Social :



5 ปีข้างหน้า ไทยประสบปัญหาขาดแรงงานภาคเกษตร หลังหนุ่มสาวเมินงานหนัก

22 ก.ย. 59 10:09
5 ปีข้างหน้า ไทยประสบปัญหาขาดแรงงานภาคเกษตร หลังหนุ่มสาวเมินงานหนัก

5 ปีข้างหน้า ไทยประสบปัญหาขาดแรงงานภาคเกษตร หลังหนุ่มสาวเมินงานหนัก

5 ปีข้างหน้า ไทยประสบปัญหาขาดแรงงานภาคเกษตร 

หลังหนุ่มสาวเมินงานหนัก

 

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2559 นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวหลังเปิดสัมมนาเหลียวหลังแลหน้าสู่ " Full Employment for All Ages 2021" เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมการจัดหางานครบ 23 ปี


นายอารักษ์ กล่าวว่า ในปี 2559 กกจ. ให้บริการจัดหางานทั่วประเทศ มีคนสมัครกว่า 9 แสนคน ได้รับการบรรจุงานกว่า 3 แสนคน สร้างรายได้ 4.7 หมื่นล้านบาท แต่ในอนาคตรูปแบบการจ้างงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมใน 5-10 ปี รูปแบบการจ้างงาน ภาคการผลิต 3 ภาคหลัก คือ ภาคการเกษตร ภาคการอุตสาหกรรม และภาคการบริการ จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงต้องเตรียมความพร้อมรองรับ

 

โดยปัจจัยด้านอายุของแรงงาน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ้างงานค่อนข้างมาก มีผลโดยตรงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ เห็นได้ชัดในกลุ่มแรงงานภาคการเกษตรที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง การจ้างงานจะน้อยลงใน 5 ปี ปัจจุบันคนทำงานนี้เป็นกลุ่มคนสูงอายุ ขณะที่แรงงานรุ่นใหม่จะไม่เข้ามาแทนที่ เพราะมีทางเลือกอื่นที่ดึงดูดใจมากกว่า

 

ส่วนภาคอุตสาหกรรม ทำงานโรงงาน ควบคุมเครื่องจักร จะเป็นกลุ่มที่มีการจ้างงานลดน้อยลงมากที่สุด จะมีการใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร เข้ามาทำงานแทนคน มีการเลิกจ้าง

MulticollaC
ลดการลงทุน ย้ายฐานการผลิต ขณะที่งานด้านการบริการต่างๆ จะมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นแทนที่ภาคการเกษตร ในอนาคตอาชีพกลุ่มนี้จะสร้างรายได้ค่อนข้างมาก การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้การท่องเที่ยวและการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศสมาชิก

 

ทั้งนี้ การแก้ไขการขาดแคลนแรงงาน ทุกภาคส่วนต้องร่วมกัน กกจ.ทำตามลำพังโดดเดี่ยวไม่ได้ ต้องนำโครงสร้างการจ้างงานเข้าไปประกอบกับการกำหนดแผนให้กระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับความเป็นจริง แม้ว่าแรงงานภาคเกษตรจะลดลง แต่ไปเพิ่มในภาคบริการ

 

การส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศยังมีอนาคต และไทยยังมีจุดขายที่เป็นครัวโลก ส่งออกข้าวเลี้ยงดูคนทั่วโลก ส่งออกพ่อครัวแม่ครัว สอดรับกับนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก จึงต้องยกระดับคนกลุ่มนี้ ต้องนำวิทยาการและเทคโนโลยี สร้างมูลค้าสินค้าทางการเกษตรให้มากขึ้น ต้องพัฒนาให้ผู้สูงอายุทำงานต่อเนื่อง มีรายได้ และต้องวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งระบบ ตั้งแต่ก่อนเกิดจนเข้าสู่วัยแรงงาน เพื่อให้เป้าหมายการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

 

โดยผลการวิจัยทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอาชีพ ปี 2558-2562 ที่กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน ทำการสำรวจและวิเคราะห์จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุความต้องการแรงงานมีเพิ่มทุกปี แต่มีอัตราการขยายตัวต่ำ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.53 โดยปี 2558 ต้องการแรงงาน 37.99 ล้านคน และปี 2562 ต้องการ 38.80 ล้านคน โดยภาคบริการจะมีแรงงานมากที่สุด อัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.75 ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวมากที่สุด ในปี 2558 มีจำนวน 16.87 ล้านคน และในปี 2562 จะเพิ่มเป็น 18.08 ล้านคน






topicza.com

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด