Social :



ป่าขุนสถานจังหวัดน่าน

22 เม.ย. 59 21:20
ป่าขุนสถานจังหวัดน่าน

ป่าขุนสถานจังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน   

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา   

 

  ข้อมูลทั่วไป

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่ อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ชนิดต่างๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง สัตว์ที่พบเห็นได้แก่สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ นก ปลา แมลงชนิดต่างๆ  

ความเป็นมา  : ในปี . . 2541 ศูนย์อุทยานแห่งชาติ จังหวัดน่าน ได้มีหนังสือที่ กษ 0712. ศอช . . น่าน /1 ลงวันที่ 7 เมษายน 2541 ถึงส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ในขณะนั้น ว่าบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยแม่ขะนิง ป่าน้ำสาและป่าสาครฝั่งซ้าย และป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่า มีลักษณะโดดเด่นอัศจรรย์ และมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการสำหรับประชาชน มีพื้นที่ประมาณ 300,000-400,000 ไร่เศษ เหมาะสมและสมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นจึงเห็นควรให้กรมป่าไม้ พิจารณาจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกมาสำรวจ ประกาศจัดตั้ง และควบคุมพื้นที่ดังกล่าว เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป  

กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 1041/2541 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม . . 2541 ให้นายวิโรจน์ โรจนจินดา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 อุทยานแห่งชาติแม่ยม ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จังหวัดลำปาง ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว จากการสำรวจพบว่ามีพื้นที่มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติขุนสถาน อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ท้องที่อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เนื้อที่ประมาณ 262,000 ไร่ หรือ 419.2 ตารางกิโลเมตร และต่อมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีคำสั่งที่ 1707/2548 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ให้นายฉัตรชัย โยธาวุธ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 6 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนสถาน จนถึงปัจจุบัน

ขณะนี้ขั้นตอนการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว อยู่ในระหว่างการจัดทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และดำเนินการตามขั้นตอน ต่อไป  

  ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติขุนสถานเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชัน ทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ มีแนวสันเขาของดอยแปรเมืองเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน มีลำธารและลำห้วยไหลลงสู่แม่น้ำหลายสาย เช่น น้ำสา น้ำถา น้ำแหง น้ำแม่สาคร เป็นต้น ดอยที่สำคัญ เช่น ดอยกู่สถาน มีความสูง 1,630 เมตร ดอยแปรเมือง มีความสูง 1,395 เมตร ดอยขุนห้วยฮึก มีความสูง 1,233 เมตร

MulticollaC
ดอยแม่จอก มีความสูง 1,424 เมตร และดอยที่สูงที่สุดคือ ดอยภูคา สูง 1,728 เมตรจากระดับน้ำทะเล

  ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติขุนสถานแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จากข้อมูลภูมิอากาศตั้งแต่ปี . . 2535 - 2540 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี วัดได้ 1,194 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิสูงสุดเดือนพฤษภาคม 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเดือนมกราคม 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 27 องศาเซลเซียส

  พืชพรรณและสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติขุนสถานสามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น  
ป่าดิบเขา   ขึ้นอยู่ตามสันเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น บริเวณดอยขุนห้วยย่าทาย ดอยขุนห้วยหก ดอยขุนสถาน มีพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ก่อ สารภีดอย พะวา จำปีป่า เหมือด กำยาน เฟิน และปรงป่า และทีเฟริ์น

ป่าสนเขา   ขึ้นกระจายตามยอดเขาที่ความสูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น บนดอยจวงปราสาท ดอยแปรเมือง มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก สนสองใบ สนสมใบ เหียง และพะยอม ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไป สภาพป่ามีความชื้นสูง สภาพป่ารกทึบ มีพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างได้แก่ ยางปาย ยมหิน ม่วงก้อม ชมพูป่า เขืองแข้งม้า และหนามเล็บเหยี่ยว  

ป่าเบญจพรรณ   พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 250-1,00 เมตร ชนิดไม้และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ ประดู่ ชิงชัน เก็ดแดง เก็ดดำ รกฟ้า มะเฟืองช้าง ตะแบกเลือด ปู่เจ้า มะกอกเกลื้อน ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง เห็ดจั่น เห็ดมัน เห็ดซาง และเห็ดขอน และ ป่าเต็งรัง พบตามสันเขาที่มีความสูงระหว่าง 700-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พะยอม มะม่วงหัวแมงวัน กระโดน ติ้ว กระท่อมหมู ปรง เห็ดไข่ห่านเหลือง และเห็ดขมิ้นใหญ่ เป็นต้น  

ป่าดิบชื้น   ขึ้นอยู่ตามริมห้วย พบกระจายอยู่ทั่วไป แต่เป็นบริเวณไม่กว้างนัก พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ตะเคียนทอง ยมหอม เชียด เลือดม้า กระทุ่มบก ลำพูป่า เฟิน ผักกูด กีบแรด บอน เห็ดแดง และเห็ดขมิ้นน้อย และยังพบกล้วยไม้นานาชนิด เช่น สิงโตสยามฯ  

สัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ได้แก่ เสือโคร่ง หมีควาย กวางป่า เลียงผา หมูป่า ลิง อีเห็น หมูหริ่ง หมาหริ่ง กระต่ายป่า ตุ่น อ้น กระรอก นกขุนทอง นกแก้ว นกขมิ้น นกหัวขวาน นกแซงแซวหางบ่วง นกตะขาบทุ่ง แย้ ตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแกป่า กบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ฯลฯ สำหรับในบริเวณแหล่งน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำสิริกิตติ์ มีปลาอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนแดง ปลาแรด ปลาชะโด ปลาไน ปลาช่อน ปลาบู่ทอง ปลาสลาก ปลาตะโกก ปลาหมอ และปลาสร้อย เป็นต้น  

 

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน

 

โพสต์โดย : sitbn

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด