Social :



จัดเต็ม! มติครม.เท38,000ล.ช่วยคนจน-ให้สวนยาง1,800บ.

21 พ.ย. 61 07:11
จัดเต็ม! มติครม.เท38,000ล.ช่วยคนจน-ให้สวนยาง1,800บ.

จัดเต็ม! มติครม.เท38,000ล.ช่วยคนจน-ให้สวนยาง1,800บ.

ที่ประชุม ครม. ออก 4 มาตรการช่วยคน จนผ่านบัตรสวัสดิการเริ่ม ธ.ค. รวม3.8หมื่นล้านบาท-ให้สวนยาง1,800บาทไม่เกิน15ไร่





นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 4 มาตรการประกอบด้วย การบรรเทาค่าใช้จ่าย ค่าน้ำค่าไฟตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ถึง กันยายน 2562 รวม 10 เดือน แบ่งเป็น ค่าไฟ 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ค่าน้ำ 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน โดยผู้มีรายได้น้อยที่ใช้จ่ายไม่ถึงวงเงินดังกล่าวจะได้รับการยกเว้น

สนับสนุนค่าใช้จ่ายช่วงปลายปี 500 บาทต่อคนในเดือนธันวาคม 2561 ค่าเดินทางรักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจำนวน 1,000 บาทต่อคน ช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน 400 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นจำนวน 10 เดือนนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 สำหรับผู้มีรายได้น้อยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมเป็นค่าใช้จ่ายจำนวน 38,730 ล้านบาท


 

ช่วยค่าครองชีพชาวสวนยาง 1,800บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ใช้งบ 18,000 ล้านบาท

นายพุทธิพงษ์ เปิดเผยด้วยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ ตามการเสนอของ การยางแห่งประเทศไทย หรือ
Lif
กยท.ในการช่วยเหลือช่วยสวนยางเพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพเกษตรกรชาวสวนยางและคนกรีดยางภายใต้วงเงิน 18,604 ล้านบาท ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้หามาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางให้ได้ภายใน 7 วัน หลังราคายางตกต่ำ





โดยให้เงินช่วยเหลือ จำนวน 1,800 บาทต่อไร่ ไม่เกินรายละ 15 ไร่ ในจำนวนนี้ให้แบ่งจ่ายกับเจ้าของสวน 1,100 บาท หรือ หรือ ร้อยละ 60 ของเงินชดเชยเพื่อช่วยยางพาราตกต่ำ คนกรีด 700 บาทต่อไร่ หรือ สัดส่วนร้อยละ 40

ซึ่งตามเป้าหมายของมาตรการ เป็นการจ่ายเงินให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. ซึ่งมีเจ้าของสวนยางเปิดกรีดจำนวน 999,065 ราย คนกรีดยางจำนวน 304,266 ราย คิดเป็นพื้นที่เปิดกรีดรวมประมาณ 10 ล้านไร่

สำหรับการจ่ายเงิน 18,604 ล้านบาทนั้น เป็นงบประมาณที่จ่ายให้ชาวสวนยางและคนกรีด 18,071 ล้านบาท งบชดเชยต้นทุนเงินให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) 393 ล้านบาท และจ่ายค่าธรรมเนียมโอน 13 ล้านบาท และงบบริหารโครงการ 126 ล้านบาท โดยงบบริหารจัดการนี้จะใช้จากกองทุนพัฒนายางพารา

โดยค่าใช้จ่ายให้ ธกส. จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน




ขอบคุณข้อมูลจาก:.innnews.

โพสต์โดย : monnyboy

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด