Social :



ย้ำ ป้องกันดีกว่าปล่อยให้ท่วม! ชัชชาติ สั่งแผนรับพายุโนรู

27 ก.ย. 65 06:09
ย้ำ ป้องกันดีกว่าปล่อยให้ท่วม! ชัชชาติ สั่งแผนรับพายุโนรู

ย้ำ ป้องกันดีกว่าปล่อยให้ท่วม! ชัชชาติ สั่งแผนรับพายุโนรู

ชัชชาติ สั่งแผนรับ พายุโนรู กำชับ สำนักระบายน้ำ เตรียมแผนรับมือพื้นที่ฝั่งตะวันออกและเจ้าพระยา ย้ำ ป้องกันดีกว่าปล่อยให้ท่วมแล้วไปกู้ทีหลัง
 




วันนี้ (26 ก.ย.65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 21/2565 โดยภายหลังจบการประชุม นายชัชชาติพร้อมด้วยทีมผู้บริหาร กทม. ร่วมแถลงข่าวสรุปผลการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 19 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม. ดินแดง

 

นายชัชชาติ กล่าวถึง สถานการณ์น้ำว่า น้ำปีนี้เยอะมาก กันยายนเดือนเดียว ของเรา (กทม.) 744 มล. ถ้าเทียบเฉลี่ย ก.ย. 30 ปีย้อนหลัง ประมาณ 376 มล. ปัจจุบันคือเกินขึ้นไป 2 เท่าตัวทั้งที่ยังไม่มีพายุเข้าเต็มๆ สักลูก เป็นแค่ร่องความกดอากาศ ดังนั้น ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า อนาคตเรื่องภาวะโลกร้อน ลานิญา ก็จะรุนแรงขึ้น ฝนตกเยอะเป็นจุดๆ มีผลกระทบมากขึ้น

 



ส่วนพายุโนรูที่กำลังจะเข้า คิดว่ามาจากฟิลิปินส์ ขึ้นฝั่งที่เวียดนาม แล้วก็เข้าไทยวันที่ 29 กันยายน ดูแล้วมี 2 แนว คือถ้าขยับมาข้างล่าง ฝนใน กทม.ก็จะหนัก แต่ถ้าดูรูปแบบฝน น่าจะไปตกที่ภาคอีสาน ภาคกลาง
MulticollaC
ซึ่งเมื่อเช้า ได้ดูฉากทัศน์ (Scenario Planning) มา ถ้าจะกังวล ประเด็นหลักคือ น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออก กับน้ำที่ลงมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สูงขึ้น ซึ่งจะกดดันพื้นที่ฝั่งตะวันออก กับพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

 

ซึ่งนายชัชชาติ ก็ได้กำชับให้สำนักระบายน้ำ เตรียมแผนในการรับมือพื้นที่ฝั่งตะวันออก และเจ้าพระยา ซึ่งเป็นวิธีที่แตกต่างจากฝนตกในพื้นที่ ที่ใช้วิธีดูดออก แต่น้ำจากเขื่อนคือ กันน้ำเข้า จากคันกั้นน้ำริมแม่น้ำและริมคลอง แต่ว่าน้ำที่มาจากเขื่อนป่าสักฯ ก็จะต้องระบายทางด้านล่าง ลงมาทางคลองลำปลาทิว คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ต้องทำทางปิดล้อม ก็ได้สั่งให้ทำฉากทัศน์ ทั้ง 2 รูปแบบ ในแง่ฝนตกในพื้นที่ ตอนนี้เราเร่งระบายน้ำให้มากที่สุด

 

โดยมาตรการมี 3 ส่วนคือ 1.เร่งระบายน้ำ พร่องน้ำ ให้มากที่สุด ซึ่งตอนนี้ทุกคลองต่ำกว่าระดับควบคุมแล้ว 2.เสริมคันจุดที่อ่อนแอเพิ่มอีก เช่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและตามคลองต่างๆ ซึ่งตอนนี้ได้มีการจัดงบประมาณ ซื้อกระสอบทราย เพิ่มมา 2,500,000 ลูกแล้ว จะได้พรุ่งนี้ วันพุธ และวันศุกร์ ประการที่ 2 คือเสริมความแข็งแรงตามแนวป้องกันน้ำ และ 3.ให้ชุมชนช่วยกันดูแลตัวเองด้วย

 

“แต่ว่าที่ผ่านมา 1 เดือน เรารู้ว่าตรงไหนคือจุดอ่อนน้ำท่วม ก็แนะนำชุมชนให้ช่วยป้องกันด้วยในระดับหนึ่ง เช่น เอากระสอบทรายไปเพิ่ม แนะนำวิธีการป้องกันเพื่อให้ชุมชนเป็นแนวร่วมป้องกันน้ำท่วมด้วย แทนที่จะปล่อยให้ท่วมแล้วไปกู้ทีหลัง อย่างน้อยช่วยกันคนละไม้ละมือ โดยที่ กทม.ให้ทรัพยากรเพิ่ม เช่น เครื่องสูบน้ำ กระสอบทราย พอถึงเวลาวิกฤตปุ๊บ ช่วยกัน ประชาชนอาจจะต้องขนของย้ายก่อน แล้วก็ช่วยป้องกันพื้นที่ตัวเอง จะบรรเทาความเสียหายได้ดีขึ้น คือมาตรการหลักๆ แต่เราก็มอนิเตอร์เหตุการณ์ตลอด”



ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy