Social :



ตำนานความเชื่อ!ความเชื่อคนอินเดีย.."ตายแล้วไปไหน?"

12 พ.ย. 60 06:11
ตำนานความเชื่อ!ความเชื่อคนอินเดีย.."ตายแล้วไปไหน?"

ตำนานความเชื่อ!ความเชื่อคนอินเดีย.."ตายแล้วไปไหน?"

หากเอ่ยถึง ความตาย แน่นอนว่าย่อมเป็นสิ่งที่เราจะต้องเผชิญด้วยตัวเองไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่ง คนอินเดียก็มีความเชื่อเกี่ยวกับความตายเหมือนๆกันกับชาติอื่นๆ วันนี้ขอนำเสนออีกหนึ่งความเชื่อของคนอินเดียที่ว่า "ตายแล้วไปไหน ?" 



        ดูดวง พิธีการจัดการเกี่ยวกับศพ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าว่า ร่างกายเป็นของปฏิกูล เมื่อตายแล้วก็ไร้ประโยชน์วิญญาณออกจากร่างไปสู่ที่อื่น ดังนั้นจึงควรเผาเสีย แต่มุสลิมถือว่าร่างกายเป็นที่อยู่อาศัยของวิญญาณ เมื่อตายแล้ววิญญาณก็ยังสถิตอยู่ การตายของคนเป็นเพียงการพักผ่อนเท่านั้น เมื่อถึงวันก็กลับฟื้นคืนมาอีก ดังนั้นจึงไม่เผาและพยายามสร้างที่ฝังศพให้ดีสวยงาม เช่น อนุสรณ์ทัชมาฮาล เป็นต้น การเผาศพของชาวอินเดียที่เป็นฮินดูว่า มีพิธีตามลำดับ ดังนี้ 

        ก่อนตาย 

        เมื่อรู้ว่าผู้ป่วยกำลังจะสิ้นลมหายใจ ญาติพี่น้องของผู้ป่วย จะยกร่างของผู้ป่วยลงจากเตียงมานอนไว้กับพื้น เชิญพราหมณ์มาสาธยายมนต์ ญาติพี่น้องเริ่มแจกทานแก่คนจน หามูลโคมาฉาบทาพื้นและเอาใบตุลสีหรือกะเพรามาปกคลุมพื้นที่คนป่วยนอนอยู่ ให้คนป่วยนอนคว่ำหน้าลง หันศีรษะไปทางเหนือ เอาน้ำคงคาที่ใส่หม้อมาหยดลงใส่ปาก และพรมตามตัวของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยสิ้นลมหายใจ ญาติพี่น้องพากันร้องไห้แสดงความอาลัยอาวรณ์และจะถวายวัวแก่พราหมณ์ผู้ทำพิธี 

        ตายแล้ว 

        เมื่อผู้ป่วยสิ้นลมหายใจแล้ว ลูกชาย น้องชาย เพื่อนชาย หรือลูกศิษย์จะโกนผม ญาติพี่น้องร้องไห้ ไม่ยอมทานอาหารหรือทานแต่น้อย คนในครอบครัวจะทำอาหารทานเองไม่ได้ มีญาติที่น้องหรือบ้านใกล้เรือนเคียงเอาอาหารมาส่ง จะไปตลาด เยี่ยมบ้านคนอื่น ไปในสมาคมหรือเข้าวัดไม่ได้ ห้ามไม่ให้แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ใหม่ ผู้ชายห้ามใส่เสื้อ โกนหนวด หวีผม สวมรองเท้าและให้ทานอาหารน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เนื่องจากคนอินเดียหาไม้ยาก 

        ดังนั้นการจัดทำโลงจึงไม่พิถีพิถันเหมือนเมืองไทย ทำเป็นแม่แคร่ เอาศพวางบนนั้น ใช้เชือกมัดหัวมัดท้าย ถ้าเป็นผู้ชายใช้ผ้าขาวห่อ ถ้าเป็นหญิงใช้ผ้าสีต่างๆ โดยมากเป็นสีแดง เมื่อจัดมัดเรียบร้อยแล้ว ก็หามไปเผาในวันนั้น ห้ามไม่ให้เอาศพไว้ที่บ้านนาน ใช้คน 4 คนหาม พราหมณ์ออกก่อนหน้าศพ ญาติพี่น้องเดินตามหลัง เมื่อถึงที่ที่จะเผาแล้ว ซึ่งโดยมากจะเป็นริมฝั่งแม่น้ำหรือขอบสระ ปลงศพลง จัดหาฟืนมาทำกองฟอน เสร็จแล้วลูกชายคนโตจุดไฟ
MulticollaC
พราหมณ์เริ่มสาธยายมนต์ ญาติพี่น้องว่าตาม ซึ่งมีใจความสั้นๆ ว่า 

        “สรรพสัตว์ทั้งหลายที่อุบัติขึ้นในโลก ถูกตัณหาคือความโลภ ความโกรธ และความหลงครอบงำ ย่อมไม่รู้จักผิดและถูก แต่ทั้งๆ ไม่รู้ เขาก็ทำผิดและถูกได้ ถ้าหากว่า ผู้ตายนี้ได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ ก็ขอให้เขาพ้นจากกรรมนั้น ขอให้วิญญาณ จงล่องลอยไปสู่สุขาวดีแดนสวรรค์ เพราะบัดนี้เราทั้งหลาย ได้พร้อมกันมาเปลื้องบาปให้แล้ว” 

        การเผาเขาเรียก “ฑาหวิธี” ถ้าคนตายโหง ซึ่งชาวฮินดูเรียกว่า “อัปฆาต” และฆ่าตัวตายเรียกว่า “อาตมฆาต” พราหมณ์ไม่ต้องสาธยายมนต์ และญาติพี่น้องก็ไม่แจกทาน (สะปิณฑะ) ชาวฮินดูนิยมเผาศพเหมือนคนไทย เว้นเสียแต่ผู้ตายนั้นเป็น 

        สาธุ สัญญาสี คือ พระฮินดู ศพของพระทั้งหมดต้องฝังหรือก็ไม่ทิ้งลงแม่น้ำคงคา เหตุที่ไม่เผาเพราะพระเป็นผู้เสียสละทุกอย่างแล้ว ไม่มีเงินซื้อฟืน ไม่มีญาติพี่น้องมาจัดการ แจกทานหรือไว้ทุกข์ และเห็นว่าพระเป็นผู้มีความประพฤติดี มีศีล มีธรรม ถึงจะเผาหรือไม่เผาก็ได้ไปเกิดบนสวรรค์ 

        คนจน ซึ่งไม่มีเงินทองจะซื้อฟืน ไม่มีของให้ทาน ถูกทอดทิ้งให้ตายไปอย่างไม่มีความหมาย เมื่อใครพบเข้าก็ช่วยกันจัดการให้โยนลงแม่น้ำให้เป็นภักษาหารของปลาและเต่า แต่บัดนี้รัฐบาลได้ช่วยเป็นธุระในการเผา คือถ้าหากผู้ใดไม่สามารถจะหาฟืนเผาได้ ก็ให้มีหนังสือด่วนถึงเจ้าหน้าที่รัฐบาล เพื่อของบประมาณในการนี้ รัฐบาลจะอนุมัติเงินก้อนหนึ่ง เพื่อจัดการเผาทันทีโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น 

        เด็กอายุต่ำกว่าห้าปี ใช้วิธีฝังอย่างเดียว 

        เมื่อเผาเสร็จแล้วก็กลับสู่บ้าน มีการไว้ทุกข์กันประมาณ 15 วันหรือมากกว่านั้น การไว้ทุกข์ก็คือการอดอาหาร เก็บตัวอยู่ในบ้าน เมื่อถึงวันที่ 11 นับจากวันตายมาจะมีการแจกทานแก่คนจนและพราหมณ์อีกครั้งหนึ่ง วันรุ่งขึ้นคือวันที่ 12 ตอนเย็นมีการกินเลี้ยงกันใหญ่โตตามฐานะ ญาติพี่น้องหรือชาวบ้านต้องส่งคนมาร่วมในการกินเลี้ยง หลังจากนั้นเป็นเสร็จพิธี 


ขอบคุณข้อมูลจาก:horoscope.thaiza

โพสต์โดย : monnyboy