Social :



สถิติช็อก! คนกรุงเทพ ติดเชื้อ เอชไอวี เพิ่มขึ้น อึ้งครึ่งหนึ่ง เป็นวัยรุ่น

19 ต.ค. 61 15:10
สถิติช็อก! คนกรุงเทพ ติดเชื้อ เอชไอวี เพิ่มขึ้น อึ้งครึ่งหนึ่ง เป็นวัยรุ่น

สถิติช็อก! คนกรุงเทพ ติดเชื้อ เอชไอวี เพิ่มขึ้น อึ้งครึ่งหนึ่ง เป็นวัยรุ่น


วันที่ 19 ต.ค. ที่ศาลาว่าการกทม. นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯกทม. เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวการให้บริการด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ เอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร (BMA ARV Services) ภายใต้แนวคิด “No One Left Behind” ซึ่งดำเนินการนำร่องในศูนย์บริการสาธารณสุข 27 แห่ง


โดยมี ดร.มาร์ทา แอคเคอร์ ที่ปรึกษาอาวุโสโครงการเอชไอวีและวัณโรค ประจำประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข นางพัชรา เบญจรัตนาภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNAIDS Thailand) และนายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ เข้าร่วม

แนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น

นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวี ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2561 คาดว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังมีชีวิตอยู่ 77,034 คน เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,086 คน ในจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี 1,151 คน คิดเป็นร้อยละ 55.2 และมีผู้เสียชีวิต 3,022 ราย

จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (NAP Program) ในปี 2560 พบว่า มีผู้ที่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวี และมีชีวิตอยู่ 67,087 คน ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ได้รับยาต้านไวรัสและมีชีวิตอยู่ 37,627 คน และมีผลตรวจปริมาณไวรัสในกระแสเลือดน้อยกว่า 1,000 copies/mL 28,700 คน

ทั้งนี้จากการเฝ้าระวังความชุกการติดเชื้อ เอชไอวี ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2560 พบว่า กลุ่มพนักงานบริการทางเพศหญิงในสถานที่สาธารณะ (FSW – Nonvenue) ติดเชื้อ ร้อยละ 2.8 พนักงานบริการทางเพศหญิงในสถานบริการ (FSW – venue) ติดเชื้อ ร้อยละ 0.6

กลุ่มชายที่มาตรวจรักษากามโรค (MSTD) ติดเชื้อ ร้อยละ 5.8 กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด (PWID) ติดเชื้อ ร้อยละ 11.0 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และตัวแทนของกลุ่มประชากรทั่วไป ติดเชื้อ ร้อยละ 0.7 ซึ่งแนวโน้มของผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะพบในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายสูงที่สุด

วางแนวทางรักษาผู้ป่วย
กทม.มีนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ในศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อเชื่อมโยงการเข้าสู่การรักษาดูแลที่เหมาะสม และบรรลุเป้าหมายการดำเนินงาน Bangkok Fast track cities 90 – 90 – 90 สำหรับ 90 แรก หมายถึง ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทราบสถานการณ์ติดเชื้อของตนเอง

ซึ่งในปี 2561 ดำเนินงานได้ ร้อยละ 85 ส่วน 90 ที่สอง หมายถึง ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทราบสถานการณ์ติดเชื้อของตนเองได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ปี 2561 ดำเนินงานได้ ร้อยละ
MulticollaC
72 และ 90 ที่สาม หมายถึง ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสามารถกดเชื้อไวรัสได้สำเร็จ

ปี 2561 ดำเนินงานได้ ร้อยละ 75 กทม.จึงได้สนับสนุนให้ศูนย์บริการสาธารณสุขสามารถให้บริการด้านการดูแลรักษา รวมถึงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีให้แก่ประชาชนทั่วไปทั้งคนไทย และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิการรักษาทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ มีโอกาสเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถขอรับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 27 แห่ง ครอบคลุมทั่วกทม.

ทั้งนี้ ในปี 2561 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีมารับบริการยาต้านไวรัส จำนวน 320 ราย เป็นคนไทย 166 ราย แรงงานข้ามชาติ/คนไทยไร้สิทธิ 154 ราย ซึ่งบริการนี้จะช่วยลดระยะเวลาในการเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์

นอกจากนี้ ยังให้บริการเพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (Pre – Exposure Prophylaxis : PrEP) และหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวีที่ไม่ใช่จากการทำงาน (HIV non-occupational Post – Exposure Prophylaxis : HIV nPEP) ในศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 12 แห่ง โดยให้บริการฟรีสำหรับผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวี

สำหรับในปี 2561 มีผู้มารับบริการด้านการป้องกันก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี จำนวน 133 ราย จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่าศูนย์บริการสาธารณสุขมีศักยภาพด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ แบบองค์รวม โดยทีมบุคลากรสหวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถในการให้บริการที่เป็นมิตร เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

หวังว่าการดำเนินการต่างๆ จะประสบผลสำเร็จตามสโลแกน “No One Left Behind” เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และก้าวสู่เป้าหมายการดำเนินงาน Bangkok Fast track cities 90 – 90 – 90 ต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โทร. 0 2860 8751 ถึง 6 ต่อ 417 หรือ 400 ในวันและเวลาราชการ






cr:khaosod

โพสต์โดย : Ao