Social :



คนไทย "หนี้ท่วม" แล้ว ใช้จ่ายเกินตัว เตรียมล้มละลายทั้งประเทศ

18 พ.ค. 59 08:29
คนไทย "หนี้ท่วม" แล้ว ใช้จ่ายเกินตัว เตรียมล้มละลายทั้งประเทศ

คนไทย "หนี้ท่วม" แล้ว ใช้จ่ายเกินตัว เตรียมล้มละลายทั้งประเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยโครงการศึกษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป (Bank of Thailand's Research Program on Thailand's Future Growth) ได้จัดเสวนา เพื่อเสนอผลการศึกษาศักยภาพ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยเสนอผลการศึกษา ในหัวข้อกระบวนการปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและทิศทางข้างหน้า : วิเคราะห์จากมุมมองตลาดแรงงานและการบริโภคภายในประเทศที่ยั่งยืน จัดทำโดยนายนครินทร์ อมเรศ และนายจิรัฐ เจนพึ่งพร ระบุว่า สาเหตุที่การบริโภคของคนไทยไปไม่ถึงฝั่ง เป็นเพราะการบริโภคที่เพิ่มขึ้น จะสะท้อนจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีและการสนับสนุนด้วยมาตรการรัฐ มากกว่าที่จะเกิดจากความเพียงพอ ของรายได้ของประชาชนอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ อาศัยแนวคิดจากทฤษฎี การบริโภคแบบวงจรชีวิต (Life Cycle Hypothesis, LCH) เพื่อสร้างกรอบวิเคราะห์ความยั่งยืนในการบริโภค พบว่า ผู้บริโภคจะบริโภคได้อย่างราบรื่นตลอดชีวิต ด้วยการถ่ายโอนกำลังซื้อ ระหว่างช่วงเวลาที่ทำงาน การสร้างฐานะ และต่อเนื่องไปยังวัยเกษียณอายุ แต่ในกรณีของไทย หากพิจารณาภาพรวม จากบัญชีกระแสการโอนประชาชาติ พบว่าจะมีเฉพาะช่วงอายุ 25-59 ปี ที่มีรายได้เฉลี่ยสูงกว่ารายจ่าย ขณะที่ในช่วงอายุ 0-24 และ 60 ปีขึ้นไป คนไทยจะมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่ารายจ่าย

นอกจากนั้น เมื่อจำแนกครัวเรือนออกเป็น 5 กลุ่มตามชั้นรายได้ พบว่าครัวเรือนในกลุ่มสำรวจทุกกลุ่มรายได้ ไม่สามารถบริโภคได้อย่างยั่งยืนจนครบอายุขัย โดยทุกกลุ่มรายได้ มีอัตราส่วนการบริโภคต่อรายได้ (APCX) แบบวงจรชีวิต ในช่วงเกษียณอายุสูงกว่า 1.0 กล่าวคือ ทุกกลุ่มตัวอย่างมีรายได้และทรัพย์สิน ที่หาได้ทั้งชีวิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค มีเพียง 3 กลุ่มรายได้ปานกลางถึงสูงเท่านั้น ที่มีเงินออมเหลืออยู่เมื่อเกษียณ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคหลังเกษียณเกิน 15 ปี

สาเหตุที่ครัวเรือนไทย ไม่สามารถบริโภคได้อย่างยั่งยืนนั้น จะประกอบด้วยเหตุผลที่สำคัญ 4 ด้าน คือ ด้านที่ 1 รายได้ พบว่ารายได้ของครัวเรือนไทยส่วนใหญ่ แทบจะไม่เติบโตตั้งแต่เริ่มต้นทำงานจนวัยเกษียณ โดยเฉพาะครัวเรือนไทย รายได้ต่ำถึงปาน กลาง

MulticollaC
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจ และคนงาน ครัวเรือนกลุ่มนี้ ไม่มีช่วงวัยที่มีรายได้สูงสำหรับการเก็บออม ขณะที่ครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้มากที่สุด หรือครัวเรือนในกลุ่มผู้จัดการ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ คิดเป็นสัดส่วน 10.4% ของครัวเรือนทั้งหมด สามารถเก็บออมในช่วงที่มีรายได้มาก สำหรับบริโภคในวัยเกษียณในทางทฤษฎี แต่ไม่เพียงพอจนครบอายุขัย

ด้านที่ 2 การออม พบว่าครัวเรือนไทยมีแนวโน้มการออมลดลง ตามมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ และการเข้าถึงผลิตภัณฑ์สินเชื่อของครัวเรือนที่ง่ายขึ้น ทำให้การบริโภคและหนี้ครัวเรือน เร่งขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 23% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เป็น 35% ระหว่างปี 2547-2557 นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่อยู่ในระดับต่ำและผลิตภัณฑ์การออมที่ไม่จูงใจยังส่งผลให้ความ ต้องการออมของครัวเรือนลดลง จากผลการสำรวจของ ธปท. พบว่าครัวเรือนที่สามารถออมเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณ มีเพียง 25% ของกลุ่มตัวอย่าง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 40% ไม่มีการวางแผนและออมเพื่อการเกษียณ

ด้านที่ 3 ครัวเรือนไทยยังมีภาระหนี้ต่อรายได้ อยู่ในระดับสูง แม้ในช่วงท้ายของวัยทำงานก่อนเกษียณ นอกจากนั้น การศึกษาทางเศรษฐมิติพบว่า การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ยังทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง จนกระทั่งภาระหนี้ต่อรายได้เพิ่มขึ้นถึงระดับ 30% ขึ้นไป การบริโภคจะเริ่มลดลงและส่งผลต่อระดับเงินออมและสินทรัพย์ ที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากต้องนำไปใช้ชำระหนี้

และด้านสุดท้ายคือ ด้านการใช้จ่าย พบว่า การบริโภคที่แท้จริงโดยรวมของครัวเรือนทุกกลุ่มรายได้ยังคงอยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม พฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนไทย โดยเฉพาะในกลุ่มรายได้ต่ำ ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการศึกษา การพัฒนาตนเองและลูกหลานค่อนข้างน้อย บั่นทอนโอกาสในการพัฒนาทั้งผลิตภาพและระดับรายได้ในอนาคต

ทั้งนี้ ในการเสนอผลการศึกษาของ ธปท. ได้เสนอแนะเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่การบริโภคที่ยั่งยืนของครัวเรือนไทย โดยจำเป็นต้องยกระดับรายได้ให้เพิ่มขึ้น ผ่านการลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมถึงการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ ผ่านการศึกษาและการฝึกอบรม ส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแรงงาน สำหรับภาคเกษตร โดยเฉพาะการจัดทำและส่งเสริมมาตรฐานฝีมือตามวิชาชีพ เพื่อให้แรงงานเกษตร สามารถย้ายไปสู่สาขาการผลิตที่มีรายได้ที่แน่นอนได้ ขยายอายุเกษียณของแรงงาน เพื่อเพิ่มช่วงที่มีรายได้ให้ยาวขึ้น สนับสนุนการจัดการทางการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับวัยเกษียณ ขณะที่ภาครัฐควรหลีกเลี่ยงมาตรการที่กระตุ้นให้เกิดการก่อหนี้เกินความจำเป็น

โพสต์โดย : อาจารย์ตาใส

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด