Social :



มันมากับฝน…2 โรคพริก…โรคกุ้งแห้ง และ โรครากเน่าฯ…เตรียมรับมือกันได้

13 มิ.ย. 61 15:06
มันมากับฝน…2 โรคพริก…โรคกุ้งแห้ง และ โรครากเน่าฯ…เตรียมรับมือกันได้

มันมากับฝน…2 โรคพริก…โรคกุ้งแห้ง และ โรครากเน่าฯ…เตรียมรับมือกันได้

มันมากับฝน…2 โรคพริก…โรคกุ้งแห้ง และ โรครากเน่าฯ…เตรียมรับมือกันได้


ย่างเข้าสู่ฤดูฝน อากาศชื้น…กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพริกเตรียมรับมือการระบาดของ 2 โรค คือ โรคกุ้งแห้ง (แอนแทรคโนส) และโรครากเน่าโคนเน่า สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพริก


โรคกุ้งแห้ง (แอนแทรคโนส) มักพบแสดงอาการบนผลพริกที่เริ่มสุกหรือผลพริกก่อนที่จะเปลี่ยนสี อาการเริ่มแรกมีแผลจุดช้ำสีน้ำตาลบุ๋มยุบตัวลึกลงเล็กน้อยจากผิวผลพริก ต่อมาแผลขยายออกเป็นวงรีหรือวงกลมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ถ้าอากาศชื้นบริเวณแผลจะมีเมือกเยิ้มสีส้มอ่อนๆ หากแสดงอาการที่ผลอ่อนพริก จะทำให้ผลพริกโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง โดยเชื้อสาเหตุของโรคสามารถติดไปกับเมล็ดได้

หากเกษตรกรต้องการเก็บเมล็ดพริกไว้ทำพันธุ์ ควรเลือกผลพริกที่ปลอดโรค หรือเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์พริก หรือต้นกล้าพริกจากแหล่งที่ปราศจากโรค และไม่ควรปลูกต้นพริกให้ชิดกันเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และเกิดการระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว กรณีที่เกษตรกรสำรวจพบพริกแสดงอาการของโรคกุ้งแห้ง (แอนแทรคโนส) ควรเก็บผลพริกที่เป็นโรคออกจากแปลง ไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที หากเริ่มพบการระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราอะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 5-10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 75% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา
Lif
50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรคอลราซ 45% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และพ่นทุก 7-10 วัน


มักพบในระยะพริกโตเต็มที่หรือช่วงออกดอกติดผล จะพบพริกแสดงอาการเริ่มแรกมีใบเหลืองและร่วง หากระบาดรุนแรง ต้นพริกจะเหี่ยวและยืนต้นตาย บริเวณโคนต้นพบเชื้อรา สาเหตุของโรคลักษณะเส้นใยสีขาวรวมเป็นก้อนกลม จากนั้นเส้นใยเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายเมล็ดผักกาด (ราเม็ดผักกาด)

หากเริ่มพบระบาด ให้เกษตรกรรีบถอนต้นพริกและเก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และให้ราดบริเวณโคนต้นหรือราดดินในหลุมที่ขุดเอาดินเก่าออกแล้วด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราอีไตรไดอะโซล 24% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารควินโตซีน 75% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เกษตรกรควรใส่ปูนขาวปรับสภาพดินก่อนปลูกพืชฤดูถัดไป สำหรับแปลงที่พบการระบาดของโรครุนแรง ควรปลูกพืชชนิดอื่นสลับหมุนเวียนอย่างน้อย 5 ปี




ที่มา : กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมวิชาการเกษตร

โพสต์โดย : Ao