Social :



นายกฯ ชี้มีเวลาถึง 12 เม.ย.นี้ หากจะยื่นตีความกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.

28 มี.ค. 61 06:00
นายกฯ ชี้มีเวลาถึง 12 เม.ย.นี้ หากจะยื่นตีความกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.

นายกฯ ชี้มีเวลาถึง 12 เม.ย.นี้ หากจะยื่นตีความกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.

นายกฯ ชี้มีเวลาถึง 12 เม.ย.นี้ 
หากจะยื่นตีความกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวที่ทำเนียบรัฐบาล หลังประชุมครม.วานนี้ (27 มี.ค. 61) ถึงร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. /พ.ร.ป.ส.ส. ว่า รัฐบาลได้รับร่างดังกล่าวแล้ว และยังมีเวลาในการพิจารณาก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ในวันที่ 12 เมษายน นี้

จึงให้ฝ่ายกฎหมายตรวจสอบร่าง พ.ร.ป.ส.ส. อีกครั้งว่า ควรจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่ แต่ยืนยันว่ากำหนดการเลือกตั้งยังอยู่ในโรดแมป

ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมามีการแสดงความเห็นของแต่ละฝ่ายที่อาจจะเจตนาดี หวังว่าจะเร็วขึ้นตามที่กระแสสังคมต้องการ แต่เมื่อเกิดปัญหามาก ๆ ส่วนตัวก็ไม่อยากนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพราะไม่อยากให้มีปัญหาในขั้นตอนนั้น

ด้านนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. กล่าวถึงกระแสข่าวว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เตรียมส่งร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับการให้บุคคลอื่นหรือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งช่วยเหลือผู้พิการลงคะแนน และการตัดสิทธิทางการเมืองของผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งว่า


ขณะนี้ร่างกฎหมายลูกว่าด้วย ส.ส. ยังอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กำหนดกรอบเวลาไว้ว่าหากนายกรัฐมนตรี ยังไม่นำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีก็ยังสามารถส่งร่างกฎหมายไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้นับตั้งแต่วันแรกที่นายกรัฐมนตรีรับร่างกฎหมายไว้ แต่รัฐธรรมนูญกำหนดให้พักร่างกฎหมายไว้ 5 วัน เพื่อรอว่ารัฐสภาจะส่งความเห็นให้ยื่นตีความหรือไม่
Lif
เพื่อความรอบคอบและไม่ให้ฝ่ายบริหารรีบเร่งส่งร่างกฎหมาย

แต่หลังจากนั้นอยู่ในกรอบเวลา 20 วัน ว่านายกรัฐมนตรีจะนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ หรือไม่ หากสมาชิก สนช. ติดใจ ก็สามารถยื่นเรื่องให้นายกรัฐมนตรีส่งร่างกฎหมายให้ศาลวินิจฉัยได้ ตราบใดที่นายกรัฐมนตรียังไม่ส่งร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ โดยไม่ต้องผ่านประธาน สนช. ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญรับตีความแล้วนั้นจะไม่มีการนับเวลา

ส่วนข้อกังวลว่า หากมีการยื่นให้ศาลตีความร่างกฎหมายลูกว่าด้วย ส.ส. จะกระทบต่อโรดแมปการเลือกตั้งหรือไม่นั้น นายมีชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวต้องสอบถามจากนายกรัฐมนตรีโดยตรง ส่วนตัวเห็นว่า ไม่น่าจะกระทบต่อโรคแมปเลือกตั้ง เพราะอาจขอร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เร็วขึ้น ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องยืดระยะเวลาประกาศใช้กฎหมายออกไป และหาก กกต.มีความพร้อมจัดการเลือกตั้งก็สามารถจัดการเลือกตั้งได้ภายใน 90 วัน ไม่จำเป็นต้องจัดเลือกภายใน 150 วัน หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้

ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นความจำเป็นของบ้านเมืองอาจจะสามารถร้องขอกันได้ แต่ขณะนี้ ตนไม่ทราบว่า นายกรัฐมนตรีได้นำร่างกฎหมายลูกว่าด้วยด้วย ส.ส. ขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้วหรือยัง

เมื่อถามต่อเรื่องที่ คสช. ใช้ มาตรา 44 ในการปลด รศ.สมชัย  ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ว่าเป็นการแทรกแซงองค์กรอิสระหรือไม่ และเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ตนไม่สามารถตอบเรื่องนี้ได้ ต้องดูเหตุผลของผู้ใช้ ม.44 ซึ่งตนเองไม่ใช่เป็นคนชี้ขาด และเวลาใช้ ม.44 ก็ต้องใช้ตามกรอบของกฎหมายอยู่แล้ว ทั้งนี้นายมีชัยยังยืนยันว่า กรธ. ไม่ได้เป็นผู้เสนอเรื่องนี้






ขอขอบคุณที่มา:news.sanook.com

โพสต์โดย : Wizz

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด