Social :



ทำไมคนโบราณชอบพูดคำนี้..."ฟาดเคราะห์"

18 เม.ย. 61 06:04
ทำไมคนโบราณชอบพูดคำนี้..."ฟาดเคราะห์"

ทำไมคนโบราณชอบพูดคำนี้..."ฟาดเคราะห์"

 เวลาที่คุณประสบสิ่งที่ร้าย ๆ เป็นต้นว่าเสียทรัพย์ ประสบอุบัติเหตุ คนโบราณชอบพูดว่าช่างมันคิดว่าฟาดเคราะห์ไปก็แล้วกันเป็นการปลอบใจ Horoscope thaiza จะอธิบายว่าคำว่า ฟาดเคราะห์จากความเชื่อคนโบราณที่จริงเป็นอย่างไรกันแน่ อ่านกันแบบละเอียด ๆ 

     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตคือการทําพิธีปัดสิ่งชั่วร้ายให้ไปจากตัว สละสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เคราะห์สูญหายไปพูดง่าย ๆ คือ การตัดใจยอมเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้วเป็นการทำให้หมดเคราะห์ นั่นเอง คนโบราณชอบสอนว่าคนดีย่อมได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เวรกรรมตามสนอง เมื่อใดก็ตามที่เกิดการทำความชั่ว แล้วผลกรรมตามสนองจะทำให้เคราะห์บรรเทาลง 





     เพราะกรรมนั้นได้มีการชดใช้ไปแล้ว
MulticollaC
ก็คือการฟาดเคราะห์ตามความหมายของคนโบราณสอน การฟาดเคราะห์อาจเกิดในลักษณะของหาย บาดเจ็บ เสียทรัพย์และโดนทำร้าย ใส่ร้าย แล้วจะได้รับสิ่งที่ดีเป็นต้นว่า ได้ลาภ

     แต่ก่อนที่เคราะห์จะเกิดคนโบราณสอนว่าให้ทำบุญอย่างสม่ำเสมอ เปรียบได้ว่าผสมน้ำแข็งลงในน้ำหวานสำเร็จรูป น้ำแข็งละลายจะทำให้น้ำหวานนั้นเจือจางลง เพราะคนที่เกิดนั้นไม่ทราบว่าชาติก่อนเคยทำกรรมใด การทำบุญจะทำให้กรรมเบาบางลง ควร ปฏิบัติศีลห้า อย่างเคร่งครัด นั่งวิปัสสนากรรมฐานภาวนา 

     อย่างไรก็ตามเรื่องเวรกรรมหนีกันไม่พ้น มีความเชื่อจากคนโบราณกลุ่มหนึ่งว่า เมื่อสิ่งร้ายผ่านไปสิ่งที่ดีจะเข้ามา ดั่งชีวิตคนเรายังไม่ตายมีขึ้นก็ย่อมมีลง แท้จริงอาจปลอบใจตัวเองอย่างน้อยที่สุด ทำให้เสียใจจากสิ่งร้าย ๆ น้อยลง



ขอบคุณข้อมูลจาก:horoscope.thaiza

โพสต์โดย : monnyboy