Social :



จิงจูฉ่าย ผักสมุนไพรมากสรรพคุณ

27 ต.ค. 60 16:10
จิงจูฉ่าย ผักสมุนไพรมากสรรพคุณ

จิงจูฉ่าย ผักสมุนไพรมากสรรพคุณ

จิงจูฉ่าย   เป็นผักที่ไม่คุ้นชื่อ แต่มากสรรพคุณในการรักษาโรค ปลูกง่ายดูแลไม่ยาก


    จิงจูฉ่าย เป็นผักใบเขียวลักษณะคล้ายต้นขึ้นฉ่าย จัดอยู่ในประเภทสมุนไพรชนิดเย็น ใบและลำต้นจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสขมเล็กน้อย มักนิยมนำไปประกอบอาหารเมนู เกาเหลาเลือดหมู  


     และมีงานวิจัยระบุว่า นอกจากประโยชน์ในการแก้ไข้ บำรุงปอด ฟอกเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี ปรับสมดุลความดันโลหิต ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้แล้ว ยังเชื่อกันว่าสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งอีกด้วย


      บางพื้นที่เรียกพืชชนิดนี้ว่าโกศจุฬาลัมพา และบางประเทศเรียกว่า เซเลอรี เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5–1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉก 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้าย   ใบบัวบก   มีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด


     สำหรับการปลูกจิงจูฉ่ายนั้น พื้นที่ที่เหมาะสมควรตั้งอยู่ในทำเลที่ร่ม ดินเป็นดินร่วน ในการปลูก ควรพรวนดินที่ผสมปุ๋ยคอกประเภทมูลหมู หรือมูลวัวในปริมาณมาก เพื่อเพิ่มสารอาหารให้อุดมสมบูรณ์จะทำให้ได้ต้นอวบอ้วน และงอกงาม โดยเฉพาะในแปลงดิน หรือจะปลูกใส่กระถางก็สามารถปลูกได้ด้วยการใช้ดินแบบผสมปุ๋ยคอก และไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีหรือฮอร์โมนเคมีใด


      เป็นพืชล้มลุก ที่สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด หรือแยกต้นมาปลูก หรือจะนำรากของต้นที่นำลำต้นและใบไปบริโภคแล้วไปปักเพาะในแปลงปลูกที่คลุมด้วยสแลนบังแดดก็ได้ เป็นพืชที่ชอบแดดรำไร รดน้ำวันละครั้ง ไม่ต้องเเฉะ แต่ชอบดินชื้น

Lif
อย่าให้ขาดน้ำ และอย่าปล่อยให้น้ำขัง หมั่นตัดเพื่อให้แตกยอดอ่อนออกมาอย่างต่อเนื่อง


       เป็นพืชผักสวนครัวที่ปลูกและดูแลง่าย ไม่มีแมลงศัตรูพืชมารบกวนหรือทำลาย เนื่องจากใบมีน้ำมันหอมระเหย ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงใด   ในการดูแลรักษา


       นับเป็นผักที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำใบหรือยอดอ่อนมาประกอบอาหารประเภทต้ม เช่น ต้มเลือดหมูและต้มจืดในปัจจุบัน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามินซี และสารอาหารอื่น ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะมีสารที่มีคุณ สมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในการยับยั้ง


      การเกิดไอออนซุปเปอร์ออกไซด์   (O2 -) ในเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย  


      และมีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสารในขมิ้น และสารในส้มแก้ว นอกจากนี้ยังพบว่ามีสารที่มีประสิทธิภาพในการใช้เป็นสารขับไล่ แมลงหลายชนิดอีกด้วย


      ประชาชนชาวจีนเมื่อในอดีตจะนิยมนำมาปรุงอาหารกินในหน้าหนาวเพราะเชื่อว่าจะช่วยปรับสมดุลภายในร่างกาย   ปัจจุบันคนไทยนิยมนำมาทำอาหารหลากหลายชนิด ทั้งผัด ต้ม แกง กินสดเป็นผักแกล้มกับลาบ หรือนำมาตากแห้งชงดื่มเป็นชาสมุนไพร แต่การจะกินให้ได้คุณค่าทางโภชนา การนั้น ควรจะกินแบบสด เพราะมีสารไลโมนีน ซิลนีน และไกลโคไซด์ชื่ออะปิอิน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลความดันเลือดในร่างกาย


      นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในใบและลำต้น ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ส่วนในลำต้นสดและเมล็ดมีปริมาณโซเดียมต่ำผู้ที่เป็นโรคไตจึงสามารถบริโภคได้



ที่มา//เดลินิวส์

โพสต์โดย : AEK LIGOR