Social :



ฉลองวันแรงงาน สรุปมีหนี้ท่วมหัว กันทุกคน...

30 เม.ย. 59 11:13
ฉลองวันแรงงาน สรุปมีหนี้ท่วมหัว กันทุกคน...

ฉลองวันแรงงาน สรุปมีหนี้ท่วมหัว กันทุกคน...

แรงงานไทยมีภาวะหนี้สิน เป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 8 ปี


นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจแรงงานไทยกรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท พบว่าร้อยละ 95.9 ของแรงงานไทยมีหนี้ ภาระหนี้ครัวเรือนภาคแรงงานไทยสูงสุดในรอบ 8 ปี อยู่ที่ 119,061.74 บาท เป็นหนี้ในระบบร้อยละ 39.38 หนี้นอกระบบร้อยละ 60.62 สูงสุดเท่าที่เคยมี อัตราผ่อนชำระเฉลี่ยต่อเดือน 8,114.31 บาท แบ่งเป็นชำระหนี้ในระบบ 5,889.53 บาท หนี้นอกระบบ 9,657.78 บาท ถือว่าสูงสุดที่เคยมี



สำหรับวัตถุประสงค์การกู้อันดับแรก คือ เพื่อใช้จ่ายประจำวัน รองลงมาซื้อบ้านและซื้อรถยนต์ โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเคยประสบปัญหาผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 83.5 สาเหตุเงินไม่พอจ่าย เจ็บป่วย และหมุนเงินไม่ทัน ตามลำดับ ภาวะหนี้ในปัจจุบันส่งผลกระทบทำให้การใช้จ่ายลดลงร้อยละ 52.7 คาดว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะมีการใช้จ่ายลดลงร้อยละ 11.5

ส่วนพฤติกรรมการใช้จ่ายของแรงงานไทย มีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ร้อยละ 42.5
MulticollaC
กิจกรรมในช่วงวันหยุดแรงงาน คาดจะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมเฉลี่ยคนละ 1,208.31 บาท อันดับแรก สังสรรค์ รองลงมาท่องเที่ยว และกลับบ้านต่างจังหวัด ภาพรวมส่วนใหญ่ใช้จ่ายลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ยกเว้นการสังสรรค์ที่มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มแรงงานคาดว่าบรรยากาศปีนี้จะคึกคักพอๆ กับปีที่ผ่านมา


ทั้งนี้ แรงงานร้อยละ 95.7 เห็นว่าควรมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิม 300 บาท/วัน เป็น 356.76 บาท/วัน เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพตามกลไกตลาดที่แท้จริง หากไม่สามารถปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำได้ ควรจะมีการปรับค่าสาธารณูปโภค ค่าอาหาร และค่าเดินทาง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่เห็นว่าไม่ควรให้ปรับราคาสินค้าขึ้นตามค่าแรงขั้นต่ำ พร้อมมองว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญกับค่าแรง นโยบายโดยรวมช่วยเหลือแรงงาน ส่งเสริมฝีมือแรงงาน และการประกันสังคม

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำถึงร้อยละ 71.4 เนื่องจากต้นทุนปัจจุบันสูง ยอดขายตกต่ำ และเศรษฐกิจไม่ดี ถ้าจำเป็นต้องปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ มองว่ารัฐบาลควรค่อยๆ ดำเนินการแยกปรับตามพื้นที่และทักษะแรงงาน โดยผู้ประกอบการมองว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 310.68 บาท และถ้ามีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ผู้ประกอบการจะปรับตัวโดยการเพิ่มราคาสินค้าร้อยละ 32.6 ลดแรงงานร้อยละ 26.1 จ้างแรงงานต่างด้าวร้อยละ 20.2 ด้านการเก็บออมของแรงงานในปัจจุบันร้อยละ 60.6 ไม่มีการออม ออมเฉลี่ย 730 บาท/เดือน หรือเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5.9 ของรายได้




โพสต์โดย : อาจารย์ตาใส

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด