Social :



ทำความรู้จักกับ การปลูกพืชแบบยกร่อง

09 ก.ค. 61 11:07
ทำความรู้จักกับ การปลูกพืชแบบยกร่อง

ทำความรู้จักกับ การปลูกพืชแบบยกร่อง

ทำความรู้จักกับ การปลูกพืชแบบยกร่อง

การปลูกพืชแบบยกร่อง   เป็นวิธีการปลูกพืชด้วยการขุดคันดินล้อมรอบแปลงเกษตร และขุดร่องเป็นร่างแหเพื่อยกแปลงด้านในให้สูง  โดยร่องที่ขุดจะใช้สำหรับกักเก็บน้ำ  และให้น้ำแก่พืชการปลูกพืชแบบยกร่อง  ถูกพัฒนา  และดัดแปลงมาจากแนวคิดของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มภาคกลางที่มีการขุดคันดินล้อมรอบแปลงเกษตรเพื่อป้องกันน้ำท่วมในแต่ละปี  ด้วยการขุดแนวร่องเพิ่มขึ้นในแปลงเกษตรของตนเองเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำ และเป็นแหล่งน้ำให้แก่พืช รวมถึงการเพิ่มความสะดวกในการให้น้ำแก่พืชที่ง่ายขึ้น พืชที่นิยมปลูกด้วยระบบนี้  ได้แก่  ไม้ผล  และพืชผักชนิดต่างๆ




การยกร่อง
การยกร่องจำทำการขุดคันดินบริเวณรอบแปลงเกษตรทั้งสี่ด้านให้มีความสูงประมาณ  1-1.5  เมตร  เพื่อป้องกันน้ำท่วม  และขุดร่องรอบทั้งสี่ด้านให้ลึก  0.5-1  เมตร  กว้างประมาณ  1-2  เมตร  ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องยกคันดินสูงสำหรับพื้นที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม

การยกร่องในแปลงปลูกจะทำการขุดร่องขนานแปลงลึก  0.5-1  เมตร  กว้าง  1-2  เมตร  โดยนำดินที่ขุดมาถมแปลง  ซึ่งความกว้างของแปลงประมาณ  3-6  เมตร  ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ขณะทำการขุดถมแปลงควรให้รถขุดบีบอัดของแปลงให้แน่นทุกครั้งเพื่อป้องกันดินทรุดตัว และพังลงได้ง่าย

การดูแลรักษาร่อง   จะต้องทำการขุดลอกร่องน้ำด้วยการตักโคลนตมจากท้องร่องมาถมบริเวณขอบร่องทุกๆ  1-2  ปี




ประเภทของแปลงยกร่อง
1. แปลงยกร่องสำหรับปลูกผัก
การยกร่องแปลงสำหรับการปลูกผักนิยมยกแปลงให้มีลักษณะนูนโค้งจากตรงกลางแปลงลาดลงสู่ขอบแปลงเพื่อป้องกันการขังของน้ำในแปลง  และเว้นขอบแปลงเป็นที่ราบสำหรับทางเดินหรือลากเรือทั้งขอบแปลงทั้งสองด้าน ร่องที่ขุดจะลึกประมาณ  0.5-1  เมตร  กว้าง  1-2  เมตร  แปลงกว้าง  3-6  เมตร  และจะสูบน้ำเข้าขังในร่องให้อยู่ในระดับต่ำกว่าขอบแปลงประมาณ  10-20  เซนติเมตร

2. แปลงยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล/ไม้ยืนต้น
การยกร่องแปลงสำหรับการปลูกการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นจะแตกต่างจากแปลงสำหรับปลูกผัก โดยจะมีลักษณะแปลงไม่โค้งนูน  และมีการทำคันกั้นน้ำเตี้ยบริเวณรอบแปลงเพื่อช่วยกักเก็บน้ำไว้บนแปลงหรืออาจไม่ทำคันกั้นก็ได้
MulticollaC
สำหรับความลึกจะประมาณ  0.7-1  เมตร  ความกว้างของแปลง  3-6  เมตร  ขึ้นกับชนิดของไม้ที่ปลูก



รูปแบบแปลงยกร่อง
1. รูปแบบปกติ   แปลงยกร่องชนิดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับให้พืช  ไม่มีการยกคันดินรอบแปลง  เพียงแค่ขุดร่องแปลงทั้งสี่ด้าน  เป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มภาคกลางที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังร่องน้ำรอบแปลง และในแปลงลึกประมาณ  0.5-1.5  เมตร  กว้าง  1-2  เมตร  แปลงกว้าง  3-6  เมตร
2. รูปแบบน้ำท่วมขังน้อย   แปลงยกร่องชนิดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันน้ำท่วม และกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับให้พืช  พบได้ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ความสูงของคันดินรอบแปลงจะสูงมากกว่าระดับที่น้ำท่วมสูงสุด  0.5-1  เมตร คันดินกว้างประมาณ  2-3  เมตร  ร่องน้ำในแปลงมีขนาดเหมือนรูปแบบปกติ
3. รูปแบบน้ำท่วมสูง   เป็นลักษณะของแปลงยกร่องที่พบได้ในพื้นที่ราบที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมขังสูง ประกอบด้วยลักษณะคันดินรอบแปลงที่มีความสูงมากประมาณ  1-2  เมตร โดยทั่วไปจะพบมากที่ความสูงประมาณ  1.5  เมตร ส่วนร่องในแปลงปลูกจะมีขนาดเหมือนกับแปลงแบบง่าย  ลักษณะแปลงแบบนี้มักพบในกลุ่มของเกษตรกรที่มีฐานะปานกลางถึงดีมาก
4. รูปแบบสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมสูงมาก   รูปแบบแปลงชนิดนี้จะพบมากในพื้นที่ลุ่มที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมขังสูงมาก  ซึ่งจะยกคันดินรอบแปลงสูงประมาณ  1.5-2.5  เมตร  ลักษณะร่องในแปลงคล้ายกับรูปแบบอย่างง่าย

หลักพิจารณาการยกร่องแปลง
1. ลักษณะปัญหาของพื้นที่   ซึ่งจะพิจารณาถึงระดับของน้ำที่อาจท่วมขังทั้งท่วมขังไม่สูง ท่วมขังสูง  ท่วมขังสูงมาก  ซึ่งจะมีความจำเป็นที่ต้องยกคันดินรอบแปลงให้สูงกว่าระดับของน้ำท่วมขัง
2. เงินทุน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเตรียม  และเลือกรูปแบบแปลงให้มีความเหมาะสมกับเงินทุนที่มีอยู่
3 . ความสามารถการเก็บกักน้ำของดิน ซึ่งจะใช้พิจารณาระดับความลึกของร่องที่ต้องขุดเพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับพืชให้เพียงพอ
4. แหล่งน้ำต้นทุน ซึ่งแปลงปลูกควรอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำเพื่อให้ง่ายต่อการชักน้ำเข้าในแปลง


ข้อมูลอ้างอิง  :  http://puechkaset.com

โพสต์โดย : POK@