Social :



'เศรษฐกิจชะลอตัวและสังคมสูงวัย' ต้นเหตุ 'ไทย' เป็นเหมือน 'ญี่ปุ่น'

10 เม.ย. 61 06:00
'เศรษฐกิจชะลอตัวและสังคมสูงวัย' ต้นเหตุ 'ไทย' เป็นเหมือน 'ญี่ปุ่น'

'เศรษฐกิจชะลอตัวและสังคมสูงวัย' ต้นเหตุ 'ไทย' เป็นเหมือน 'ญี่ปุ่น'

'เศรษฐกิจชะลอตัวและสังคมสูงวัย' ต้นเหตุ
 'ไทย' เป็นเหมือน 'ญี่ปุ่น'


ในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจในปีที่แล้วขยายตัวสูงถึง 4% เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี

นิตยสารการเมืองและเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง 'The Economist' ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยว่า 'กำลังจะกลายเป็นเหมือนประเทศญี่ปุ่น' ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากไทยมีอัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำ การลงทุนภาคเอกชนต่ำมาก และเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องหลายปี

โดยนักวิเคราะห์มองว่าอาการทั้งหมดนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเดียวกับญี่ปุ่น โดยไทยมีโครงสร้างประชากรแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นเคยมีเมื่อ 5 ปีที่แล้ว มีประชากรสูงวัยมากขึ้นเรื่อย ๆ และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยอมรับเองว่าภายในปี 2565 ไทยจะกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกในโลกที่กลายเป็นสังคมสูงวัย โดยประชากรกว่าร้อยละ 14 มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือเกือบ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งประเทศซึ่งหมายความว่าไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงวัยมากกว่าจีนเสียอีก นอกจากนั้น ประชากรในวัยแรงงานจะลดน้อยลง ทำให้รัฐต้องแบกรับภาระมากขึ้นในการจัดหาสวัสดิการเพื่อมารองรับประชากรสูงอายุ

และสิ่งที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า คือ ไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ “ก่อนที่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว” ซึ่งความหมายคือ ประเทศยังไม่ทันพัฒนาก็เต็มไปด้วยผู้สูงอายุแล้ว แตกต่างจากญี่ปุ่นที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วก่อนที่จะเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งประเด็นนี้จะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตคนกลุ่มนี้ในอนาคต เพราะโครงสร้างพื้นฐานหลักรวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ยังไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยเท่าใดนัก

ด้วยเหตุนี้ The Economist
MulticollaC
จึงระบุว่าถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ไทยจะต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้แรงงานที่จะมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ สามารถตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในประเทศได้ และทำให้ประเทศมีรายได้มากพอที่จะนำภาษีมาจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้สูงวัยเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม The Economist กลับแสดงความผิดหวังที่ไทยยังคงมีนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ไม่ต่างกับที่ญี่ปุ่นเคยทำผิดพลาดมาแล้ว นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 ธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ย และมีการเสนอให้ขึ้นดอกเบี้ยด้วยซ้ำ เพื่อไม่ให้ประชาชนเคยชินกับการปล่อยเงินกู้ง่ายดายเกินไป ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ ธปท. ที่ก่อตั้งขึ้นมาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยยุคนั้นเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรงจนทำให้กลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นผลให้ ธปท.เลือกดำเนินนโยบายอนุรักษนิยมทางการเงิน ให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคาและค่าเงินเป็นหลัก

อีกประเด็นที่ไทยกำลังก้าวเข้าใกล้ญี่ปุ่นมากขึ้นทุกที และไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก นั่นก็คือการไม่อดทนต่อผู้อพยพเข้ามาในประเทศ โดยในปีที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่งออกกฎหมายควบคุมแรงงานต่างด้าว โดยมองว่าคนเหล่านี้เข้ามาแย่งงานคนในประเทศ ทั้งที่นี่คือพลังที่จะเข้ามาเป็นฐานการผลิต แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนจากภาวะสังคมผู้สูงวัย

ในขณะที่ไทยยังหวังที่จะพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา รายได้จากนักท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นถึง 11.7% สามารถชดเชยกับความต้องการในประเทศที่ถดถอยได้ แต่โดยรวมแล้ว The Economist ยังมองว่าอนาคตเศรษฐกิจไทยจะไม่สดใสนัก

จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ และเพิ่มการลงทุนในโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และลดการพึ่งพารายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักของประเทศอยู่ในเวลานี้ 

รวมไปถึงเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากภาวะสังคมผู้สูงวัยและปัญหาการแย่งอาชีพจากแรงงานต่างด้าวที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในขณะนี้





ขอขอบคุณที่มา:www.sanook.com

โพสต์โดย : Wizz

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด