งว่า "ใบดำ" นั้นไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่นวัตกรรมที่ กกต.สร้างขึ้น ทำให้ กกต.ถูกโจมตีจากสังคม ทั้งที่โทษการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นผู้กำหนดขึ้นและเขียนบัญญัติไว้ในมาตรา 226 ของร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 226 วรรคสาม ที่ให้ศาลฎีกาสั่งลงโทษผู้ที่กระทำทุจริตโดยสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปีนั้น ไม่ชัดเจนว่าหมายถึงแต่ละชนิดโทษนั้นมีระยะเวลา 10 ปี หรือโทษ 10 ปีเฉพาะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และโทษเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นโทษตลอดชีพ

 

Lif
และเมื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (11) ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามการลงสมัคร ส.ส.ไว้ว่า ต้องไม่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง มีความหมายครอบคลุมให้ผู้ทุจริตที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือกรรมการองค์กรอิสระได้ตลอดชีพอยู่แล้ว

 

การเขียนร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.จึงมีลักษณะเหมือนซ้อนทับกันอยู่ ซึ่ง กกต.ก็เป็นเพียงผู้ยกร่างกฎหมายลูกเบื้องต้นเท่านั้น จึงมีมติให้คณะทำงานไปแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. โดยไม่ให้เขียนเรื่องการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ในร่างกฎหมายดังกล่าว แล้วทำเป็นข้อสังเกตของ กกต.แนบถึง กรธ.แทนว่า เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเขียนในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ให้ศาลเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากผลตามมาตรา 98 (11) ทำให้เป็นการตัดสิทธิตลอดชีพอยู่แล้ว

 

ที่ประชุมยังได้มีมติให้คณะทำงานไปปรับแก้โดยตัดอำนาจ กกต. กรณีสามารถเสนอศาลฎีกาสั่งเลือกตั้งใหม่อย่างเดียว (ใบเหลือง) หลังการประกาศผลการเลือกตั้ง หากมีหลักฐานว่าการเลือกตั้งนั้นไม่สุจริต แต่ความผิดไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังผู้สมัครได้ โดยเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 225 และ 226 ไม่เปิดโอกาสให้ กกต.ดำเนินการได้

 

ในส่วนของคณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมายของสำนักงานยังเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนเรื่องการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. เพราะไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ กรณีหากเกิดความผิดขึ้น กกต.ก็จะไม่สามารถตั้งเรื่องเสนอต่อศาลฎีกาได้ว่าจะให้ลงโทษผู้กระทำผิดในบทความผิดใด ซึ่งทางคณะทำงานจะเสนอเหตุความจำเป็นดังกล่าวอีกครั้ง หาก กกต.ยังยืนยันตามมติที่ให้มีการปรับแก้ตัดการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งออก ก็จะเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวไปยัง กรธ.ต่อไป



topicza.com

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด