Social :



รู้หรือไม่! โบราณจารย์เล่าที่มาคำว่า "แพะรับบาป"

08 เม.ย. 61 08:04
รู้หรือไม่! โบราณจารย์เล่าที่มาคำว่า "แพะรับบาป"

รู้หรือไม่! โบราณจารย์เล่าที่มาคำว่า "แพะรับบาป"

คำว่าแพะรับบาป ที่คุ้นหูจากสื่อทุกวันนี้มีที่มาอย่างไร ทำไมต้องใช้แพะรับบาป เป็นความเชื่อหรือว่าความจริงที่แพะมีคุณสมบัติรับบาปแทนคนได้ คนโบราณมีพิธีกรรมสอนคนทำชั่วแล้วมีวิธีเลี่ยงบาปให้แพะรับแทนได้จริงหรือไม่บทความนี้ Horoscope thaiza จะแนะนำลองอ่าน

     แพะรับบาป คือสำนวนไทยแปลความว่าผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิด แต่ต้องเป็นผู้รับโทษแทนผู้อื่นทำไว้ ความจริงมีพิธีกรรมจากชาวยิวที่มีวันลบบาป ผู้ที่มีบาปจะทำพิธียกบาปแก่แพะและไล่เข้าป่าไปบาปกับแพะจะหายเข้าป่า จนเป็นที่มาคำว่าแพะรับบาป

     ความเชื่อชาวฮินดูจะฆ่าแพะบูชายันต์เพราะ เชื่อว่าแพะเป็นสัตว์ที่สะอาดบริสุทธิ์ เนื้อแพะสิ่งที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำไปบูชายันต์ ดังนั้นทุกครั้งที่มีพิธีกรรมบูชายันต์แพะจะเป็นสัตว์ที่โดนเลือกตั้งแต่ครั้งนั้นมา



     มีการบันทึกจากชาวยุโรปโบราณว่า กลุ่มคนเลี้ยงแกะจะนำแพะร่วมไปกับฝูงแกะ ครั้งมีสุนัขจิ้งจอกมาจับแกะกิน แพะจะตกใจข้อกระดูกจะไม่ขยับหนีไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องกลายเป็นอาหารแทนแกะ แพะต้องรับบาปแทน

     สมัยพุทธกาลมีการขานต่อกันว่า
Lif
พระเจ้าพรหมทัตจะทำบุญอุทิศแก่ผู้ตาย สั่งให้พราหมณ์นำแพะมาทำความสะอาดก่อนฆ่า แพะทราบชะตากรรมก็ร้องออกมา ชาติก่อนตนก็เคยเกิดเป็นพราหมณ์ เคยฆ่าแพะ กรรมเก่าต้องโดนฆ่าห้าร้อยชาติ ตอนนี้ตนใกล้หมดกรรมแล้ว กรรมจะตกแก่ผู้ฆ่า พราหมณ์กลัวบาปได้ปล่อยแพะไป ไม่นานเกิดฟ้าผ่าแผ่นหินตกมาตัดคอแพะ ในที่สุดแพะก็สิ้นกรรม พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการห้ามนำเนื้อสัตว์มาทำบุญอุทิศแก่ผู้ตาย



     สมัยก่อนมีการนำเนื้อแพะมาใช้ในพิธีกรรมเพราะเนื้อแพะมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง เมื่อทำพิธีเสร็จ เชื่อว่าผู้ร่วมพิธีจะได้ร่วมกันรับประทานเนื้อแพะที่เข้าพิธีกรรม ฤาเพราะเหตุที่แพะเป็นสัตว์ที่คนโบราณนำมาใช้เจ้าพิธีเครื่องสังเวยประจำ คนไทยเลยนำมาเป็นวลีว่าแพะรับบาปแทนความหมาย แทนผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิด แต่ต้องเป็นผู้รับโทษแทนผู้อื่นทำไว้

     ตามกฎแห่งกรรมพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ผู้ใดทำความชั่วผู้นั้นต้องรับกรรมไม่มีการให้สัตว์อื่นรับกรรมแทน ผู้ที่ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว



ขอบคุณข้อมูลจาก:horoscope.thaiza

โพสต์โดย : monnyboy