Social :



เอาจริง!! “วิษณุ”เตือนครูเบี้ยวหนี้โดนฟ้อง

19 ก.ค. 61 07:07
เอาจริง!! “วิษณุ”เตือนครูเบี้ยวหนี้โดนฟ้อง

เอาจริง!! “วิษณุ”เตือนครูเบี้ยวหนี้โดนฟ้อง





นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฏหมาย กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 เพื่อคลายล็อคให้พรรคการเมืองดำเนินการด้านธุรการได้ว่า ได้ให้โจทย์กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ไปพิจารณาก่อนหน้านี้แล้ว ตั้งแต่ก่อนการพูดคุยกับพรรคการเมือง และได้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาด้วยแล้ว แต่เมื่อมีการพูดคุยกับพรรคการเมือง จึงจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับข้อเสนอ โดยเฉพาะการจะจัดทำไพรมารีโหวต ว่าจะเอาอย่างไร ก่อนให้ คสช.เป็นผู้ตัดสินใจ แต่ไม่จำเป็นต้องรีบมาก เพราะต้องการให้ กกต.ชุดใหม่ได้ร่วมพิจารณาด้วย

ทั้งนี้ เพื่อความรวดเร็วในการทำไพรมารีโหวต ส่วนตัวได้ขอให้เขียนการทำไพรมารีโหวตไว้หลายแบบ 1.ไม่ต้องมี 2.ให้มีแบบเขต 3.แบบจังหวัด 4.แบบภาค แต่ถึงอย่างไรไม่สามารถยกเลิกไพรมารีโหวตได้ เพราะจะขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ จึงได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปหาแนวทางว่า หากการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่มีไพรมารีโหวต จะทำอย่างไรให้สมาชิกพรรคการเมืองได้มีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญมาตรตรา 45 อย่างไรก็ตาม มองว่าการแก้ไขกฎหมายจะไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติ แต่ถ้าเอากฎหมายมาวางอ่านพร้อมกันทั้งหมด จะเห็นว่าไม่มีความยุ่งยาก



อย่างไรก็ตาม หลัง กกต. ชุดใหม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ จะต้องดำเนินการเรื่องใดบ้าง นายวิษณุ
MulticollaC
กล่าวว่า ไม่ทราบ รัฐบาลไม่มีสิทธิ์เรียกมาคุย แต่หาก กกต.ต้องการมาพูดคุยถึงการดำเนินการเรื่องต่างๆ ที่รัฐบาลได้ตกลงกับ กกต.ชุดเก่าไว้ ส่วนตัวก็ยินดี หรือให้ตนเองไปพบ กกต.ก็อาจสะดวกกว่า

นอกจากนี้ นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มครูประกาศปฏิญญามหาสารคาม ขอยุติการชำระหนี้ว่า นายกรัฐมนตรี พูดชัดเจนแล้วว่าจะยกเลิกหนี้ไม่ได้ ถ้าไม่จ่ายหนี้ก็อาจถูกฟ้องล้มละลาย ขาดคุณสมบัติความเป็นครู อย่างไรก็ตาม ทราบว่าทางกลุ่มครูออกมาชี้แจงแล้วว่า ไม่ใช่จะไม่จ่ายหนี้ แต่ขอชะลอหนี้ แต่ยืนยัน ถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายหนี้

นายวิษณุ ยังกล่าวถึงแนวคิดให้อัยการมาร่วมในกระบวนการสอบสวน ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิรูปตำรวจว่า มีการพูดเรื่องนี้มานานแล้ว ในสมัยที่มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) แต่คงเป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะบุคคลากรของอัยการไม่เพียงพอ แต่การให้อัยการร่วมสอบบางเรื่องนั้นทำอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น ในคดีพิเศษ แต่จากการพูดคุยมีการเสนอว่า เมื่อตำรวจสอบสวนแล้วเสร็จ หากอัยการสงสัย ก็สามารถสั่งให้สอบเพิ่มเติมได้ และมีข้อเสนอให้อัยการมาร่วมสอบตั้งแต่ต้นในบางคดี เช่น คดีความมั่นคง คดีที่ประชาชนไม่ไว้วางใจพนักงานสอบสวน คดีร้ายแรง ค้ามนุษย์ ยาเสพติด ทุจริต เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอนี้ได้รับความเห็นพ้องจากหลายฝ่าย โดยต้องแยกเป็นกฎหมายออกมาต่างหากจาก พ.ร.บ.ตำรวจ



ขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด