Social :



ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เน้นขับเคลื่อนทุกระบบประเทศ

20 ก.ย. 59 15:09
ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เน้นขับเคลื่อนทุกระบบประเทศ

ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เน้นขับเคลื่อนทุกระบบประเทศ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ โดยได้มีการเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการสั่งการของศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล (ศร.ชล.) จากเดิมที่เป็นเพียงหน่วยประสานงาน รวมทั้งมีการจัดตั้ง ศร.ชล.ระดับพื้นที่เพิ่มเติม คือ ทั้งระดับจังหวัด และระดับภาค


ทั้งนี้ จะมีการใช้กลไกในการขับเคลื่อน 3 ระดับ คือ 1.ระดับนโยบาย มีคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.) มีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์

2.ระดับวิชาการ มีคณะกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ทจชล.) มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนงานด้านความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล

3.ระดับอำนวยการและการปฏิบัติ มีการจัดตั้ง ศร.ชล.ที่มีอยู่เดิม แต่ได้เพิ่มอำนาจให้สามารถสั่งการได้ โดยเป็นในลักษณะของส่วนราชการที่มีรูปแบบเฉพาะ คือ มีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการ ศร.ชล. และมีเสนาธิการทหารเรือ เป็นเลขาธิการ ศร.ชล. มีหน้าที่ในการวางแผนอำนวยการ ประสานงาน ตรวจสอบ ประเมินภัยคุกคาม สนับสนุนการปฏิบัติ และดำเนินภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้ง
Lif
ศร.ชล.ระดับพื้นที่ คือ จัดตั้ง ศร.ชล.ภาค โดยให้มีผู้บัญชาการทัพเรือภาคเป็น ผู้อำนวยการ ศร.ชล.ภาค และจัดตั้ง ศร.ชล.จังหวัด โดยให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการ ศร.ชล.จังหวัด มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในแต่ละระดับลงไป


ภารกิจของ ศร.ชล.มี 2 ระดับคือ ถ้าในสถานการณ์ปกติ หน่วยงานที่มีหน้าที่อยู่แล้วก็จะทำหน้าที่ของตัวเองไป แต่ถ้าหน่วยงานคิดว่าเกินขีดความสามารถของตัวเอง อยากให้ ศร.ชล.เข้ามาช่วย ก็ให้รายงาน เพื่อให้นายกฯ ในฐานะผอ.ศร.ชล. เป็นผู้สั่งการให้ ศร.ชล.เข้ามารับผิดชอบแทน

ส่วนในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ มีเหตุกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติอย่างกว้างขวางและรุนแรง คณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้ ศร.ชล.ลงไปดูแลแก้ไขปัญหา เช่น กรณีเกิดเหตุสึนามิ เป็นต้น

"เมื่อดู มติครม.ปี 50 และปี 57 จะพบว่า ศร.ชล.ที่ลงไปแก้ไขปัญหาประมง หรือกฎหมาย IUU ขณะนี้มีจุดอ่อน คือทำได้เพียงเป็นศูนย์ประสานการปฏิบัติ แต่ไม่สามารถสั่งการ หรือควบคุมการปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ได้ ทำให้นโยบายในการบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่นายกฯ กำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานนั้นทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นวันนี้จึงเสนอร่างกฎหมายนี้เข้ามา เพื่อขับเคลื่อนทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลมีเอกภาพ...ถือว่ามีหน่วยงาน ศร.ชล.ที่แก้ไขจุดบกพร่อง จากเดิมที่มีหน้าที่แค่เพียงประสานงานอย่างเดียว แต่วันนี้ประสานงานด้วย สั่งการได้ด้วย มีหน่วยปฏิบัติด้วย ครบถ้วน" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว


โพสต์โดย : อาจารย์ตาใส

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด