Social :



@วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี

17 ต.ค. 60 07:30
@วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี

@วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี

วัดป่าเลไลย์

     นับได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่ สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ สุพรรณบุรีชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดป่า  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหาร วัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมาย พระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบ สมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้าง ในสมัยที่ เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะ วัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724 

วัดป่าเลไลยก์

       วัดป่าเลไลยก์ เป็นที่คุ้นของคนทั่วไป เนื่องจากปรากฎอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนเมื่อเยาว์วัย ได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว ความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ตามที่พรรณาไว้ใน เสภา เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ด้านหน้าของพระวิหารจึงมีรูปปั้นของขุนแผน และนางพิมตั้งอยู่

วัดป่าเลไลยก์ วัดป่าเลไลยก์

     ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ "หลวงพ่อโต" ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่น เห็นแต่ไกลเป็นพระพุทธรูป ปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูป ปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือน พระพนัญเชิงในสมัยแรกๆ เพราะมักจะพบว่า พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอน ต้น ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรม สารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36 องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของ ประชาชนใน จังหวัดสุพรรณบุรี

Lif
วัดป่าเลไลยก์ วัดป่าเลไลยก์


หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์
     นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าแสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น องค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปาง ป่าเลไลยก์ขนาด ใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระ หัตถ์ขวา ส่วนทาง พระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความ ชาญฉลาดของ ช่างเป็น อย่างยิ่ง มีผู้สันนิษฐานว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้าย วางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย พระวิหารที่สร้าง ครอบองค์พระ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฎอยู่ งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ มีปีละสองครั้ง คือในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12 

วัดป่าเลไลยก์ วัดป่าเลไลยก์


เส้นทางการเดินทาง
     ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองอยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ ห่างจากศาลากลาง จังหวัดประมาณ ๔ กิโลเมตร (ใช้ทางหลวงหมายเลข 340 กม.95) ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 321 ผ่านศาลหลักเมือง  วัดตั้งอยู่ กม.161 

ขอบคุณข้อมูลจาก
paiduaykan.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ