Social :



“อัยการปรเมศวร์” ชี้ตร.ทางหลวง โบกสิบล้อ ชนท้ายรถฮาวา ผิดอาญาม.157

30 ม.ค. 61 23:01
“อัยการปรเมศวร์” ชี้ตร.ทางหลวง โบกสิบล้อ ชนท้ายรถฮาวา ผิดอาญาม.157

“อัยการปรเมศวร์” ชี้ตร.ทางหลวง โบกสิบล้อ ชนท้ายรถฮาวา ผิดอาญาม.157

“อัยการปรเมศวร์” ชี้ตร.ทางหลวง โบกสิบล้อ ชนท้ายรถฮาวา ผิดอาญาม.157






เมื่อเวลา 21.00 . วันที่ 30 มกราคม   นายปรเมศวร์ อินทร ชุมนุม รองอธิบดีอัยการ สำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับ ข้อกฎหมาย จากกรณีอุบัติเหตุ รถบรรทุกขับชน รถ . . อรวี ชูชื่น หรือฮาวา นักร้องนักดนตรีสาวจากเวทีดิเอ็กซ์แฟกเตอร์ ไปชนรถคันข้างหน้าได้รับบาดเจ็บจากที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงเข้ามาโบกรถกลางถนนว่า


หลายคนขอให้ผมวิเคราะห์เรื่องตำรวจทางหลวงสองนายออกมากลางถนนสาย 357 เพื่อโบกรถสิบล้อที่แล่นอยู่เลนขวาสุดหยุดรถ จนเป็นเหตุให้รถชนกันสามคัน น้องอรวีได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย ว่าตำรวจสองนายผิดหรือไม่ เพราะหลายคนเคยเจอมาด้วยตนเอง ชนิดที่ตำรวจวิ่งตัดหน้าเพื่อจับรถคันอื่น จนเกือบชนตำรวจอยู่บ่อยครั้ง เอาอย่างนี้ครับ ประการแรกภารกิจของตำรวจทางหลวงคืออะไร คำตอบ อำนวยความสะดวกในการใช้ถนนทางหลวงแผ่นดิน ป้องกันการกระทำความผิดของผู้ใช้ทางหลวง และสุดท้ายปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดทุกชนิดบนทางหลวง ถ้าจะไม่ให้สิบล้อทำผิดกฎหมายโดยวิ่งชิดซ้าย วิธีป้องกันคือตำรวจทางหลวงต้องไปอยู่ริบขวาของถนนเพื่อให้สิบล้อมองเห็น เขาจะได้หลบไปทางซ้าย ถ้าจะจับก็ไปรอโบกจับให้มันไกลไปอีกนิด และเวลาจะตั้งด่านตรวจก็เปิดไฟวาบบนหลังคาบอกชาวบ้านเขาหน่อยน่าจะดีกว่า แต่นี่กลับไปยืนกลางถนนที่ทำให้คนขับรถมองไม่เห็น ใช่ครับเป็นดุลยพินิจของตำรวจทางหลวงตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ศาลฎีกาเคยวางแนวไว้ว่า การใช้ดุลพินิจที่ไม่อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ

MulticollaC
จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

( คำพิพากษาฎีกาที่ 3509/2549 ) 


เมื่อกลับมาพิจารณากรณีตำรวจทางหลวงในเรื่องนี้ เห็นว่าการตั้งจุดตรวจหรือตั้งด่านลอย และเดินไปกลางถนนราวกับเป็นเจ้าของถนน ย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนได้โดยง่าย ทั้งยังเป็นการประมาทปราศจากความระมัดระวัง จึงฟันธงลงไปเลยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเมื่อเกิดเหตุจนทำให้ น้องนักร้องอรวี ได้รับบาดเจ็บก็เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้อื่นได้รับบาดเจ็บ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ด้วยอีกฐานหนึ่ง และเมื่อปรากฏว่าน้องอรวีไปแจ้งความว่ามีตำรวจอยู่บนถนนที่เป็นต้นเหตุแห่งความเสียหาย แต่ร้อยเวรที่รับแจ้งกลับไม่ยอมจดแจ้งให้ตามที่ผู้เสียหายแจ้ง เพราะได้รับการขอร้องจากตำรวจทางหลวงทั้งนายตามข่าว ร้อยเวรก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(2) ฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำเอกสาร ละเว้นไม่จดแจ้งข้อความที่ตนมีหน้าที่ต้องรับจด หรือจดเปลี่ยนแปลงข้อความ  


ส่วนคนที่ขอร้องไม่ให้จดว่ามีตำรวจเกี่ยวข้อง มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน นี่ความรับผิดทางอาญา ส่วนความรับผิดทางแพ่งทั้งสองนายและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องรับผิดในความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้โดยไม่ต้องฟ้องตำรวจทั้งสองก็ได้ครับ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปว่ากล่าวกันเอาเอง ครับ ว่าที่จริงน่าเอาไปออกข้อสอบอัยการดีมั๊ยเนี่ย จะสอบเสาร์นี้กันอยู่แล้ว





ที่มา//มติชน


โพสต์โดย : AEK LIGOR