Social :



กลศึก..รวมกันแพ้แยกกันชนะ?

13 ต.ค. 61 19:10
กลศึก..รวมกันแพ้แยกกันชนะ?

กลศึก..รวมกันแพ้แยกกันชนะ?

น่าสนใจ…ในกลศึกซ้อน ที่ถูกจัดวาง ในจังหวะเปิดไต๋ จับทางการเมือง ระหว่าง “สองขั้วสามข้างการเมือง” ที่เปิดศึกสัปยุทธ ชิงอำนาจกันมาตลอดกว่า 10 ปี จนมาถึงบรรทัด พ.ศ. นี้ ที่ฝ่ายคุมสภาพอำนาจรัฐ “คสช.” กำลังคลายตัวหลัง “กุมสภาพ ”มา 4 ปี…






น่าสนใจว่า การค้นพบสูตร “สมการ” ที่ “ถูกออกแบบ” โดย “มีชัย ฤชุพันธุ์” ให้ซับซ้อน ซึ่งการได้มาซึ่ง ส.ส. 500 ในรัฐธรรมนูญ 60 …ที่ห้วงสัปดาห์นี้ที่บรรดา “พรรคการเมืองใหม่” ทั้งสายพันธุ์ “เพื่อ” และ “พลัง” พากันปรากฏตน และกลายเป็นประเด็นครหา ตามมาด้วยข้อกังขาในแผน “ตามน้ำ” ในช่องทางรัฐธรรมนูญ (อ่าน : “จัดสรรปันส่วนผสม” ปม ขยายพันธุ์พรรคสำรอง?)


เป็นแผน “ตามน้ำ” ที่ผู้คนมองไปที่ พรรคใหญ่ 2 ขั้วข้าง อย่าง “พรรคพลังประชารัฐ” อันผนึกรวม “กลุ่มสามมิตร” ที่ชัดเจนใน “เป้าหมาย” ชัดเจนใน ตัวละคร 4 รัฐมนตรี รวมถึงผู้คนในรัฐบาล “ลุงตู่” ที่อยู่ในกรรมการบริหารพรรค ขณะอีกพรรคการใหญ่ อย่าง “พรรคเพื่อไทย” ที่ก็ชัดเจนในเป้าหมายและ “ตัวละคร” กับการตั้ง “พรรคสำรอง” มากมายเช่นกัน



Lif


โดยฝ่ายหนึ่ง “พลังประชารัฐ” เจตนาประหนึ่งเพื่อ “เอาชัวร์” การจัดตั้งรัฐบาลให้ “ลุงตู่” ตีตั๋วนายกฯต่อ แบบวางไกลถึงการรักษาฐานที่มั่นในสภาหลังเลือกตั้ง ขณะฝ่ายหนึ่ง “เพื่อไทย” เจตนาไว้เผื่อ “หนีตาย” หากถูกยุบพรรค ไปจนถึงเพื่อ “เก็บแต้ม” ที่ตกหล่นของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (อ่าน : เพื่อไทยแตกหน่อหนีตาย-รวมกันแพ้แยกกันชนะ?)

 ขณะที่เมื่อหันมาดูอีกข้างหนึ่งฝ่ายเดียวกัน อย่าง “พรรคประชาธิปัตย์” ที่กำลังอยู่ในโหมดเลือกหัวหน้าพรรคใหม่ ถูกวางเป็น “พรรคอะไหล่” ที่ความหมายอาจต่างจาก “พรรคภูมิใจไทย” ซึ่งถูกวางในจุด “พรรคตัวแปร” ที่พร้อมต่อเชื่อมได้ทั้งสองขั้ว  ที่ก็ย่อมต่างใน “พรรคอะไหล่” ตามความหมายของ “พรรคเพื่อไทย” และเหล่า “พรรคเพื่อฯ” ที่สัปดาห์นี้เจ้าของพรรคตัวจริงมาบัญชาเกมแถวฮ่องกง ซึ่งหมายไปถึง “พรรคสำรอง” ที่ย่อมต่างใน “เจตนา” และ “เป้าประสงค์” การใช้ (อ่าน : พรรคอะไหล่-กรรมชี้เจตนา?)


กระนั้นหากดูนัยยะแฝงผ่านบริบทการออกแบบ “รัฐธรรมนูญ” ที่ “ตู่ จตุพร” บอกว่าถูกออกแบบให้พร้อมเกิดวิกฤติได้ตลอดเวลา เป็นการทำให้ เกิดสภาพ “รวมกันแพ้ แต่แยกกันแล้วชนะ” ก็น่าสนใจพิจารณาเช่นกันว่า  หรือ เอาเข้าจริง หมากนี้ จะเป็นกลศึก อันแฝงเร้นด้วยการรวมยุทธศาสตร์การเมือง การทหาร ในการ “ได้มา” หรือ “รักษาอำนาจ” โดยการแยกอำนาจรวมศูนย์ที่ใหญ่กว่าออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่แต่ละส่วนมีอำนาจน้อยกว่าผู้ที่กำลังใช้ยุทธศาสตร์ ที่ตามสูตร คือ การสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดการแบ่งแยกในหมู่ผู้คนในบังคับเพื่อป้องกันพันธมิตรซึ่งอาจท้าทายองค์อธิปัตย์ และให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนแก่ผู้ที่เจตนาให้ความร่วมมือแก่องค์อธิปัตย์ และส่งเสริมความระแวงและความเป็นปรปักษ์ระหว่างผู้ปกครองท้องถิ่น ที่เรียกยุทธศาสตร์นี้กันว่า “แบ่งแยกแล้วปกครอง” หรือไม่..?



ขอขอบคุณข้อมูลจาก:innnews.

โพสต์โดย : monnyboy

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด