Social :



“ฟรีแลนซ์” อาชีพอิสระทางเวลา แต่ห้ามอิสระทางการใช้เงิน

11 พ.ค. 61 06:00
“ฟรีแลนซ์” อาชีพอิสระทางเวลา แต่ห้ามอิสระทางการใช้เงิน

“ฟรีแลนซ์” อาชีพอิสระทางเวลา แต่ห้ามอิสระทางการใช้เงิน

“ฟรีแลนซ์” อาชีพอิสระทางเวลา แต่ห้ามอิสระทางการใช้เงิน


เด็กยุคใหม่อยากเป็นนายตัวเอง และอยากมีอิสระภาพทางการเงินตั้งแต่อายุยังน้อย  แต่การเป็นนายตัวเองหรือ การทำอาชีพฟรีแลนซ์ อาจจะทำให้การใช้ชีวิตมีอิสรทางการใช้เงินน้อยหน่อย และเพิ่มวินัยในการบริหารเงินมากกว่าอาชีพพนักงานประจำเลยทีเดียว

เอ๊ะ……ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ….

 เมื่อได้เงินจากการทำงานอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ในยุคนี้ อาจจะดูเป็นเงินก้อนใหญ่กว่าการทำงานเป็นพนักงานประจำ แต่อย่าลืมคำนึงว่า งานของฟรีแลนซ์มีความไม่แน่นอนสูง และ มีข้อจำกัดของการทำงานด้วยทำงานบนพื้นฐานของพละกำลังทั้งหมดของตัวเอง เพราะฉะนั้นหากเกิดเหตุไม่คาดคิด หรือ เจ็บป่วยทำงานไม่ได้อาจจะเป็นเหตุให้การเงินสะดุดได้ การบริหารเงินของฟรีแลนซ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

วิธีการบริหารเงินของฟรีแลนซ์ ก็ไม่ยากอย่างที่คิด

1. บริหารเงินสำหรับ หนี้สิน
แยกเป็นหนี้สินรายเดือน กับหนี้สินรายปี นำมาเฉลี่ยให้กลายเป็นเงินที่เราต้องเก็บทุกๆเดือน เพื่อกระจายความเสี่ยง และอาชีพนี้ควรจ่ายหนี้สินในแต่ละเดือน ให้ตรงตามกำหนด เพราะการเป็นฟรีแลนซ์ ตัวเองถือเป็นเครดิตค้ำประกัน ที่สร้างความน่าเชื่อถือสำหรับการทำธุรกรรมกู้ยืมอื่นๆ ไม่ว่าจะซื้อบ้าน หรือ ซื้อรถ รวมถึงการเก็บเอกสาร สัญญาว่าจ้างจากลูกค้า เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการทำงาน และ รวมทั้งหลักฐานที่ช่วยยืนยันที่มาของรายได้ว่าได้รับจากใคร หรือบริษัทอะไร ทั้งใบเสร็จรับเงิน ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำหรับการพิจารณารายได้ของธนาคาร

MulticollaC
2. บริหารเงินให้เกิดรายรับสม่ำเสมอ
ควรสร้างความแน่นอนให้ตัวเอง เพราะเงินของฟรีแลนซ์มีที่มาที่ไปไม่แน่นอน จึงควรสร้างรายได้ให้สม่ำเสมอด้วยแบ่งเงินเพื่อการลงทุนในช่องทางอื่นๆ เพื่อให้เงินของเราทำงานเป็นฟรีแลนด์ในตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายปี

3. บริหารเงินสำรอง ฉุกเฉิน
เราสามารถอยู่ได้โดยไม่มีงานนานสุดแค่ไหน นี่คือเงินออมก้อนสำคัญที่ต้องมี เพื่อให้การดำเนินชีวิตอิสระได้ตามชื่ออาชีพ หรือรวมทั้งสำหรับการเสียภาษีปลายปีของเราแต่เงินก้อนนี้ไม่ใช่แค่อาชีพฟรีแลนซ์เท่านั้นที่ต้องคำนึงถึง ทุกคนเองก็ควรมีเงินก้อนฉุกเฉิน เพื่อป้องกันความเสี่ยงของตัวเอง ทั้งเรื่องการเจ็บป่วย หรือ ภาวะที่ต้องใช้เงินแบบไม่คาดฝัน

4. บริหารเงินสำหรับจ่ายค่าสวัสดิการให้ตัวเอง เมื่อไม่มีบริษัทดูแล หรือ ให้สวัสดิการเหมือนพนักงานประจำทั่วไป
คนทำอาชีพอิสระจึงควรเตรียมเงินสำหรับเพื่อเป็นสวัสดิการที่ต้องดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำ“ประกันสุขภาพ”, “ประกันชดเชยรายได้” หรือแม้แต่ประกันมะเร็ง โรคยอดฮิตของคนทำงานเพราะหากต้องนอนโรงพยาบาล ทำงานไม่ได้ ประกันจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล รวมทั้งประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ จากการกู้สินเชื่อเคหะ หรือ สินเชื่อรถยนต์ เพื่อป้องกันภาระที่จะตกกับครอบครัว หากเกิดเหตุไม่คาดฝันอันถึงแก่ชีวิตของผู้กู้

4 การบริหารเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะอาชีพอิสระ ที่ให้ความยืดหยุ่นเรื่องเวลา และการทำงาน แต่จำเป็นต้องบังคับเรื่องการบริหารเงินอย่างมีวินัย เพื่อให้ได้อิสรภาพอย่างเต็มที่ อย่างที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

 



ขอขอบคุณที่มา:www.sanook.com

โพสต์โดย : Wizz