Social :



เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยที่สุดแห่งเสือ'เมตตา มหาอำนาจ'

19 ก.ย. 59 21:09
เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยที่สุดแห่งเสือ'เมตตา มหาอำนาจ'

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยที่สุดแห่งเสือ'เมตตา มหาอำนาจ'

สือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยที่สุดแห่งเสือ'เมตตา มหาอำนาจ' : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

            “เสือหลวงพ่อปาน” คือ เสือ ที่จัดสร้างโดยพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ หรือหลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส หรือที่นิยมเรียกว่า “หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย” ตั้งอยู่ที่ ต.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ ที่เรียกกันมาแต่โบราณว่าวัดบางเหี้ยนั้น เนื่องจากเดิมมีตัวเงินตัวทองอยู่มาก เพราะเป็นเขตน้ำกร่อย ปัจจุบันมีพระครูมงคลพิพัฒนคุณ เป็นเจ้าอาวาส


            ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ ๕ เครื่องรางของขลังของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามาก และสืบเสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัด พากันเคารพนับถือและรำลึกถึงหลวงพ่ออย่างไม่เสื่อมคลาย
           
            ส่วนกิตติศัพท์เรื่อง “เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน” นั้น เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว อาทิ เมื่อครั้งมีการสร้างเขื่อนพระยาไชยานุชิต ที่คลองด่าน เพื่อกั้นกระแสน้ำทะเลไม่ให้ท่วมเรือกสวนไร่นาชาวบ้าน แต่กรมชลประทานไม่สามารถก่อสร้างได้สำเร็จสักที เพราะกระแสน้ำแรงมากและตีขึ้นมาตลอด หลวงพ่อปานเห็นแก่การขจัดความเดือดร้อนของผู้คน จึงทำการเสกเขี้ยวเสือขว้างลงไป ปรากฏว่ากระแสน้ำลดกำลังลงอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถกั้นสร้างเขื่อนได้สำเร็จ

            “เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน” นั้น แกะจากเขี้ยวเสือโคร่ง มีช่างที่แกะเสือแล้วเป็นศิษย์ท่านด้วยกัน ๕ คน แต่ละคนจะแกะไม่เหมือนกันซะทีเดียว และมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก นั่งปากเม้มหุบสนิท ตากลม ขาหน้าทั้งสองใหญ่ เล็บจิกลงบนพื้น ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็จะมีช่างแกะคอย เวลาหลวงพ่อปานไปธุดงค์ก็จะให้ปลุกเสก ประการสำคัญ ให้ดูรอยจารใต้ฐาน ท่านมักจะจารเองเป็น “นะขมวด” ที่เรียกกันว่า ‘ยันต์กอหญ้า’ และตัว ‘ฤ ฤา’

            แล้วลงเหล็กจารด้วยตัวเองปลุกเสกโดยใส่ “‘พระคาถาหัวใจเสือโคร่ง” ลูกศิษย์ลูกหาได้ยินท่านท่องว่า พยัคโฆ พยัคฆา สูญญา สัพติ อิติ ฮัมฮิมฮึม “วิธีจาร” ของท่าน ท่านจะจารตัว “อุ” มีทั้งหางตั้งขึ้นและลงที่ขาหน้า ส่วนใต้ฐานท่านจะจาร “ยันต์กอหญ้า” ถ้าเสือตัวใหญ่หน่อยท่านจะลงยันต์กอหญ้า ๒ ตัว ตรงข้ามกัน และลงตัว ฤ ฤา พร้อมตัวอุณาโลม บางตัวมีรอยขีด ๒ เส้นขนานกัน

            เอกลักษณ์ของเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน ในปัจจุบันก็คือ เสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า ซึ่งมีทั้งเสือหุบปาก และเสืออ้าปาก เขี้ยวต้องกลวง มีทั้งแบบซีกและเต็มเขี้ยว เขี้ยวหนึ่งอาจแบ่งทำได้ถึง ๕ ตัว ตัวเล็กๆ เรียก “เสือสาริกา” เป็นปลายเขี้ยว ส่วนใหญ่พบว่าเป็นซีก คนโบราณนิยมเลี้ยงไว้ในตลับสีผึ้งทาปาก มีพุทธคุณครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางเมตตา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แต่ที่เด่นที่สุดคือมหาอำนาจ

            ขอบคุณภาพ “เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย” จากหนังสือ “หนึ่งในสยาม” ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมพระเครื่องทองคำ ที่จัดทำโดยนายสุขธรรม ปานศรี หรือที่คนในวงการรถยนต์รู้จักในชื่อ “เฮียกุ่ย” เจ้าของศูนย์พระรัชดา (“WWW.SOONPRARATCHADA.COM”) นักสะสมพระหลวงพ่อทวดชุดทองคำ และพระทองคำทุกชนิด

            


เสือหลวงพ่อปานในพระราชนิพนธ์ ร.๕

            คติในการสร้างเสือของหลวงพ่อปานนั้น เรื่องราวของท่านมีปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ เสด็จประพาสมณฑลปราจิณ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ว่ามีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า “ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้”

            แล้วรับสั่งถามว่า “ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร?” หลวงพ่อปานทูลตอบว่า “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า

Lif
“ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือมิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น "อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่าที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น”

            รัชกาลที่ ๕ ได้ฟังก็ทรงพอพระราชหฤทัยมาก จึงพระราชทานผ้าไตร ผ้ากราบแก่หลวงพ่อปาน และต่อมาพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ

            อย่างไรก็ตาม ก่อนที่หลวงพ่อปานจะมรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริงเพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะกราบรูปหล่อแทนตัวท่าน

            แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่ได้บอกใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย”

            คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส คือ อยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อ ซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย

             อุปเท่ห์แห่ง “เสือ”

            ตามคติความเชื่อของคนเล่นของเชื่อว่า “เสือ” เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจราชศักดิ์ สำแดงฤทธิ์ ทำให้เป็นที่คร้ามเกรง นับถือแก่ปวงชนทั้งหลาย ผู้ที่พกหรือใช้เครื่องรางประเภทเสือ ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยวเสือแกะ ตะกรุดหนังเสือ ผ้ายันต์รูปเสือ รวมทั้งการสักยันต์ลายเสือ จะมีพุทธคุณเด่นด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด รวมทั้งมหาอุด

            ถ้าหากนำติดตัวไปหนทางใกล้ไกล หรือเดินทางเข้าป่าดงพงพี เผชิญฝูงสัตว์ร้ายและภูตผี จะมิกล้าทำอันตรายใดๆ เป็นคงกระพันมหาอุดและแคล้วคลาดเป็นที่สุด

            แม้แต่ผู้ป่วยเป็นโรคคางทูม โบราณมักจะให้คนที่เกิดปีขาลเขียนตัวอักษร “เสือ” เป็นภาษาจีว่า “โฮ้ว” แล้วลงด้วยหมึกจีนวาดเขียนไว้ตรงบริเวณคางทั้งสองข้าง ท่านว่าแก้โรคคางทูมได้ชะงัดนักแล

            นอกจากนี้แล้วยังมีคติความเชื่ออย่างหนึ่ง เรื่องการบริกรรมคา เชื่อกันว่ามีคาถาอยู่ ๒ บท ที่คนมักใช้บริกรรม เพื่อบังเกิดมีสง่าราศี มีตบะเดชะ เป็นที่ครั่นคร้ามของคนทั้งปวงให้เกรงกลัว เช่น ไปพบผู้ใหญ่ เจ้านาย รวมทั้งหรือเผชิญศัตรู

            บทแรก คือ คาถาพญาเสือโคร่ง ให้บริกรรมโดยเริ่มจากตั้งนะโม ๓ จบ และตามด้วย “พยัคโฆ พยัคฆา สัญ ญา ลัพ พะ ติ อิ ติ หิ หัม หึม”

            บทที่สอง คือ คาถาพญาเสือมหาอำนาจ ให้บริกรรมโดยเริ่มจากตั้งนะโม ๓ จบ “ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ตัวกูคือ พญาพยัคโฆ สัตถาอาหะ พยัคโฆ จะ วิริยะ อิมังคาถามะหะ อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม”
           
            อุปเท่ห์การใช้คาถาอาคมขลัง สิทธิการิยะท่านว่า สาธุชนใดบูชาเขี้ยวเสือ ตะกรุดหนังเสือ ผ้ายันต์เสือ ติดตัว ห่อใส่ผ้าเช็ดหน้า รวมทั้งใส่ไว้ในรถยนต์ ย่อมเป็นที่ครั่นคร้ามเกรงอำนาจดีนัก ถ้าหากนำติดตัวไปหนทางใกล้ไกล หรือเดินทางเข้าพงพี เผชิญฝูงสัตว์ร้าย และภูตผีจะมิกล้าทำอันตรายใดๆ เป็นคงกระพันมหาอุด รวมทั้งแคล้วคลาดเป็นที่สุด



ที่มา  http://www.komchadluek.net


โพสต์โดย : nampuengeiei9760

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด