Social :



7 ข้อสังเกตุ เหตุ ดร. วันชัย ดนัยตโมนุท ยิงตัวตาย ชี้ตำรวจไทยไม่เข้าใจจิตวิทยา

23 พ.ค. 59 11:08
7 ข้อสังเกตุ เหตุ ดร. วันชัย ดนัยตโมนุท ยิงตัวตาย ชี้ตำรวจไทยไม่เข้าใจจิตวิทยา

7 ข้อสังเกตุ เหตุ ดร. วันชัย ดนัยตโมนุท ยิงตัวตาย ชี้ตำรวจไทยไม่เข้าใจจิตวิทยา

7 ข้อสังเกตุ เหตุ ดร. วันชัย ดนัยตโมนุท ยิงตัวตาย ชี้ตำรวจไทยไม่เข้าใจจิตวิทยา


ดร. อานนท์ ตั้งข้อสังเกตุ 7 ข้อ ชี้ตำรวจไทยไม่เข้าใจจิตวิทยา หลังเข้าเจรจาเกลี้ยกล่อม ดร. วันชัย ดนัยตโมนุท อยู่นานหลายชั่วโมง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

           นับเป็นข่าวใหญ่ในรอบสัปดาห์เลยก็ว่าได้ สำหรับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ ดร. วันชัย ดนัยตโมนุท ก่อเหตุอุกอาจบุกยิง ดร. พิชัย ชัยสงคราม และ ดร. ณัฐพล ชุมวรฐายี กลางมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ก่อนจะหลบหนีไปและถูกกดดันอย่างหนักจากเจ้าหน้าที่ให้เข้ามอบตัว

           ในเวลาต่อมา ก็พบตัว ดร. วันชัย ดนัยตโมนุท ซุกซ่อนตัวอยู่ในโรงแรมย่านสะพานควาย พร้อมกับจดหมายลาตายที่ไขสาเหตุการฆ่า 2 เพื่อนอาจารย์ และความพยายามฆ่าตัวตายด้วยการเอาปืนจ่อขมับตัวเอง ท่ามกลางสถานการณ์อันตึงเครียดหลายชั่วโมงในช่วงบ่ายของวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจกับญาติพยายามเจรจาเกลี้ยกล่อมให้มอบตัว แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ดร. วันชัย ก็เลือกที่จะลั่นไกปลิดชีพตัวเองในวันนั้น

           เหตุการณ์นี้ อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ แห่งสถาบันบัณ��'ิตพั��'นบริหารศาสตร (นิด้า) ได้เขียนบทความเอาไว้อย่างน่าสนใจ จากรายงานของ เว็บไซต์ thaitribune.org  ดังนี้

           วิธีการที่ตำรวจเกลี้ยกล่อมตั้งแต่เที่ยงยันหกโมงเย็นเป็น เวลายาวนานมาก ดร. วันชัย ย่อมเครียด เพลีย และเหนื่อย อีกทั้งอากาศก็ร้อนมาก ผลสุดท้ายนั้น ดร. วันชัย ยิงปืนจ่อเข้าขมับขวาเพื่อฆ่าตัวตาย แม้ผู้ตายวางแผนไว้ก่อนและไตร่ตรองล่วงหน้าว่าจะลาโลก แต่หากมีการเจรจาที่ดีกว่านี้ ผลอาจจะไม่เป็นเช่นนี้...

           ผมได้นั่งดูในโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดสดขอตั้งข้อสังเกตดังนี้

           1. การถ่ายทอดสดการฆ่าตัวตายจะเป็นตัวแบบ (Model) ในการฆ่าตัวตายต่อไปกับคนที่คิดจะฆ่าตัวตาย คนเราเรียนรู้จากการสังเกต (Observation learning) ตามแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ของ Albert Bandura ข้อนี้ต่อไปจะมีคนเลียนแบบการฆ่าตัวตายด้วยวิธีการนี้มากขึ้น เพราะมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว และสื่อมวลชนไทยแทบทุกช่องได้มีส่วนร่วมด้วยช่วยกันถ่ายทอดสดการฆ่าตัวตาย ให้คนไทยและเยาวชนไทยนับล้าน ๆ คนได้ดูเป็นตัวอย่าง นี่อาจจะเป็นการถ่ายทอดสดการฆ่าตัวตายที่มีคนชมมากที่สุดครั้งหนึ่งของ ประเทศไทยหรือของโลก

           2. การให้นักข่าวเข้าไปถ่ายทอดสดมาก ๆ เห็นกล้องมากขนาดนั้นสร้างความกดดันแก่คนที่คิดฆ่าตัวตายมาก การที่ตกเป็นข่าวเช่นนี้และมีนักข่าวมาจ้องเป็นร้อย ๆ หากไม่ฆ่าตัวตายจริง แล้วมีชีวิตอยู่รอด ชีวิตก็คงเสียชื่อเสียงมาก แม้จะถูกดำเนินคดีแล้วก็ตาม คำถามคือตำรวจคือ บชน. หรือ หน่วยอรินทราช ทำไมจึงปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ นักข่าวมาเองหรือเรียกมานั้นก็ไม่สำคัญ แต่ต้องจัดการให้ได้และดีกว่านี้ ไม่มีประเทศไหนในโลกที่ให้กระบวนการเจรจาในภาวะวิกฤติที่คนถือปืนจะฆ่าตัว ตายถ่ายทอดสดกันขนาดนี้ เป็นการสร้างความกดดันให้กับผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายเป็นอย่างยิ่ง กล้องนับร้อย ๆ ตัว คนดูนับล้าน มีผลมาก

           3. การปล่อยให้พี่สาวกับนักศึกษา (ไม่แน่ใจว่าความสัมพันธ์คืออะไรกันแน่ บางกระแสบอกว่าเป็นหัวหน้างานเก่า) ใส่เสื้อเกราะเข้าไปใกล้ในระยะประชิดเช่นนั้น ต้องคิดให้รอบคอบ และควรมีนักจิตวิทยาคลินิคเข้าไปให้คำแนะนำ เรื่องที่ควรพูดคือ ความผูกพัน (attachment) ระหว่างครอบครัว ความผูกพันทางจิตใจ ต้องพยายามให้ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ (Meaning of life) ซึ่งสำคัญมาก หนังสือคลาสสิคทางจิตบำบัดซี่งเขียนโดยจิตแพทย์ชาวยิวชื่อ Victor Frankl ผู้สูญเสียทุกคนในครอบครัวที่เขารักในค่ายกักกันสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ชื่อ A man search for meaning อธิบายเรื่องเหล่านี้ไว้ชัดเจนมาก

           สิ่งที่ขัดสายตามากที่สุดคือการที่พี่สาวและนักศึกษาใช้โทรโข่งในการพูดกับผู้
Lif
ตาย การใช้โทรโข่งนั้นเป็นวิธีการที่ลดความเป็นมนุษย์ (Dehumanize) ในการพูดกันสื่อสารกันกับคนที่พยายามฆ่าตัวตายลงไป และนอกจากนี้ยังทำให้ผู้ที่เข้าไปเกลี้ยกล่อม ไม่กล้าพูดถึงเรื่อง attachment ส่วนตัวในครอบครัวหรือ emotional bonding แบบลึกสุดใจ เพราะขาดความเป็นส่วนตัวที่จะพูดต่อโทรโข่ง แม้ว่าจะมีเสียงรบกวน ตำรวจน่าจะจัดการเรื่องเสียงรบกวนมากกว่า ให้ใช้เสียงธรรมชาติในการเจรจาเกลี้ยกล่อมจะได้ผลมากกว่าทั้งสำหรับผู้ พยายามฆ่าตัวตายและผู้เจรจา

           4. การที่ตำรวจปรบมือเป็นระยะเมื่อ ดร. วันชัย ยอมดื่มน้ำ หรือลดปืนลง เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ท่าทางในการปรบมือ นั้นทำให้ ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายรู้สึกกดดัน และรู้สึกว่ามีคนกำลังชมการแสดงอยู่ การปรบมือกับสายตานั้นไม่สอดคล้องกัน ผู้พยายามฆ่าตัวตายย่อมอ่านสายตาผู้ปรบมือซึ่งคือเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ การปรบมือแบบนั้นทำให้ลดความรู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ มนุษย์ทุกคนย่อมรับรู้ด้วยสายตาและใจได้ว่าการกระทำต่าง ๆ รวมถึงการปรบมือนั้นเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติหรือไม่ หรือเป็นการเล่นละคร การปรบมือเป็นระยะเช่นนั้นทำให้ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายรู้สึกว่าตนเองเป็น เด็กเล็ก ๆ ที่ไม่มีวุ��'ิภาวะ และเป็นการเร้าให้เกิดความเครียดมากขึ้น

           5. ผมเห็นว่าตำรวจพูดเยอะมาก และพี่สาวที่ไปเจรจาก็พูดเยอะมาก เวลาวิกฤติอย่างนี้ คนที่เครียด คือ ดร. วันชัย ต่างหากที่ควรจะได้พูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมาให้มาก การพูดออกมาทำให้ระบายความเครียดและอารมณ์ในจิตใจ การที่ตำรวจแย่งพูด การที่พูดมาก ๆ คนฟังยิ่งได้ข้อมูลมากขึ้นเครียดมากขึ้น รอวันระเบิดอารมณ์ออกมาเท่านั้นเอง การได้พูดเป็นการระบายอารมณ์ (Emotional venting) สิ่งที่ควรทำคือต้องให้ ดร. วันชัยได้พูดออกมาให้หมดจดหมดใจต่างหาก หลักสำคัญของการเจรจาน่าจะเป็นการที่ผู้พยายามฆ่าตัวตายได้พูดแต่เที่ยวนี้ กลับไม่เป็นเช่นนั้น

           6. การที่ ดร. วันชัย ถอยร่นออกไปเรื่อย ๆ และอีกฝ่ายคือครอบครัวและตำรวจรุกคืบเข้าไปเรื่อยๆ ทำให้พื้นที่ส่วนตัว (Personal space) และระยะปลอดภัย (Safety zone) ของ ดร. วันชัย ลดลงไปเรื่อย ๆ ทำให้อีดอัดมากขึ้น เครียดมากขึ้น ฝ่ายหนึ่งถอย อีกฝ่ายหนึ่งรุกไล่ไปเรื่อยๆ ความเครียดของฝ่ายที่ถอย ย่อมมากกว่า เรื่องนี้เป็นหลักทั่วไปทางจิตวิทยา

           7. การที่นายตำรวจในเสื้อขาว ทราบว่าคือ ผบชน. เข้าไปเปิดค้นรถของ ดร. วันชัย รื้อเอกสารออกมาดูจากหลังรถ และโยนทิ้งลงไป ทำให้ ดร วันชัย รู้สึกเสียเกียรติ ทำให้ ดร. วันชัย ซึ่งใช้รถเป็นเกราะหรือทางออกสุดท้ายในการหาทางออกหรือการหลบหนี หมดทางหนี หมดทางออก รถเป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างหนึ่ง และเป็นทางหนีด้วย การไปบุกรุกและยึดครองพื้นที่ส่วนตัวทำให้ ดร. วันชัย รู้สึกกดดันมาก และรู้สึกว่าตัวเองไม่มีพื้นที่ส่วนตัวและทางหนีอีกแล้ว หลังจาก ผบชน ไปครองรถและรื้อรถได้ไม่นาน ดร. วันชัย ก็ฆ่าตัวตาย

           จากการถ่ายทอดสดที่ได้รับชมดังกล่าว ทำให้รู้สึกว่า...

           1. สื่อมวลชนคงต้องเรียนรู้วิธีการถ่ายทอดสดเหตุการณ์ดังกล่าวให้ดีกว่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคมในอนาคต

           2. ตำรวจควรเข้าใจจิตวิทยาในการเกลี้ยกล่อมมากกว่านี้

           3. ควรมีนักจิตวิทยาคลินิค เข้าไปช่วยคลี่คลายเหตุการณ์ โดยใช้หลักจิตวิทยา ใจเขาใจเรา ผลอาจจะไม่ออกมาเช่นนี้ก็ได้

           ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียทุกฝ่าย

           ขอแสดงความเสียใจกับประเทศไทยที่เรากำลังสร้างตัวแบบในการฆ่าตัวตายให้คนไทย และเด็กไทยได้ชมผ่านโทรทัศน์พร้อมๆ กันนับล้านๆ คน ทั่วประเทศ


ที่มา:เหยี่ยวข่าว on Line

โพสต์โดย : Ao

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด