Social :



วิธีการปลูก ยางพารา สร้างรายได้แบบมืออาชีพ

10 พ.ย. 61 11:11
วิธีการปลูก ยางพารา สร้างรายได้แบบมืออาชีพ

วิธีการปลูก ยางพารา สร้างรายได้แบบมืออาชีพ

วิธีการปลูก  ยางพารา  สร้างรายได้แบบมืออาชีพ


ยางพารา นั้น  เป็นไม้ยืนต้น  ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน  ในประเทศบราซิล  และประเทศเปรู  ทวีปอเมริกาใต้  ซึ่งชาวพื้นเมืองนั้นได้มีชื่อเรียกยางพารานี้ว่า  “เกาชู” (cao  tchu)  แปลว่า ต้นไม้ร้องไห้ นั่นเอง  อาจจะเพราะน้ำยางที่ไหลออกมาจึงกลายเป็นชื่อเรียกของต้นไม้นี้ก็ได้

จนมาถึงปี  พ.ศ. 2313  หรือ  ค.ศ. 1770  นาย โจเซฟ  พรีสต์ลีย์  ได้ทำการพบว่ายางพารานั้นสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้  เขานั้นจึงได้ทำการเรียกยางพาราว่า  ย างลบ  หรือตัวลบ  rubber  นี่คือชื่อของที่มา  ของชื่อยางลบ ที่เรา ๆ  นั้นใช้เรียกกันในปัจจุบันนั่นเอง

ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในประเทศอังกฤษ  และเป็นภาษาของประเทศเนเธอร์แลนด์เท่านั้น  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเพาะปลูก  และทำการซื้อขายยางพารา  ในอเมริกาใต้  ตั้งแต่ดั้งเดิมใน รัฐปารา (Pará) ของประเทศบราซิล  และยางชนิดนี้เรียกว่า  ยางพารา


สายพันธุ์ของยางพารา
พันธุ์ของยางพาราที่นิยมนำมาปลูกมากที่สุด  ได้แก่
– 251 (RRIT 251)
– สงขลา 36
– BPM 24
– PM 255
– PB 260
– PR 255
– RRIC 110
– RRIM 600

การเลือกใช้พันธุ์ของยางพารา
การปลูกยางพารา  เพื่อให้ได้น้ำยางพารา  หรือเนื้อไม้พาราที่ดีนั้น  ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้ง  3  นั่นก็คือ  สภาพแวดล้อม  สายพันธุ์  และการปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อมของต้นยางพาราที่เรานั้นทำการปลูก

ซึ่งสำหรับการตัดสินใจในการเลือกพันธุ์ที่นำมาปลูกในสวนของเราในครั้งนี้จะต้องเลือกให้ดี  ควรยึดเอาหลักต่าง ๆ  ที่กำหนดไว้  เช่น  จะต้องเลือกต้นสายพันธุืที่ให้ผลผลิตที่ดีแบบสูงสุด  มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เราจะทำการปลูก  เข้ากับพื้นที่สภาพสวนของเรา จะมีการพิจารณาในการปลูกทั้งหมด  ดังนี้

– ทำการพิจารณาว่าพื้นที่ที่เรามีนั้น  จะทำการปลูกจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสม  หรือเป็นข้อจำกัดที่รุนแรงมากน้อยเพียงใด  สามารถทำการแก้ไขได้หรือไม่  และมีการส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตมากน้อยเพียงใด  เช่น  เป็นพื้นที่  ที่มีการระบาดของโรงที่เสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อมาสู่แปลงของเรา  พื้นที่ที่มีลมแรงจัด  หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง  มีหน้าดินที่ตื้น

– พิจารณาในรูปลักษณะประจำสายพันธุ์ของแต่ละสายพันธุ์  จากเอกสารคำแนะนำสายพันธุืต่าง ๆ  ที่หาได้ตามสถาบันวิจัยยางต่าง ๆ  โดยเฉพาะในลักษณะที่อ่อนแอต่อสภาพแวดล้อม  หรือมีข้อจำกัดในการปลูกมาก  ก็ควรเลือกให้ต้นสายพันธุ์นั้นมีความเหมาะสมต่อพื้นที่ ที่เราจะทำกรปลูกนั่นเอง

– พิจารณาลำดับของสายพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตที่สูง  จากเอกสารคำแนะนำสายพันธุ์ที่เรามี  จากนั้นเลือกสายพันธุืที่ให้ผลผลิตที่ดี  ให้ผลผลิตที่สูง  ถือว่าเป็นพันธุ์ที่เหมาะต่อการปลูก  และต้องเลือกที่มีสภาพอากาศในการปลูกเหมาะกับพื้นที่ของเราด้วย


การเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกยางพารา
เราจะทำการปรับเตรียมพื้นที่สำหรับการทำการปลูกโดยที่เรานั้นจะทำการโดยการไถพลิก  และทำการไถพรวน  อย่างน้อย ๆ  ก็ทำ  2  ครั้ง  พร้อมกับทำการเก็บเอาตอไม้  เศษไม้  และเศษวัชพืชอื่น ๆ  ที่อยู่ภายในแปลงออกให้หมด

จากนั้นเพื่อเป็นการปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการทำการปลูกยางพารา  ไม่ว่าจะเป็นในด้านการปฏิบัติงาน  การอนุรักษ์ดิน  และการอนุรักษ์น้ำ  เพื่อความสะดวกในการเข้าไปดูแล 
Lif
และทำการบำรุงรักษา  ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยางได้อย่างสะดวกสบาย

วางแนวสำหรับการปลูกต้นยางพารา
เราจะต้องทำการกำหนดแถว  สำหรับหลักของต้นยางพารา โดยจะทำการวางทางการไหลของน้ำเอาไว้  เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน และการพังทลายของดิน  ให้แถวหลังของต้นยางพารานั้น  ห่างจากเขตสวนเก่า  ไม่น้อยกว่า  1.5  เมตร  พร้อมกับทำการชุดตามแนวเขตสวน  เพื่อทำเป็นแนว  เพื่อป้องกันโรครากยางพารา  และการแย่งธาตุอาหารของต้นยางพารา

จากนั้นก็ทำการวางแนวสำหรับการปลูกตามแนวระดับ  และทำเป็นแบบขั้นบันได  เราควรจะทำให้เสร็จทั้งหมด  ก่อนจะเข้าสู่ฤดูฝน  ซึ่งนั่นก็คือระยะเวลาของเดือนมีนาคม-เดือนต้นเมษายน

ระยะสำหรับการปลูกต้นยางพารา
ถ้าหากพื้นที่ของเรานั้นเป็นพื้นที่ราบ  เราจะต้องทำการปลูกยางพาราเก่าในภาคใต้  เราจะใช้ระยะในการปลูก  2.5x 8  เมตร  หรือจะเป็น  3×7  เมตร  ซึ่งนั่นจะทำให้เรานั้นสามารถทำการปลูกยางได้  80  ต้น หรือ  76  ต้นต่อ  1  ไร่  ตามลำดับ

ส่วนในพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่นั้น  เราจะระยะในการปลูก  2.5×7  เมตร  หรือจะเป็น  3×6  เมตร หรือจะเป็น  3×7  เมตรก็ได้  ซึ่งนั่นจะทำให้เรานั้นสามารถทำการปลูกยางพาราได้มากถึง  91 ต้น หรือ  88  ต้นหรือ  76  ต้น  ต่อ  1  ไร่


ขนาดของหลุมปลูกยางพารา
สำหรับขนาดของหลุมปลูกยางพารา เราจะทำการขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยที่จะทำการขุดดินในด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบ ซึ่งจะมีการปลูกไปในทางเดียวกัน เราจะไม่ทำการถอนไม้ออก เราจะแยกดินเอาไว้เป็นส่วนบน และส่วนล่าง ไว้คนละกองกัน จากนั้นเราจะทำการผึ่งแดดเอาไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยประมาณ

พอดินนั้นเริ่มแห้ง  เราก็จะต้องทำการย่อยให้ดินนั้นละเอียด  นำดินส่วนบนใส่ลงไปในก้นหลุม  ส่วนดินชั้นล่างนั้น  จะทำการผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต  ในอัตราส่วน  170  กรัม  จะทำการคลุกเคล้าร่วมกันกับปุ๋ยอินทรีย์  ในอัตราส่วน  3-5  กิโลกรัม  โดยประมาณ ต่อ  1  หลุม  เราจะทำกรใส่ไว้ที่ด้านบน


การดูแลรักษายางพารา
การดูแลรักษายางพารานั้น  เราจะทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ  จากสารเร่ง  พด.2  ให้เรานั้นทำการให้ปุ๋ยพืชสดทุก  7  วัน  ในอัตราส่วน  2  ลิตรต่อ  1  ไร่  นำมาทำการเจือจาง  1:1,000  เพื่อเป็นการเร่งการเจริญเติบโต ของพืชปุ๋ยสดนั่นเอง

และหลังจากที่เรานั้นทำการปลูกต้นยางพาราไปแล้วเป็นเวลา  15  วัน  เราจะทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ  ให้กับยางพาราทางใบ  หรือจะทำการราดรดลงดินก็ได้ในทุก ๆ  1  เดือน  จากนั้นทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำกับพืชตระกูลถั่ว  ที่ทำการปลุกเอาไว้คลุมดินด้วย

เวลาสำหรับทำการกรีดยางพารา
– ช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมสำหรับการกรีดยางพารามากที่สุดนั้นก็คือ  ช่วงเวลา  6.00-8.00  น.  เนื่องจากจะเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางพาราได้อย่างชัดเจน  และยังเป็นระยะเวลาที่จะได้ปริมาณน้ำยางที่มีความใกล้เคียงกับการกรีดยางพาราในระยะเวลาเช้ามืดอีกด้วย

แต่สำหรับการกรีดน้ำยางพาราในช่วงระยะเวลา  1.00-4.00 น.  ก็จะได้ปริมาณยางที่มากกว่าการกรีดยางในตอนเช้า  ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ให้น้ำยางมากที่สุดอีกด้วย  แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดนั้นจะมีข้อเสียอยู่บ้าง  นั่นก็คือ ง่ายต่อการกรีดยางบาดเยื่อเจริญเติบโตของต้น  นั่นจะทำให้เกิดโรคหน้ายางพารา  ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลือง  ไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย  หรือโจรอีกด้วย


การกรีดยางพารา
สำหรับการกรีดยางพารา  เพื่อให้สะดวกต่อการกรีด  และจะต้องทำการรักษาความสะอาดของถ้วยรองน้ำยางพารานั้นด้วย  เราจะต้องคำนึงถึงระดับความเอียงของรอยกรีด  และความคมของมีดที่ใช้กรีดด้วย  จะต้องมีความคมอยู่เสมอ


ข้อมูลอ้างอิง  :  https://www.modernlessons.com/

โพสต์โดย : POK@