Social :



มุ่งพัฒนาประเทศ! นายกฯลุยศก.เร่งช่วยเกษตรอย่ายึดแต่ปลูกข้าว

29 ก.ย. 61 05:09
มุ่งพัฒนาประเทศ! นายกฯลุยศก.เร่งช่วยเกษตรอย่ายึดแต่ปลูกข้าว

มุ่งพัฒนาประเทศ! นายกฯลุยศก.เร่งช่วยเกษตรอย่ายึดแต่ปลูกข้าว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า “BCG” โดย B คือ เศรษฐกิจชีวภาพ, C คือ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ G คือ เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) นี้ ทั้ง 3 เรื่องจะสอดรับกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9จะช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างถ้วนหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” และ เศรษฐกิจ BCG เป็นรูปแบบเศรษฐกิจ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDG ขององค์การสหประชาชาติ ที่ต้องการร่วมกันพัฒนาความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติ และดูแลโลกของเรา ในทุกมิติ


โดยเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ “ไบโอ-อีโคโนมี่” เป็นการพัฒนาความเข้มแข็งจากภายใน หรือศักยภาพที่เรามีอยู่แล้ว เน้นสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานในระบบ ไม่น้อยกว่า 16.5 ล้านคน ทั้งในภาคเกษตรอุตสาหกรรม และภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ราว 3 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 21 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ส่วน เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นระบบเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างมูลค่าสูงสุด จากทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่ไปกับ การลดของเสียลงให้น้อยที่สุด ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เพื่อลดการใช้น้ำ – พลังงาน แต่เพิ่มการใช้เทคโนโลยีสะอาด มากขึ้น ส่วนเศรษฐกิจสีเขียว นั้นเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เข้ามาแก้ปัญหาโลก ที่พัฒนาด้วยการคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
การใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม


 

ยันมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกมิติ ยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 

นายกรัฐมนตรี ได้กล่าว่า “ทุนมนุษย์” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยรัฐบาล มีนโยบายสาธารณะ และมาตรการต่างๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุกมิติ และทุกช่วงวัย มาอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา อาทิ งานดูแลสุขภาพประชาชน ตามกรอบ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ของกระทรวงสาธารณสุข โครงการของ พชอ. เป็นกลไกที่ส่งเสริมการทำงาน “แบบประชารัฐ” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ให้ดีขึ้นโดยเน้นประชาชน เป็นศูนย์กลาง โดย “บลูมเบิร์ก”
MulticollaC
ได้จัดทำดัชนีประสิทธิภาพระบบสุขภาพ เพื่อจัดอันดับประเทศที่มีความคุ้มค่าด้านระบบดูแลสุขภาพ ไทยอยู่ในอันดับที่ 27 ของโลก จาก 56 ประเทศ “ดีขึ้น” จากปีก่อน 14 อันดับ นับว่าสามารถพัฒนาอย่าง “ก้าวกระโดด” มากที่สุดนอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก ชื่นชมประเทศไทย ว่าเป็น “ต้นแบบ” และ แหล่งเรียนรู้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างเข้มแข็ง มีคนไทยกว่า 48.8 ล้านคน จากจำนวนประชากร ราว 67 ล้านคน ที่มีสิทธิ์ใน “หลักประกันสุขภาพ”

อย่างไรก็ตาม นายกฯ กล่าวว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค) ยังคงมี “ความไม่สมบูรณ์” ในการขอรับบริการด้านสุขภาพ หลายประการ ดังนั้น รัฐบาล ได้ “ยกระดับ” หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ใช้สิทธิและ “เพิ่มเติม” ในเรื่องยา วัคซีน อุปกรณ์การแพทย์และการให้บริการต่างๆเพิ่มขึ้น ซึ่งในอนาคตจะขยายไปยังกองทุนต่างๆเพื่อให้เกิดความครอบคลุม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการรักษา พยาบาล ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต อันจะทําให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับ การคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการ อย่างปลอดภัย โดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรค หรือเป็นความเสี่ยงของการดูแลรักษา ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมง หรือพ้นภาวะวิกฤต “ทุกสิทธิ ทุกโรงพยาบาล” เป็นต้น

 

ขอเกษตรกรอย่ายึดติดปลูกข้าวอย่างเดียว แนะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตลาดมีความต้องการสูง 

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าด้วยว่า ช่วงนี้ เป็นปลายฤดูฝน รัฐบาลก็ขอชวนเกษตรกร ให้มองไปข้างหน้า โดยนำเอาปัญหาในอดีต มาเป็น “โจทย์” ให้ช่วยกันขบคิด ก็ไม่อยากให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อน อาทิ การทำนาปรัง หรือปลูกข้าวนอกฤดูทำนา จนมีผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาข้าวตกต่ำ วนเวียนทุกปี ดังนั้น ครม. จึงอนุมัติหลักการ โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา

เนื่องจากพบว่า ราคาข้าวในปัจจุบันมีราคาสูงขึ้น โดยวิธีป้องกันไม่ให้ราคาข้าวตกนั้น ส่วนหนึ่งคือ ไม่ปล่อยให้เกษตรกรฝากชีวิตไว้กับการปลูกข้าว เพียงอย่างเดียว ให้ปลูกพืชชนิดอื่นด้วยแต่ต้องเป็นพืชที่ตลาดต้องการ และ อยู่ในพื้นที่ที่สามารถบริหารจัดการเรื่องน้ำได้ ซึ่ง “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการสูง ถือเป็นทางเลือก อีกทางหนึ่ง ที่ทำให้เกษตรกรสามารถมีพืชที่จะปลูกแล้วเป็นรายได้ ดีกว่าการปลูกข้าว และ ไม่ทำให้ปริมาณข้าวล้นตลาด ราคาไม่ตก


ขอบคุณข้อมูลจาก:.innnews.

โพสต์โดย : monnyboy

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด