Social :



กกร.วอนรัฐ เลิกค่าจ้างขั้นต่ำราคาเดียวทั่วประเทศ

04 พ.ค. 59 10:24
กกร.วอนรัฐ เลิกค่าจ้างขั้นต่ำราคาเดียวทั่วประเทศ

กกร.วอนรัฐ เลิกค่าจ้างขั้นต่ำราคาเดียวทั่วประเทศ

กกร.วอนรัฐ เลิกค่าจ้างขั้นต่ำราคาเดียวทั่วประเทศ  

 

 

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ประจำเดือนพฤษภาคม โรงแรมดุสิตธานี ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงประเด็นค่าแรงขั้นต่ำที่แรงงานมีการเรียกร้องปรับเพิ่ม จากปัจจุบันอยู่ที่ 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ โดยมีมติแสดงจุดยืนดังนี้

 

1. ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ควรมีอัตราเดียวกันทั่วประเทศ แต่ควรเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจของภูมิภาคนั้นๆ ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม กกร.ไม่สามารถระบุได้ว่าค่าจ้างที่เหมาะสมควรเป็นระดับใด

 

2. กกร.ต้องการให้คณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) เป็นผู้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยพิจารณาตามข้อมูลข้อเสนอของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเป็นหลัก

 

3. ขอให้ภาครัฐสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพ ให้สอดคล้องกับการปรับค่าจ้างที่สูงขึ้น

 

Lif
และ 4. ขอให้ภาครัฐกำหนดนโยบายพัฒนาระบบโครงสร้างค่าจ้างที่สอดคล้องกับผลิตภาพแรงงานของประเทศในระยะยาว

 

นายเจนกล่าวว่า กกร.ยังประเมินเศรษฐกิจไทยพบว่ามีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี (มกราคม-มีนาคม 2559) อาทิ ยอดส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ แต่ก็ต้องจับตาว่าจะฟื้นตัวจริงหรือไม่ เพราะกรณียอดขายเครื่องปรับอากาศอาจสูงในระยะสั้นเท่านั้น จึงยังคงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ไว้ที่ 3-3.5% นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญมาจากเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณบวก เศรษฐกิจจีนเริ่มนิ่งขึ้น และผลจากธนาคารกลางสหรัฐคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะเดียวกันภาคการส่งออกไทยยังขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 กกร.จึงมีมติคงเป้าหมายการส่งออกปีนี้ไว้ที่ 0-2% และภาครัฐมีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยช่วงครึ่งปีแรก (ตุลาคม 2558 - มีนาคม 2559) มีการเบิกจ่ายแล้ว 31.9% ของงบลงทุนรวม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 27% จากปัจจัยบวกดังกล่าว ที่ประชุม กกร.จึงมีมติคงเป้าหมายการส่งออกปีนี้ไว้ที่ 0-2% แต่ยอมรับว่าห่วงเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่า จะกระทบขีดความสามารถในการส่งออก

 

แม้ปัจจัยต่างๆจะเป็นบวกต่อการส่งออก และเศรษฐกิจไทย แต่ กกร.ยังมีความเป็นห่วงต่อทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อรายได้ของผู้ส่งออก ยิ่งสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญยังไม่แน่นอน ดังนั้นอยากให้รัฐบาลดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด นายเจนกล่าว


โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด