Social :



กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบระวัง โรคราแป้ง และหนอนเจาะสมอฝ้าย

13 ก.พ. 61 14:02
กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบระวัง โรคราแป้ง และหนอนเจาะสมอฝ้าย

กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบระวัง โรคราแป้ง และหนอนเจาะสมอฝ้าย

กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบระวัง โรคราแป้ง และหนอนเจาะสมอฝ้าย



ระยะนี้อุณหภูมิลดต่ำลง และมีน้ำค้างในตอนเช้าอาจส่งผลกระทบต่อการปลูกกุหลาบ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบเฝ้าระวังการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช คือ โรคราแป้ง และหนอนเจาะสมอฝ้าย สามารถพบได้ในระยะที่กุหลาบออกดอก สำหรับโรคราแป้ง จะพบแสดงอาการเริ่มแรกบนผิวใบเกิดแผลจุดสีแดง ต่อมาจะพบเชื้อรามีลักษณะคล้ายผงแป้งเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ทั้งด้านบนใบและใต้ใบ หากรุนแรง จะพบผงสีขาวบนก้านใบ กิ่ง ดอก ก้านดอก ใบอ่อน กลีบเลี้ยง กลีบดอก และลำต้น ทำให้บิดเบี้ยวเสียรูปร่าง ใบจะเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แห้งกรอบ และร่วงในที่สุด
 
     เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูก กำจัดวัชพืช ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไพราโซฟอส 29.4% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 6-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารกลุ่มซัลเฟอร์ เพราะอาจทำให้กุหลาบเกิดอาการไหม้ได้

Lif
 
     ส่วนหนอนเจาะสมอฝ้ายในกุหลาบ มักพบหนอนเข้าทำลายกุหลาบด้วยการเจาะเข้าไปกัดกินภายในดอก เกษตรกรควรใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น สารสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอแรนทรานิลิโพรล/ไทอะมีทอกแซม 20% / 20% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไบเฟนทริน 2.5% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

// kasetthainews

โพสต์โดย : JINNY LATTE