Social :



วัยรุ่นใจป๋า ขาช้อปตัวแม่ ก็รวยได้ ถ้าใช้เงินเป็น

13 ส.ค. 60 06:00
วัยรุ่นใจป๋า ขาช้อปตัวแม่ ก็รวยได้ ถ้าใช้เงินเป็น

วัยรุ่นใจป๋า ขาช้อปตัวแม่ ก็รวยได้ ถ้าใช้เงินเป็น

วัยรุ่นใจป๋า ขาช้อปตัวแม่ ก็รวยได้ ถ้าใช้เงินเป็น



คนจำนวนไม่น้อยทำงานมาหลายปีก็ยังไม่มีเงินออมเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเขาไม่เคยวางเป้าหมายเรื่องการบริหารการเงินไว้ แต่เนิ่น ๆ บ้างก็อาจจะคิดว่าการออมเงินเป็นเรื่องของคนที่ทำงานมานานหลายสิบปีแล้ว ตนเองยังเป็นวัยรุ่นเพิ่งเริ่มทำงานยังไม่ผ่านช่วงทดลองงานเลย จะรีบออมไปไหน ใช้ชีวิตให้สนุก ใช้จ่ายให้คุ้มค่าก่อน หรือ บ้างก็คิดว่าเงินเดือนเริ่มต้นแค่ 12,000 บาทเท่านั้น ใช้จ่ายไม่เท่าไรก็หมดแล้วจะเหลือมาออมได้อย่างไร นั่นเป็นเพราะการบริหารเงินยังไม่ถูกวิธี แนวคิดที่ว่าจะออมหลังการใช้จ่ายไม่เคยทำให้มนุษย์เงินเดือนคนไหนมีเงินเหลือมาออม ส่วนใหญ่จะลงเอยด้วยการชักหน้าไม่ถึงหลังเสียด้วยซ้ำ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่ได้แยกประเภทของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นกับค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่จะทำอย่างไรได้ก็หาเงินมาทั้งทีต้องใช้จ่ายให้คุ้ม หากคุณเองก็เป็นเหมือนวัยรุ่นส่วนใหญ่ในสังคมที่ซื้อตามกระแส ไม่อยากเอ้าท์ แต่ลึก ๆ ก็อยากมีเป้าหมายทางการเงินที่มั่งคั่งในอนาคต สำหรับเรียนต่อท่องเที่ยวรอบโลกกินอาหารระดับเชฟกระทะเหล็ก หรือ ได้ใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์อย่างใครเขาบ้าง วัยรุ่นอย่างคุณก็ทำได้ ถ้าใช้เงินเป็น

หากจะยึดทฤษฎี “ใช้เงินให้หมด ช้อปให้กระจายทุกเดือน” แล้ว ปราการด่านแรกที่วัยรุ่นอย่างคุณต้องสร้างขึ้นมาเป็นเขื่อนเงินออมก่อนก็คือ หักเงินออมอัตโนมัติก่อนการใช้จ่ายในแต่ละเดือน สมมุติว่า คุณได้เงินเดือน 30,000 บาท ต้องหาวิธีจำกัดเงินอย่างต่ำ 30 – 40% ของรายได้ทั้งหมดไว้ในที่ปลอดภัย หมายถึงคุณจะไม่มีทางเบิกออกมาใช้จ่ายได้เด็ดขาด เช่น การทำประกันชีวิตโดยอาจจะเลือกรูปแบบประกันที่มีเงินออม 7 – 10 ปี กว่าจะเบิกออกมาได้ก็อีกนาน หรือ ถ้าทางบริษัทฯ มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(Provident Fund) ก็สมัครรวมไปด้วยเพราะระบบจะทำการหักอัตโนมัติทุก ๆ เดือน วัยรุ่นใจป๋า ขาช้อปตัวแม่อย่างคุณไม่สามารถเบิกออกมาใช้จ่ายได้แน่นอน จนกว่าจะลาออกจากบริษัทเท่านั้นเอง


ทั้งนี้ ถ้าบริษัทมีให้เลือกได้ว่าจะหักฝากกี่ % ต่อเดือน แนะนำให้ฝากในอัตราสูงสุดเท่าที่มีให้เลือก เพราะการฝากยิ่งมากก็ได้เงินออมมากและเพิ่มความปลอดภัยทางการเงินให้กับตัวคุณเองมากขึ้นด้วย ทางเลือกการบริหารเงินที่ไม่ควรมองข้ามอีกอย่างก็คือการลงทุนในกองทุนรวม LTF ที่ให้ผลตอบแทนสูงและกำหนดตายตัวว่าคุณไม่สามารถเบิกเงินออกมาใช้ได้จนกว่าจะครบ 5 ปีข้างหน้า ถ้าไม่มีเงินก้อน คุณอาจจะทยอยซื้อทีละนิดทุก ๆ เดือนก็ได้ เวลาที่เห็นราคาต่อหน่วยผลตอบแทนปรับขึ้นในสมุดบัญชีจะเป็นการกระตุ้นให้คุณอยากลงทุนเพิ่มและสนุกกับการออมมากกว่าเดิม หรือ จะใช้วิธีหักเงินอัตโนมัติผ่าน
MulticollaC
ATM ไปเข้าบัญชีฝากประจำก็ได้ ซึ่งจะทำให้เงินคงเหลือในบัญชีของคุณจาก 30,000 บาทเป็น 18,000 บาทแทน คราวนี้ ด้วยเงินจำนวนที่เหลืออยู่จะเพลิดเพลินกับการใช้จ่ายอะไรก็ให้อิสระกับตัวเองอย่างเต็มที่ ใช้จนหมดก็ย่อมได้ ในกรณีที่มีรายได้สูงขึ้นในแต่ละปีจากการปรับฐานเงินเดือน ก็ควรปรับอัตราการออมสูงขึ้น แต่พยายามรักษาสัดส่วนค่าใช้จ่ายเท่าเดิมตามที่จำเป็น

นอกจากนี้ การสร้างแรงบันดาลใจสำหรับการออมมีประโยชน์ไม่น้อย เช่น ถ้าเป้าหมายของคุณคือการเที่ยวยุโรปภายในสองปีข้างหน้าและค่าใช้จ่ายโดยประมาณอยู่ที่ 8 หมื่นบาท นั่นหมายถึงคุณจำเป็นต้องออมเงินขั้นต่ำ 3,400 บาททุกเดือน หรือตกวันละ 114 บาท เป้าหมายของคุณก็จะเป็นจริง เทคนิคสร้างแรงดึงดูดที่ดีแบบหนึ่งที่คุณสามารถนำไปทดลองใช้ง่าย ๆ ก็คือ นำกระปุกติดรูปสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณอยากจะไปไว้ด้านหน้ากระปุกนั้น และหยอดเงินเพียงวันละ 114 ทุกวันก็จะทำให้คุณมีเงินสำหรับท่องเที่ยวตามที่ตั้งใจ กลยุทธ์นี้สามารถนำไปต่อยอดกับเป้าหมายชีวิตด้านอื่น ๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทุนเรียนต่อทุนสินสอดทุนพาพ่อแม่เที่ยวญี่ปุ่น หรือ ทุนสำหรับมื้ออาหารบนตึกสูงระฟ้า ขอเพียงแต่รักษาวินัยการออมและไม่ผัดวันประกันพรุ่ง วัยรุ่นทุกคนก็สามารถรวยเงินเก็บได้ทั้งนั้น

แท้ที่จริงเงินออมจำนวนมาก หรือน้อยไม่สำคัญเท่าความสม่ำเสมอ แม้คุณจะมีรายได้ไม่มากเป็นหลักหมื่น แต่หาเงินได้เป็นรายวันก็ไม่ใช่อุปสรรคของการออม เพราะคุณก็สามารถรวยจากการออมเงินได้เช่นกัน สมมุติว่า คุณมีรายได้วันละ 300 บาท ให้คุณเริ่มต้นออมเงินวันละ 20 บาท ภายใน 1 เดือนคุณก็จะมีเงินออมเพิ่มเป็น 600 บาทและเท่ากับ 7,300 บาทในเวลา 1 ปี ภายใต้หลักปฏิบัติที่ว่าจะไม่แกะเงินในกระปุกออกมาใช้เป็นอันขาด หรือ ถ้าคุณนำเงิน 600 บาทไปฝากบัญชีธนาคารทุก ๆ เดือน คุณก็จะได้รับประโยชน์จากเงินออมทบเข้าไปอีกต่อหนึ่งด้วย สำหรับผู้ที่ชอบดื่มกาแฟ หรือ มีเมนูเครื่องดื่มแก้วโปรดจากร้านดังทุกวัน หากลองนำแนวคิด”ออมเท่าที่จ่าย” มาใช้ก็ย่อมเห็นผลของการออมเงินได้ในระยะเวลาไม่นาน เช่น คุณเสียค่ากาแฟแก้วโปรดวันละ 70 บาทเป็นประจำ ก็ให้หักเงินอีก 70 บาทมาใส่ในกระปุก ดังนั้นภายในเวลาเพียง 1 เดือนคุณก็จะมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นถึง 2,100 บาท หรือ เท่ากับว่าคุณเสียเงินกับกาแฟร้านดังเฉลี่ยเดือนละสองพันกว่าบาทนั่นเอง คราวนี้ การตัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นก็คงไม่ยากเกินกว่าจะตัดใจแล้ว





ขอขอบคุณที่มา:www.lady108.com

โพสต์โดย : Wizz