Social :



จิตแพทย์แนะวิธีรับข่าวสารที่มีผลกระทบต่อจิตใจ ยกคดีสะเทือนขวัญ ดร.วันชัย ฆ่าตัวตาย

20 พ.ค. 59 15:12
จิตแพทย์แนะวิธีรับข่าวสารที่มีผลกระทบต่อจิตใจ ยกคดีสะเทือนขวัญ ดร.วันชัย ฆ่าตัวตาย

จิตแพทย์แนะวิธีรับข่าวสารที่มีผลกระทบต่อจิตใจ ยกคดีสะเทือนขวัญ ดร.วันชัย ฆ่าตัวตาย



จิตแพทย์แนะวิธีรับข่าวสารที่มีผลกระทบต่อจิตใจ

ยกคดีสะเทือนขวัญ ดร.วันชัย ฆ่าตัวตาย หลังฆ่าเพื่อน 2 คน 

 

จากคดีสะเทือนขวัญ ดร.วันชัย ดนัยตโมนุท ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหายิงเพื่อนอาจารย์สองคนในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเสียชีวิต และตัดสินใจใช้ปืนฆ่าตัวตายเมื่อวานนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไร เราจะไปพูดคุยกับ รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ถึงบทเรียนกับจากการคลี่คลายสถานการณ์ในคดีนี้  

 

 

 


รศ.นพ.ศิริไชย บอกว่า โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนของการที่เจรจากับคนที่อยู่ในสภาวะจะฆ่าตัวตาย สำหรับบรรยากาศเมื่อวานนั้น ผู้เสียชีวิตมีความเครียดที่เกิดจากการกระทำความผิดอยู่แล้ว และมีความเครียดจากฐานะการเป็นอาจารย์ การเป็นแบบอย่างของลูกศิษย์ จึงทำให้เขามีความกดดันสูงมาก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น

 

 

 

" สำหรับ   ดร.วันชัย เขามีภาวะที่กดดันหลายๆ อย่าง ตั้งแต่การเจรจา คนที่เข้าไปเจรจาคนแรกๆ ก็คือ "ตำรวจ" ที่มีหน้าที่ที่จะต้องรักษากฎหมาย และต้องดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิด เมื่อมีการเผชิญหน้ากัน ถึงแม้จะเป็นการเจรจา แต่ก็กลายเป็นความกดดันที่เกิดขึ้นอีกด้านหนึ่ง ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง คือการที่สื่อมวลชนเข้าไปอยู่ในพื้นที่เยอะ ซึ่งคนที่คิดจะฆ่าตัวตายนั้น เขาไม่ได้คิดที่จะกระทำในทันที อย่างกรณีเมื่อวานใช้เวลาเกือบ 6 ชั่วโมง ในการที่เขาอยู่ในภาวะที่ว่าจะทำดี หรือไม่ทำดี หากเรามีการร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดีในขณะนั้น ก็อาจจะทำให้เขาคิด และสามารถที่จะเปลี่ยนใจได้"  



 


โดยหลักการสำหรับคนที่จะฆ่าตัวตายหรือเหตุการณ์ร้าย ผู้เจรจา ต้องนิ่ง ใจเย็น ต้องมีทีม ที่สามารถช่วยเหลือกันได้ การทำงานต้องทำเป็นทีม มีคนที่คอยมองภาพรวม ต้องมีการปรึกษากันอยู่ตลอดเวลา   เมื่อวานก็เห็นใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

Lif
  และคิดว่าตั้งใจดีแล้ว โดยการเจรจานั้นต้องมีเทคนิคโดยเฉพาะ จริงๆ ตำรวจก็ได้รับการอบรมการเจรจาอยู่แล้ว แต่บางทีก็เป็นภาวะกดดันทั้งสองฝ่าย ส่วนการเจรจาโดยใช้  " ญาติ"   เป็นอีกวิธีหนึ่ง ก็สามารถช่วยเยอะ เมื่อวานก็สามารถยืดเวลา ให้เขามีเวลาตัดสินใจว่าจะทำดี หรือไม่ทำดี จนเกิดอาการลังเลได้ ซึ่งเราต้องนำด้านบวกมาให้เขาหยุดคิดไม่ทำร้ายตัวเองได้

 

 

 

 

รศ.นพ.ศิริไชย   มองว่า กรณีเมื่อวานนั้น   คนที่เจรจาหลักน่าจะใช้  “ นักจิตวิทยา ”  มากกว่า ตรงนี้ตนไม่ได้โทษตำรวจ   เพราะตำรวจมีบทบาทจัดการกับคนที่กระทำความผิด เขากระทำความผิดมา เขาจะยิ่งกดดันมากขึ้น หากเป็นคนอื่น หรือนักจิตวิทยา ก็จะให้เขารับฟังมากกว่า ไม่ตัดสินว่าเขาถูกผิด เพื่อให้บรรยากาศตรงนั้นมันดีขึ้น ให้ช่วยรับฟัง ไม่ท้าทาย ไม่ข่มขู่ รับฟังเข้าใจเขา ทำสิ่งแวดล้อมไม่ให้กดดัน และเมื่อวานนี้มีสื่อมวลชนเข้าไปเยอะ ก็เป็นอีกหนึ่งแรงกดดันที่เกิดขึ้น

 

ขณะที่ประชาชนที่รับชมข่าวนี้ ในการจะดูแลสภาพจิตใจว่า   บางทีเราดูภาพตรงนี้นานๆ หากใครที่จิตใจอ่อนไหว ก็จะเกิดภาพติดตา นอนไม่หลับ เหมือนขวัญผวา คือมีความเครียดหลังเผชิญเรื่องที่เป็นอันตราย บางทีเห็นภาพติดตา นอนไม่หลับอยู่หลายวัน หากค้างอยู่หลายวันต้องปรึกษาแพทย์ หรือคุยกับเพื่อน ส่วนผลกระทบอีกด้านหนึ่ง หากเป็นเด็กหรือคนที่ชอบความรุนแรงอยู่แล้ว เขาจะเรียนรู้ความรุนแรง และชินชากับความรุนแรง การที่เผยแพร่ความรุนแรงพวกนี้เยอะ มันก็มีผลด้านลบ ถึงแม้ว่าคนที่ดูอยู่เพียงอยากจะติดตามเพื่อให้เรื่องนั้นจบลงด้วยดี แต่จริงๆ ไม่ควรถ่ายทอดสดนานๆ แบบเมื่อวาน ตนมองว่ามันมีผลลบเยอะกว่า

 

ส่วนพฤติกรรมเลียนแบบ หรือการซึมซับที่จะเกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้นเฉพาะบางคนเท่านั้น พวกนี้มีการทำวิจัยชัดเจนว่า ช่วงที่สื่อออกข่าวการฆ่าตัวตายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง สักพักก็จะมีคนฆ่าตัวตายด้วยวิธีนั้นตามมา ส่วนใหญ่คนที่รับสื่อเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้เราฆ่าตัวตายตาม แต่หากใครที่มีภาวะซึมเศร้าอยู่แล้ว ที่หาทางออกไม่ได้อยู่แล้ว มามองว่านี่คือทางออกของเขา ดูสิ คนอื่นยังทำเลย ซึ่งเราจะต้องคิดถึงคนทุกคน แม้กระทั่งคนส่วนน้อยก็ตาม เป็นสิ่งที่เราต้องช่วยกันระมัดระวัง

 

ทั้งนี้ รศ.นพ.ศิริไชย   แนะนำกรณีคนทั่วไปที่มีภาวะอยากฆ่าตัวตายนั้น คนที่มีปัญหาควรจะต้องหาคนใกล้ชิด ที่สามารถพูดคุยปรึกษาได้ ช่วยกันแก้ปัญหา คอยรับฟัง ในขณะผู้รับฟัง ต้องไม่ตำหนิเขา และต้องคอยสังเกตหากมีการส่งข้อความว่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้ว หรือสิ่งต่างๆ ดูเป็นสัญญาณในการฆ่าตัวตาย ก็ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น


โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด