Social :



วิธีการปลูก และดูแล ผักเหลียง

13 พ.ย. 61 13:11
วิธีการปลูก และดูแล ผักเหลียง

วิธีการปลูก และดูแล ผักเหลียง

วิธีการปลูก และดูแล ผักเหลียง

ผักเหลียง  เป็นผักพื้นบ้านของจังหวัดชุมพรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  ซึ่งผักเหลียง  เป็นพืชที่ชอบที่ร่ม  มีดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง  และมีฝนตกชุกและต่อเนื่อง  ในปัจจุบันมีการปลูกผักเหลียงมากขึ้น  โดยการปลูกแซมสวนยางพารา  สวนมะพร้าว สวนผลไม้  การปลูกผักเหลียงมีวิธีการดังต่อไปนี้

ผักเหลียงชอบขึ้นอยู่ในที่ร่ม   ดินร่วนซุย  มีความอุดมสมบูรณ์สูงและต้องเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกต่อเนื่อง  ผักเหลียงจึงเหมาะสำหรับพื้นที่ภาคใต้ที่มีฝนตกชุกตลอดปี  และกลายเป็นผักพื้นถิ่นที่คนใต้นิยมทาน  และ  นิยมปลูกแซมสวนไม้ผล  ยางพารา  และ ปาล์มน้ำมัน ไว้เป็นพืชเสริมรายได้  โดยต้องควบคุมความสูงของทรงต้นไว้ไม่ให้สูงเกินเอื้อมถึง  เพื่อให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว 


การขยายพันธุ์  :  นิยมทำโดยการตอนกิ่ง  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 
- การตอนกิ่งควรตอนจากต้นหรือกิ่งกระโดงที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปโดยสังเกตเปลือกของกิ่งควรมีสีน้ำตาลอมเขียวเล็กน้อย
- การควั่นควรควั่นให้ชิดกับข้อรอยควั่นมีระยะห่างกันเท่ากับเส้นรอบวงของต้นหรือกิ่งที่จะตอน
- เมื่อควั่นเสร็จแกะเปลือกขูดเนื้อเยื่อเจริญออกให้หมด
- ใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำจนอิ่มใส่ถุงพลาสติกผูกปากถุง
- กรีดถุงจากก้นถึงปากถุงนำมาหุ้มที่รอยควั่นผูกเชือกหัวท้ายให้แน่น
- หมั่นตรวจดูความชื้นอย่าปล่อยให้แห้งรากจะงอกภายในเวลาประมาณ  2  -  3  เดือนตรวจดูรากสามารถดูดน้ำได้หรือไม่  เมื่อรากทำงานดีแล้วตัดเอาลงถุงปลูก
- เมื่อต้นแข็งแรงดีจึงนำลงหลุมปลูก การปลูกด้วยกิ่งตอนจะได้ทรงพุ่มดีให้ผลผลิตมากและรวดเร็ว


การปลูกและการดูแลรักษา :
Lif
- ระยะในการปลูกคือปลูกระหว่างแถวของต้นผลไม้ต่างๆ  โดยให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ  1  เมตร
- ต้นพันธุ์ที่ใช้ต้องเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง
- ทำการขุดหลุมให้ลึกประมาณ  30  ซม.แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก
- จากนั้นวางต้นพันธุ์ในหลุมที่ขุดแล้วกลบดินแต่พอแน่น
- รดน้ำให้ชุ่มใช้ไม้หลักปักผูกเชือกให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันลม
- ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือช่วงฝนตกจะช่วยให้ไม่เสียเวลาและแรงงาน ในการรดน้ำ
- การให้ปุ๋ยแบ่งใส่  2  ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก็ได้โรยให้รอบโคนต้น
- การบังคับให้ผักเหลียงแตกยอดอ่อนเร็วๆโดยการตัดแต่งกิ่งอยู่ตลอดเป็นประจำนอกจากนี้ควรตัดต้น  ไม่ให้สูงเกินมือเอื้อมถึงจะทำให้สะดวกต่อการเก็บยอดผักเหลียง
- การให้น้ำควรมีการให้น้าในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงประมาณ  3  วัน/ครั้ง


การเก็บเกี่ยวผักเหลียง :
- เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อต้นผักเหลียงมีอายุ  2  ปีขึ้นไป
- เก็บเกี่ยว  7  วัน/ ครั้ง  (ทางที่ดีควรเก็บสลับกันไปจะทำให้สามารถเก็บผักเหลียงได้ทุกวัน)
- เก็บยอดอ่อนถึงยอดเพสลาด  ควรเด็ดให้ชิดข้อ
- ไม่เด็ดกลางข้อหรือตัดเพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนในครั้งต่อไปจะช้า
- เมื่อเก็บแล้วอย่าให้ใบหรือยอดอ่อนนั้นถูกแสงแดดและลม  ควรพรมน้ำแต่พอชุ่มสามารถเก็บได้นาน ประมาณ  5-6  วัน


ข้อมูลอ้างอิง  :  https://www.rakbankerd.com

โพสต์โดย : POK@