Social :



ป.ป.ช.ตั้งกรรมการสอบ อดีต 40 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ส่อเจตนาซ่อนเร้นออก กม.นิรโทษกรรม

20 ก.ย. 59 15:42
ป.ป.ช.ตั้งกรรมการสอบ อดีต 40 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ส่อเจตนาซ่อนเร้นออก กม.นิรโทษกรรม

ป.ป.ช.ตั้งกรรมการสอบ อดีต 40 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ส่อเจตนาซ่อนเร้นออก กม.นิรโทษกรรม

ป.ป.ช.ตั้งกรรมการสอบ อดีต 40 ส.ส.พรรคเพื่อไทย 

ส่อเจตนาซ่อนเร้นออก กม.นิรโทษกรรม

 

 

(19 ก.ย. 59) นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย อดีต ส.ส.สมุทรปราการ นางสุณีย์ เหลืองวิจิตร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวนหนึ่ง เดินทางมายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผ่าน พ.ต.อ.อิทธิพล กิจสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาฯ ป.ป.ช. เพื่อขอให้มีคำสั่งทบทวนการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จริง อดีต 40 ส.ส.พรรคเพื่อไทย กรณีเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แก่ผู้กระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชนฯ เมื่อปี 56 

 

นายประเสริฐ กล่าวว่า สาเหตุที่มายื่นหนังสือขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ไม่ใช่การคัดค้านตัวบุคคลที่เป็นประธานอนุฯ ไต่สวน อย่าง น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. แต่อย่างใด เนื่องจากเห็นว่าการกระทำของพวกตน คือการทำหน้าที่ของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่หน้าที่ของ ป.ป.ช. คือการตรวจสอบเรื่องทุจริต และร่ำรวยผิดปกติ ดังนั้น การที่มาก้าวก่ายเรื่องภายในสภาผู้แทนฯ ทำให้พวกตนรู้สึกไม่สบายใจ ทำให้เสื่อมเสียเชื่อเสียง จิตใจล่มสลาย ทั้งที่เป็นผู้แทนจากประชาชน และต่อไปอาจทำให้การเสนอร่างกฎหมายโดย ส.ส.มีความผิดขึ้นได้

 

พวกผมที่เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เนื่องจากเห็นว่า ขณะนั้นมีความขัดแย้งเยอะ และมีคดีความเกี่ยวกับการเมืองในชั้นศาลเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในฐานะเป็น ส.ส. เป็นตัวแทนของประชาชน จึงควรช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ และจากการสอบถามทั้งอัยการ ตำรวจ และหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ให้ความเห็นตรงกันว่า คดีเหล่านี้มีเยอะและรกศาล จึงดำเนินการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเป็นทำหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย ซึ่งเรามีเจตนาบริสุทธิ์ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ไม่ได้มีวาระซ้อนเร้น เราทำตามกรอบอำนาจหน้าที่ของเรา และขอให้ ป.ป.ช.ทบทวนกรอบการทำงานของ ป.ป.ช.ด้วย

 

ขณะที่

Lif
นางสุณีย์ กล่าวว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เป็นหน้าที่และสิทธิโดยชอบธรรมของการทำงานในสภาผู้แทนฯ เป็นไปตามมาตรา 90 และ 142 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 และถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนิติบัญญัติ ส่วนที่กล่าวหาว่า เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ มีการนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำการทุจริตก็ไม่เป็นความจริง แต่มุ่งเน้นนิรโทษกรรมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกสี ที่เกี่ยวกับการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองโดยไม่รวมถึงแกนนำผู้มีอำนาจสั่งการ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายนิรโทษกรรมที่เคยประกาศใช้ในอดีตกว่า 20 ฉบับ ดังนั้น การตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เรื่องนี้ จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง




วันนี้ ( 20 ก.ย. 59) เวลา 12.25 น. ที่รัฐสภา นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณีอดีต 40 ส.ส. พรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือถึงป.ป.ช.ให้ทบทวนการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนอดีต 40 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เข้าชื่อเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องจากไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.

 

นายสรรเสริญ กล่าวว่า ป.ป.ช.จะนำคำร้องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาว่า มีการคัดค้านมาในประเด็นใด แต่คงไม่สามารถยกเลิกคำสั่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีดังกล่าวได้ เพราะได้ออกคำสั่งตั้งคณะอนุกรรมการไปแล้ว เมื่อถามว่า อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ระบุว่าการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช. เป็นการก้าวก่ายการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติในการเสนอกฎหมาย

 

ทั้งนี้ ตามหลักการฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่เสนอกฎหมายอยู่แล้ว หากเสนอตรงไปตรงมา ป.ป.ช.เข้าไปตรวจสอบไม่ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเสนอกฎหมายในลักษณะปิดบังซ่อนเร้น เพื่อประโยชน์ใครคนใดคนหนึ่ง ก็ต้องมาพิจารณาว่า เป็นการเสนอกฎหมายที่ถูกต้องหรือไม่ ถือเป็นการตรวจสอบดุลยพินิจในการเสนอกฎหมาย การที่ ป.ป.ช.จะเข้าไปตรวจสอบกรณีนี้เนื่องจากมีข้อสงสัยถึงการใช้ดุลยพินิจในการเสนอกฎหมายว่ามีเจตนาซ่อนเร้นอะไรหรือไม่ จึงต้องไปตรวจสอบ มีเจตนาเรื่องการปรองดองจริงหรือไม่ ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ ก็ถือว่าไม่มีความผิด



topicza.com

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด