Social :



กรมควบคุมโรค ข้อควรระวัง 2 ภัยหน้าหนาว เตรียมพร้อมก่อนเสียชีวิตไม่รู้ตัว

13 ธ.ค. 59 16:12
กรมควบคุมโรค ข้อควรระวัง 2 ภัยหน้าหนาว เตรียมพร้อมก่อนเสียชีวิตไม่รู้ตัว

กรมควบคุมโรค ข้อควรระวัง 2 ภัยหน้าหนาว เตรียมพร้อมก่อนเสียชีวิตไม่รู้ตัว

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นเทศกาลท่องเที่ยวของทุกปี ประชาชนต้องระมัดระวังตัวเองด้วย โดยเฉพาะการเดินทางพักค้างแรมในพื้นที่ห่างไกล ตามดอย ตามภูเขา ซึ่งบางรีสอร์ต ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง จึงทำให้มีเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สเท่านั้น จึงต้องระมัดระวังในการใช้เป็นพิเศษ เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2551-2559 พบผู้ป่วยหมดสติขณะอาบน้ำในห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นแบบใช้ระบบแก๊ส รวมทั้งสิ้น 16 เหตุการณ์ จำนวนผู้ป่วย 27 ราย เสียชีวิต 6 ราย ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ภาคเหนือ ระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงมกราคมของทุกปี

“หากย้อนพิจารณาข้อมูลจะพบว่า ทุกเหตุการณ์เป็นเครื่องทำน้ำอุ่นที่ไม่มี มอก. โดยจากการตรวจสอบจะพบว่าสภาพห้องน้ำมักมีพื้นที่แคบ มีช่องระบายอากาศเล็ก หรือไม่มี หรือไม่เปิดพัดลมดูดอากาศ ซึ่งจะทำให้ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) สูงอย่างรวดเร็วภายใน 10 นาที ร่วมกับพบปริมาณออกซิเจนต่ำ โดยมีผลต่อสุขภาพคือ ทำให้เม็ดเลือดแดงจับออกซิเจนได้น้อยลง ร่างกายขาดอากาศหายใจ

MulticollaC
มีอาการหมดสติ อาจทำให้เสียชีวิตได้ และในบางครั้งเข้าใจว่า หากเปิดประตูห้องน้ำไว้เพื่อระบายอากาศแทนนั้นจะช่วยได้ ข้อเท็จจริงไม่ช่วย แต่จะทำให้ผู้ที่อยู่ในห้องนอนคนอื่นๆ มีภาวะขาดอากาศหายใจร่วมด้วยอีก ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด หากพบว่าต้องอาบน้ำอุ่นระบบแก๊ส ควรตัดสินใจไม่อาบเลยดีกว่า หรือถ้าอาบต้องให้รวดเร็วภายใน 10 นาที

นพ.ธนรักษ์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ต้องระวังคือ การเสียชีวิตด้วยโรคทางเดินหายใจในช่วงปัญหาหมอกควันภาคเหนือตอนบน จากข้อมูลปี 2557-2559 พบผู้ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ หอบหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนมีแนวโน้มสูง โดยมีผู้ป่วยเฉลี่ยเดือนละ 8,000-8,500 ราย ดังนั้น คาดว่า ปี 2560 ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะทางภาคเหนือซึ่งจะอุณหภูมิต่ำและมีหมอกควันหนาขึ้น มีผลกระทบทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ได้แก่ โรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาจทำให้อาการกำเริบรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวดังกล่าว

โพสต์โดย : อาจารย์ตาใส