Social :



@เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง ชัยภูมิ

10 ธ.ค. 60 18:12
@เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง ชัยภูมิ

@เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง ชัยภูมิ

     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว  อยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว 3 อำเภอคือ อำเภอภูเขียว อำเภอคอนสาร และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ และเป็นส่วนหนึ่ง ของผืนป่าอีสานตะวันตก เชื่อมรวมเป็นผืนป่าเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 3 แห่ง และอุทยานแห่งชาติอีก 4 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง , อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน , อุทยานแห่งชาติภูกระดึง , อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และอุทยานแห่งชาติตาดหมอก โดยดูแลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและ การขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้นโดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติสามารถ สืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติ อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวยังถือว่าเป็นแหล่งเป็น"แหล่งศึกษาธรรมชาติ" เช่น ดูนก ดูผีเสื้อ หรือเดินป่า

แหล่งศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจ
ทุ่งกะมัง 
     เป็นที่ราบทุ่งหญ้ากว้างใหญ่กลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ลักษณะคล้ายแอ่งกะละมังอยู่กลางผืนป่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ทุ่งกะละมัง หรือ ทุ่งกะมัง  เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงต้องการให้มีการอนุรักษ์สัตว์ป่า และนำสัตว์ป่ากลับคืนถิ่น เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่าง ๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผา แปลงทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนือ อ่างน้ำ จนเกิดวลีหนึ่งที่ว่า  “ภูเขียว บรมโพธิสมภารของสัตว์ป่า”  ทุ่งกะมังถือเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเหล่าเก้งกวาง และสัตว์ป่านานาชนิด มีการนำเอาดินโป่ง มาใส่ไว้เป็นจุดๆ เพื่อให้สัตว์ป่าได้มากิน   จึงทำให้เราสามารถพบเห็น เหล่าบรรดาเนื้อทราย เก้ง กระจง ออกมาหา อาหารโดยเฉพาะในช่วงบ่ายจะพบเห็นได้มากที่สุด  ในบางครั้งทุ่งหญ้าบริเวณนี้จะมีการเผาทั้งเกิดจากไฟป่าตามธรรมชาติ หรือ ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการแตกยอดใหม่ของต้นหญ้า เป็นแหล่งอาหารให้เหล่าสัตว์ป่าเรื่อยไป เรียกวิธีนี้ว่า “ระบัด” 

แหล่งดูนก
     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียวมีความแตกต่างจากแหล่งดูนกแห่งอื่นๆ ในภาคอีสาน คือมีแหล่งน้ำขนาดเล็กและใหญ่กระจายอยูเกือบทุกพื้นที่ ทั้งกลางทุ่งหญ้ากว้าง ตามชายป่า และในป่าลึก ที่นี่จึงสามารถพบนกได้หลากหลายประเภท ทั้งนกน้ำ นกทุ่ง และนกป่า ในส่วนของนกน้ำ นอกจากเป็ดแดง นกเป็ดผีเล็ก นกกวัก และนกอีล้ำ ยังพบนกน้ำขนาดใหญ่ เช่น นกกระทุง นกอ้ายงั่ว รวมทั้งนกชนิดที่หายากอย่างเช่น นกกระสาดำ จุดเด่นอีกอย่างหนึงของภูเขียวคือ เป็นจุดที่สามารถพบเห็นนกป่า ซึงพบได้มากทั้งชนิดและจำนวน เช่น นกกระทาดงอกสีน้ำตาล นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำตาล ขณะที่อีกหลายชนิดมีความสำคัญและถูกจัดให้เป็นนกเฉพาะถิ่นในระดับภูมิภาค ซึ่งมีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์อยู่เพียงไม่กี่ประเทศในโลก นั่นคือ ไก่ฟ้าพญาลอ นกโกโรโกโสช่วงเวลาที่ดีและมีจำนวน ชนิดของนกให้ดูมาก ที่สุดคือช่วงฤดูหนาว



จุดชมวิวปางม่วง
     ตั้งอยู่ก่อนเข้าด่านเก็บเงินของเขตฯ ถือเป็นจุดชมวิวที่งดงามเห็นทิวทัศน์ของป่าอันเขียวขจีรวมถึงบางวันก็จะได้เห็นทะเลหมอก มีทิวทัศน์ที่เห็นเบื้องหน้าประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อย ใหญ่กว้างไกลสุดสายตา จากป้ายสื่อความหมายเบื้องหน้าทำให้ทราบว่า ภูเขาสูงยอดตัดที่สูงกว่าลูกอื่นๆ นั้น คือ ภูผาจิต ถัดมาทางขวาตรงที่เห็นเป็นร่องเขานั้น สุดปลายสายตาคือ ภูกระดึง 

ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว

จุดชมวิวปางม่วง

ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว

บรรยากาศเขียวขจีในหน้าฝนภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว

บ้านพักเรียบง่ายบรรยกาศดี

ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว

อาคารรับรองสำหรับรับประทานอาหารและทำกิจกรรม

ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว
ลานกางเต้นท์
ทุ่งกะมัง ภูเขียว ทุ่งกะมัง ภูเขียว

แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ

ลำน้ำพรม
     ไหลคดเคี้ยวอยู่ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวทางด้านเหนือด้านทิศตะวันออกมีลำห้วยดาดหรือลำโดกเป็นห้วยสายหลักที่ทำให้น้ำพรม ตอนล่างจากเขื่อนจุฬาภรณ์ซึ่งผันน้ำลำน้ำพรมเดิมไป ผลิตกระแสไฟฟ้า ไหลออกสู่พื้นที่บริเวณลำสุ มีน้ำไหลตลอดปี บนลำน้ำพรม มีลานจันทร์ซึ่งประกอบด้วยลานหิน วังน้ำลึกที่คดเคี้ยว ดูสงบ ร่มรื่น

MulticollaC


ลานจันทร์และตาดหินแดง
     ลานจันทร์มีลักษณะเป็นลานหินกว้างในลำน้ำพรม มีน้ำไหลผ่านตลอดปี เป็นบริเวณร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่น้อยเพราะมีป่าดิบขึ้นอยู่รอบ ๆ มีพวกมอส เฟิร์น หวาย พลู และว่านต่าง ๆ หลายชนิด ถ้าเดินเรียบไปตามลำน้ำจะพบหินสีแดง ซึ่งเป็นบริเวณที่เรียกว่า ตาดหินแดง ทั้งลานจันทร์และตาดหินแดง เหมาะสำหรับพักผ่อนร่มรื่นและสวยงาม

บึงแปน
     มีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 900 เมตร สภาพภูมิประเทศทุ่งหญ้าคล้ายทุ่งกะมัง แต่มีลักษณะเป็นทุ่งราบเรียบ และอยู่ในที่ลุ่มต่ำมีน้ำเจิ่งนองในฤดูฝน ในฤดูแล้งมีหนองน้ำอยู่กลางทุ่ง บึงแปนตั้งอยู่กลางพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าภูเขียวค่อนไปทาง ตะวันตกเฉียงใต้ เป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าชุกชุม สังเกตได้จากมีร่องรอยด่านสัตว์มากมาย

น้ำตกตาดคร้อ
     เป็นน้ำตกสูงใหญ่อยู่ทางทิศใต้ของทุ่งกะมัง ใกล้กับศูนย์พิทักษ์ป่าภูเขียวที่อำเภอหนองบัวแดง น้ำจากน้ำตกจะไหลลงสู่ลำน้ำสะพุง
น้ำตกห้วยหวายอยู่ห่างจากบึงแปน 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตก 3 ชั้น สูงชั้นละ 20 เมตร ตรงบริเวณช่องเขาขาด อยู่ระหว่างเขาภูน้อย และเขาภูเขียวใหญ่

น้ำตกนาคราช
     อยู่ระหว่างทางจากศาลาพรมไปทุ่งกะมัง บริเวณกิโลเมตรที่ 11 เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางในป่าอีก 300 เมตร ความกว้างของน้ำตกนาคราช ประมาณ 5 เมตร มีความสูงต่างระดับถึง 3 ชั้น ชั้นแรกสูง 14 เมตร ชั้นที่ 2 สูง 10 เมตร ชั้นที่ 3 สูง 6 เมตร บริเวณน้ำตกมี ว่านพญานาคราช ขึ้นอยู่จำนวนมากจึงตั้งชื่อว่า “น้ำตกนาคราช”

ผาเทวดา
     เป็นภูเขาหลายเทือกติดต่อกัน ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ยอดผาสูงประมาณ 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทางทิศตะวันตกและ ทิศตะวันออกเป็นเทือกเขายาว หินผาเทวดามีสีขาวคล้ายหินปูน มีน้ำไหลผ่านเรียกว่า “ชีผุด” เป็นต้นน้ำของแม่น้ำชี มีความกว้างประมาณ 10-15 เมตร ไหลทะลุออกมาทางทิศใต้ของเขาเทวดาแล้วไหลลงชีใหญ่ที่บ้านโหล่น ลำชีจะไหลจากเหนือไปใต้ สองข้างฝั่งมีลักษณะ เป็นหินกรวดก้อนเล็ก ๆ ชีผุดมีน้ำที่ใสมากถึงประมาณ 1 เมตร สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้แก่ กระทิง หมี เม่น กวาง และช้างป่า ตรงหุบเหวและเทือกเขาเทวดาเป็นป่าค่อนข้างแน่นทึบเรียกว่า ป่าครอบ มีลำชีไหลผ่านกลางป่าและมุดเข้าไปในเชิงเขา เรียกว่าชีดั้นและ ชีผุดมีถึง 3 ชั้น ชีดั้นแห่งแรกคือ เขาถ้ำครอบ ลำน้ำไหลหายเข้าไปในถ้ำประมาณ 500 เมตร แล้วผุดออกไปประมาณ 300 เมตร จึงหาย เข้าไปในเขาไกลถึง 8 กิโลเมตร สุดท้ายหายเข้าไปในเขาไกลอีก 1 กิโลเมตร จึงผุดออกมาที่ทับกกเดื่อซึ่งอยู่ห่างจากบ้านโหล่น ประมาณ 10 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นตะเคียน ยาง พะยอม ไผ่ ไม้พื้นล่างมี หวาย ตาว สัตว์ป่า เช่น ช้าง หมี เสือ กวาง เม่น และมีนกกาฮัง อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในบริเวณป่าครอบนี้มีน้ำตก 7 ชั้นอยู่บนเทือกเขาเทวดา เป็นน้ำตกหินปูนสีขาวไหลลาดลงตาม ทางยาวแต่ละชั้น สูง 15-20 เมตร รวมทั้งสิ้นสูงประมาณ 200 เมตร กว้างประมาณ 20-25 เมตร

     การติดต่อจองบ้านพักต้องโทรมาติดต่อกับเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯจากนั้นทำหนังสือขออนุญาตล่วงหน้า 15–30 วัน  โดยส่งไป ที่อีเมล์  [email protected]  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร 084 334 0043 บ้านพักของเป็นอาคารไม้ทั้งหมดมีพื้นที่ กางเต้นท์ไว้รองรับด้วย โดยราคาบ้านพักแล้วแต่นักท่องเที่ยวจะให้โดยให้ตามความเหมาะสมตามจำนวนคน ในส่วนของอาหาร ถ้าไม่ได้เตรียมมาเองมีบริการครัวสวัสดิการโดยต้องแจ้งล่วงหน้าตอนจองห้องพักทางแม่ครัวจะเตรียมรายการอาหาร ให้เองตามความเหมาะสม  ส่วนค่าอาหารนั้นคิดเป็นรายมื้อต่อหัว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีไฟฟ้าให้ใช้แค่เวลา 18.30 – 21.30 น. ควรเตรียมไฟฉายหรือแบตเตอรี่โทรศัพท์และกล้องมาให้พร้อม

บรรยากาศเขียวขจีในหน้าฝนภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

ภูเขียว ชัยภูมิ ภูเขียว ชัยภูมิ
ภูเขียว ชัยภูมิ ภูเขียว ชัยภูมิ

บ้านพักเรียบง่ายบรรยกาศดี

ภูเขียว ชัยภูมิ ภูเขียว ชัยภูมิ
ภูเขียว ชัยภูมิ ภูเขียว ชัยภูมิ
ภูเขียว ชัยภูมิ ภูเขียว ชัยภูมิ
ภูเขียว ชัยภูมิ ภูเขียว ชัยภูมิ

อาคารรับรองสำหรับรับประทานอาหารและทำกิจกรรม

ภูเขียว ชัยภูมิ ภูเขียว ชัยภูมิ
ลานกางเต้นท์
ภูเขียว ชัยภูมิ ภูเขียว ชัยภูมิ
1. เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว

ใช้เส้นทางถนนมิตรภาพ ไปจนถึงแยกสีคิ้ว เลี้ยวซ้ายเข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ และใช้ทางหลวงหมายเลข 201 ไปจนถึงอำเภอภูเขียวได้เลย หากต้องการเข้าชมเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ให้เลี้ยวซ้ายที่แยกหนองสองห้อง ไปตามทางหลวงหมายเลข 2055 มุ่งหน้าตามป้าย บอกทาง ไปเขื่อนจุฬาภรณ์ จะพบเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอยู่ทางซ้าย ประมาณกิโลเมตรที่ 24-25 ติดต่อกับเจ้าหน้าที่แลกบัตรที่ด่านตรวจ พร้อมทั้งเสียค่าธรรมเนียมการเข้าและต้องวิ่งรถเข้ามาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีกราว 24 กิโลเมตร เพื่อมายังที่ทำการเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง)


2.เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง

 ไม่ว่าจะเดินทางมาจากไหนให้ไปตั้งต้นที่สถานีขนส่งชุมแพ จ. ขอนแก่น ที่นั่นจะมีรถโดยสารประจำทางสายชุมแพ – เขื่อนจุฬาภรณ์ ถ้าจำไม่ผิดและยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รถจะมาวันละ 1 รอบเท่านั้นในช่วงเช้ามืด ถ้ากลัวพลาดแนะนำโทรไปสอบถามเวลารถออก กับสถานีขนส่งชุมแพโดยตรง นั่งมาลงยังป้ายหน้าทางเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และรออยู่กับเจ้าหน้าที่ตรงด่านตรวจเพื่อขอติดรถ เจ้าหน้าที่หรือนักท่องเที่ยวท่านอื่นๆเข้าไปยังที่ทำการด้านใน ซึ่งต้องวิ่งรถเข้าป่าไปอีก 24 กิโลเมตร

ขอบคุณข้อมูลจาก

paiduaykan.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ