Social :



การรถไฟฯ ระบุเสี่ยงหยุดวิ่ง หากมีพนักงานไม่เพียงพอ

13 เม.ย. 61 06:00
การรถไฟฯ ระบุเสี่ยงหยุดวิ่ง หากมีพนักงานไม่เพียงพอ

การรถไฟฯ ระบุเสี่ยงหยุดวิ่ง หากมีพนักงานไม่เพียงพอ

การรถไฟฯ ระบุเสี่ยงหยุดวิ่ง หากมีพนักงานไม่เพียงพอ


การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจงเหตุปล่อยพนักงานขาดแคลน ควงกะทำงาน 24 ชั่วโมง เผยมีแผนเพิ่มพนักงานรองรับรถไฟทางคู่ เล็งชงครม.ปลดล็อกจำกัดรับพนักงาน

จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าว การรถไฟแห่งประเทศไทย ปล่อยให้ขาดแคลนอัตรากำลัง จนมีพนักงานไม่เพียงพอ ทำงานควงกะ 24 ชั่วโมง อาจส่งผลต่อความปลอดภัยในการเดินรถนั้น 

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า การรถไฟฯ คำนึงถึงความปลอดภัยในการให้บริการเป็นอันดับแรก ซึ่งปัจจุบันมีอัตรากำลังพนักงานและลูกจ้าง รวม 14,220 อัตรา สามารถให้บริการเดินขบวนรถโดยสารวันละ 234 ขบวน และขบวนรถสินค้าอีกวันละ 40 ขบวน ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม พนักงานบางส่วน โดยเฉพาะพนักงานด้านปฏิบัติการมีจำนวนน้อยกว่ากรอบอัตรากำลังของการรถไฟฯ ทำให้ต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาและวันหยุด โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 6 วัน มีค่าล่วงเวลาและค่าทำงานวันหยุดคิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าจ้าง

ทั้งนี้ การรถไฟฯ มีแผนจะเพิ่มจำนวนขบวนรถ เมื่อทางคู่ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ จากเดิมวันละ 274 ขบวน เป็นวันละ 389 ขบวน โดยจะต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 16,660 คน และเมื่อทางคู่ระยะที่ 2 บวกกับทางสายใหม่แล้วเสร็จ จะมีการเดินขบวนรถเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 720 ขบวน และต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 19,260
MulticollaC
คน

ขณะที่ นางสิริมา หิรัญเจริญเวช รองผู้ว่าการ กลุ่มยุทธศาสตร์ รฟท. กล่าวว่า ปัจจุบันการที่พนักงานต้องทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 12 ชั่วโมง ทำให้ รฟท. มีค่าใช้จ่ายโอทีสูงถึงร้อยละ 25 หรือปีละ 750 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเงินเดือนพนักงานทั้งองค์กรปีละ 3,000 ล้านบาท หากรับพนักงานใหม่ได้ รฟท. จะประหยัดงบโอทีได้ปีละ 750 ล้านบาทด้วย

“หากรถไฟทางคู่เฟส 1 สร้างเสร็จในปี 2565 รฟท. ยังรับพนักงานใหม่ไม่ได้ อาจจะจำเป็นต้องพิจารณาปิดเส้นทางเดินรถบางเส้นทาง เพราะหากมีพนักงานดูแลไม่เพียงพอ อาจทำให้การเดินรถเกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจนส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร” นางสิริมา กล่าว

ดังนั้น เพื่อให้มีจำนวนพนักงานเพียงพอต่อการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ การรถไฟฯ ได้เสนอกระทรวงคมนาคมขออนุมัติยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2541 เรื่องการรับพนักงานได้เพียงร้อยละ 5 ของจำนวนผู้เกษียณอายุ

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคม กำลังพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มอัตรากำลังให้กับการรถไฟฯ ให้เพียงต่อการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป





ขอขอบคุณที่มา:www.sanook.com

โพสต์โดย : Wizz

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด