Social :



วิธีการ เอาชนะอาการเสพติดมือถือ

21 เม.ย. 61 06:00
วิธีการ เอาชนะอาการเสพติดมือถือ

วิธีการ เอาชนะอาการเสพติดมือถือ

วิธีการ เอาชนะอาการเสพติดมือถือ


คุณได้สังเกตว่าตัวเองนั้นชอบส่งข้อความ ท่องอินเทอร์เน็ต ส่งอีเมล ใช้แอปพลิเคชัน และเล่นเกมในมือถืออยู่ตลอดเวลาหรือเปล่า? ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้เวลาและพลังงานไปกับสิ่งเหล่านั้นมากแค่ไหน ซึ่งคุณอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือที่มากเกินไปก็ได้ และการใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไปนั้นสามารถทำให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวของคุณถดถอยลง และทำให้การพัฒนาตัวเองและการผลิตผลงานออกมาในแต่ละวันของคุณมีความบกพร่องได้

1.สังเกตพฤติกรรมการใช้มือถือของตัวเอง. 

มีงานวิจัยงานหนึ่งได้บอกไว้ว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยอาจใช้เวลา 8-10 ชั่วโมงต่อวันบนมือถือของพวกเขา [1] ดังนั้น การคอยสังเกตการใช้มือถือของตัวเองเช่น การเช็คว่าคุณเช็คมือถือกี่ครั้งต่อชั่วโมงนั้น สามารถเพิ่มความตระหนักต่อปัญหาการใช้มือถือให้กับตัวคุณเองได้[2] หากคุณตระหนักถึงขอบเขตของปัญหานี้ คุณสามารถเริ่มกำหนดเป้าหมายให้ตัวเองและหาทางออกสำหรับปัญหานี้ได้
  • ลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ใช้ติดตามการใช้มือถือของคุณเช่น แอปพลิเคชัน Checky [3] ซึ่งคุณสามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากแอปพลิเคชันนี้ มาใช้ในการตั้งเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงว่าคุณอนุญาตให้ตัวเองเช็คมือถือต่อชั่วโมงหรือต่อวันได้กี่ครั้ง

2.วางแผนการใช้มือถือ. 

จำกัดการใช้มือถือสักช่วงเวลาหนึ่งต่อวัน โดยคุณสามารถตั้งเสียงเตือนบนมือถือเพื่อไว้เตือนคุณเมื่อคุณเล่นครบตามเวลาที่กำหนดไว้ได้ ตัวอย่างเช่น คุณอนุญาตให้ตัวเองใช้มือถือได้แค่ตอน 6 โมงเย็นถึง 1 ทุ่ม และนอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดเวลาไม่ใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงได้อีก เช่น ในขณะที่คุณอยู่ที่ทำงานหรือโรงเรียน [4]
  • เขียนแผนและเป้าหมายลงกระดาษ เพื่อทำให้สิ่งเหล่านั้นดูเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยให้คุณคอยบันทึกเป้าหมายที่คุณทำสำเร็จแล้ว รวมถึงเป้าหมายที่คุณกำลังพยายามทำให้สำเร็จอยู่ลงไปด้วย

3.ให้รางวัลกับตัวเองสำหรับการใช้เวลาบนมือถือที่น้อยลง. 

คอนเซปต์นี้เรียกว่า การเสริมแรงบวกให้ตัวเอง และสิ่งนี้ถูกใช้ในการบำบัดเพื่อสอนให้ทำพฤติกรรมในทางที่ดี ด้วยการใช้การให้รางวัล [5] ตัวอย่างเช่น หากคุณบรรลุเป้าหมายการใช้โทรศัพท์ตามที่ได้กำหนดไว้ต่อหนึ่งวันได้ คุณอาจจะให้รางวัลตัวเองด้วยการทานของโปรด ซื้อของชิ้นใหม่ที่อยากได้ หรือทำกิจกรรมที่ชอบก็ได้

4.เริ่มแบบช้าๆ . 

แทนที่คุณจะหักดิบแล้วหยุดการใช้โทรศัพท์มือถือไปเลย (ซึ่งจะไปกระตุ้นให้คุณเกิดความกระวนกระวาย) ให้คุณค่อยๆ เริ่มลดเวลาการใช้โทรศัพท์ของคุณไปที่ละนิด [6] ตัวอย่างเช่น เริ่มต้นด้วยการจำกัดเวลาเช็คโทรศัพท์ 1 ครั้งต่อ 30 นาที จากนั้นก็เป็น 1 ครั้งต่อ 2 ชั่วโมง แล้วก็ค่อยๆ ทำต่อไปเรื่อยๆ
  • นับด้วยว่าในหนึ่งชั่วโมง คุณเช็คโทรศัพท์ไปกี่ครั้ง
  • ใช้โทรศัพท์แค่เฉพาะการติดต่อที่จำเป็น หรือมีเรื่องฉุกเฉิน

5.วางโทรศัพท์ให้ไกลๆ ตัว. 
Lif

วางโทรศัพท์ของคุณให้ห่างจากตัว ในที่ๆ ไม่อยู่ในสายตาคุณ เปิดโหมดเงียบเมื่อคุณกำลังทำงาน เรียน หรืออยู่ที่ไหนก็ตาม เพื่อที่มันจะได้ไม่ทำให้คุณวอกแวก [7]

6.ให้วันหยุดกับโทรศัพท์มือถือของตัวเองบ้าง. 

ตัดโทรศัพท์มือถือออกไปจากชีวิตคุณในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ [8]
ไปทริปหรือไปแคมปิ้งในที่ๆ ไม่มีสัญญาณให้เล่น เพราะนี่จะบีบให้คุณอยู่ห่างจากโทรศัพท์ไปอย่างไม่มีข้อแม้
  • คุณสามารถบอกให้เพื่อนๆ หรือคนรักรู้ก่อนก็ได้ว่า คุณจะไปอยู่เงียบๆ ที่ไหนสักแห่งในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการบอกกับพวกเขาบนโซเชียลมีเดีย

7.เปลี่ยนการตั้งค่าในโทรศัพท์. 

ในโทรศัพท์จะตั้งค่าการแจ้งเตือนทุกครั้งที่คุณได้รับอีเมล หรือมีการแจ้งเตือนใน Facebook ดูให้แน่ใจว่าคุณปิดการแจ้งเตือนพวกนั้นแล้ว! นี่จะลดจำนวนการสั่นแจ้งเตือนจากโทรศัพท์คุณได้ และด้วยวิธีนี้คุณจะไม่ได้ยินการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีบางสิ่งเกิดขึ้น [9]
  • สิ่งที่ไว้ใช้เป็นตัวเลือกสุดท้ายคือ เปลี่ยนไปใช้ซิมแบบเติมเงิน (ซึ่งก็คล้ายๆ กับการโทรตู้หรือใช้บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศนั่นเอง) เพื่อที่คุณจะได้ใช้ในจำนวนนาทีที่จำกัดตามจำนวนเงินที่คุณได้เติมไว้ เพราะมันจะปิดการใช้งานโทรศัพท์คุณ หากคุณใช้จนหมดเงินในโทรศัพท์แล้ว

8.เปลี่ยนความคิดที่มีต่อโทรศัพท์มือถือ. 

การเปลี่ยนความคิดอาจจะช่วยปรับเปลี่ยนอารมณ์และพฤติกรรมของคุณได้ [10] พูดได้อีกนัยหนึ่งว่า หากคุณเปลี่ยนความคิดที่มีต่อโทรศัพท์ของคุณ คุณอาจจะรู้สึกดีขึ้นและใช้โทรศัพท์น้อยลงได้
  • เตือนตัวเองว่า ไม่ว่าคุณอยากจะเช็คอะไรก็ตามบนโทรศัพท์ มันไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไรขนาดนั้น และสามารถรอได้[11]
  • คราวต่อไปถ้าคุณรู้สึกว่าอยากจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเช็ค ให้คุณหยุดก่อนแล้วคิดว่า “มันจำเป็นที่เราจะต้องโทร/ส่งข้อความหาคนๆ นี้ เดี๋ยวนี้เลยหรือเปล่า หรือว่าเดี๋ยวค่อยติดต่อไปทีหลังก็ได้?”

9.โฟกัสอยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า. 

การมีสติ คือการที่ตัวเองมีความตระหนักอยู่ ซึ่งสามารถช่วยให้คุณมีสมาธิและลดแรงกระตุ้นให้กลับไปเช็คโทรศัพท์ได้ [12] พยายามอยู่กับปัจจุบัน ด้วยการโฟกัสในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งก็รวมไปถึงความคิดและปฏิกิริยาโต้ตอบต่างๆ ของตัวเองด้วย [13]






ขอขอบคุณที่มา:th.wikihow.com

โพสต์โดย : Wizz