Social :



ดิจิทัลทีวี 5 ช่อง ยันไม่จ่ายค่างวดรอบ 3

24 พ.ค. 59 09:18
ดิจิทัลทีวี 5 ช่อง ยันไม่จ่ายค่างวดรอบ 3

ดิจิทัลทีวี 5 ช่อง ยันไม่จ่ายค่างวดรอบ 3


ดิจิทัลทีวี 5 ช่อง ยันไม่จ่ายค่างวดรอบ

 

ดิจิทัลทีวี 5 ช่อง ไม่มาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตดิจิทัลทีวีงวดที่ 3 พร้อมแสดงจุดยืนรอคำสั่งศาล ขณะที่ กสทช. เตรียมส่งหนังสือทวงถาม

 


เมื่อวานนี้ ( 23 พ.ค. 59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ 5 ช่องดิจิทัลทีวีที่ยังไม่ชำระค่าธรรมเนียมในอนุญาตดิจิทัลทีวีงวดที่ 3 คือ   ช่อง Bright, Gmm, One, Thairat และ PPTV แม้จะครบกำหนดจ่ายเงินวันสุดท้าย โดยให้เหตุผลว่ารอคำสั่งศาลปกครองกลาง ตามที่เคยยื่นผ่อนผันชำระค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 ซึ่งศาลจะนัดไต่สวนคำร้องในวันศุกร์นี้

 

 


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.

 

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุเตรียมประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ เพื่อส่งหนังสือทวงถามเงินค่างวดที่ 3 ตามระบบ เบื้องต้นยังไม่มีคำสั่งระงับหรือพักใช้ใบอนุญาต โดยต้องรอเหตุผลของช่องที่ยังไม่มาชำระเงินก่อน

 

อนหน้านี้ ดิจิทัลทีวี 7 ช่อง ยื่นขอผ่อนผันชำระค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 เพราะมองว่าสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ไม่ทำตามหน้าที่ ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามแผน

 

 

 

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ 8 สถานี ประกอบด้วย

1. ช่องวัน (ช่อง 31)

2. ช่องพีพีทีวี (ช่อง 36)

3. ช่องไทยรัฐทีวี (ช่อง 32)

4. ช่องจีเอ็มเอ็ม แชนแนล (ช่อง 25)

5. ช่องไบรท์ทีวี (ช่อง 20)

6. ช่องเนชั่น (ช่อง 22)

7. ช่องนาว (ช่อง 26) และ

Lif

8. ช่องสปริงนิวส์ (ช่อง 19)

 

แถลงข่าวแสดงจุดยืนในการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่ 3 ซึ่งครบกำหนด ในวันที่ 23 พ.ค. 2559 นี้ โดยมีสาระสำคัญดังนี้


1. เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2559 กลุ่มทีวีดิจิทัล 8 ช่อง ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ขอให้ศาลปกครองกลางสั่งให้ กสทช. กับพวกใช้อำนาจตามกฎหมายกำหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี รวมถึงให้ผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่งวดที่ 3 ออกไป ซึ่งกลุ่มทีวีดิจิทัลทั้ง 8 ช่องมีนโยบายที่จะประกอบกิจการทีวีดิจิทัลต่อไปจนครบอายุใบอนุญาต 15 ปี 


ทั้งนี้   5   ช่องพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป แต่เนื่องจากขณะนี้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของบริษัทดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง แต่จะรอให้ศาลมีคำสั่งออกมาก่อนจะดำเนินการต่อไป โดยศาลปกครองมีคำสั่งนัดไต่สวนในวันที่ 27 พ.ค. 2559 นี้ ส่วนช่องเนชั่น ช่องนาว และช่องสปริงนิวส์ที่เพิ่งเข้าร่วม ยินดีจ่ายไปก่อนและสงวนสิทธิการฟ้องเช่นกัน  


ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของผู้ประกอบการทั้ง 8 สถานี ในงวดที่ 3 นี้มียอดเงินรวมกันประมาณ 3,000 ล้านบาท


2. ผู้ประกอบการ 8 ช่องยืนยันมุ่งมั่นประกอบกิจการทีวีดิจิทัลต่อเนื่อง โดยลงทุนเพิ่มเติมในกิจการในระยะยาวไปแล้วเกือบทุกสถานี เช่น ช่องวัน ลงทุนสร้างสตูดิโอขนาดใหญ่อีก 2-4 แห่ง ไทยรัฐทีวีลงทุนสร้างตึกสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ 12 ชั้น พร้อมสตูดิโอ และ PPTVHD ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์ content ฟุตบอลอังกฤษ เยอรมัน สเปน อิตาลี รวม 4 ลีก 2 ถ้วยในยุโรปเป็นระยะเวลา 3 ปี รวมมูลค่ามากกว่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เสียอีก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานของกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทำเพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยหันมารับชมโทรทัศน์ดิจิทัลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง


กล่าวโดยสรุป สถานีโทรทัศน์ทั้ง 8 สถานี ยังคงเดินหน้าฟ้องร้อง กสทช. กับพวก เนื่องจาก กสทช.ไม่สามารถดำเนินการตามที่เคยประกาศและสัญญาไว้ตั้งแต่ก่อนประมูล และภายหลังการได้รับใบอนุญาตแล้ว โดยทั้งละเว้นหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดล่าช้าเกินสมควร ในการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก สู่ระบบดิจิทัล จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการอันเป็นการละเมิด และใช้อำนาจไม่ถูกต้องตามหลักการปฎิบัติงานที่ดีแห่งรัฐ มากว่า 2 ปี ส่งผลโดยตรงต่อผู้บริโภคที่ไม่สามารถรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพใหม่ๆ ได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐบาลและกฎหมาย

 

กลุ่มทีวีดิจิทัลจึงจำเป็นต้องใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมายในการต่อสู้และเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเร่งเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกสู่ระบบดิจิทัลโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ชมได้รับประโยชน์จากบริการทีวีดิจิทัลอย่างแท้จริง


 

เรียบเรียงโดย topicza.com

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด