Social :



การปลูก มันหวาน ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

21 พ.ย. 61 11:11
การปลูก มันหวาน ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

การปลูก มันหวาน ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

การปลูก มันหวาน  ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร  จ.พิจิตร   ได้คลุกคลีกับการปลูกมันเทศมานานประมาณ  4  ปี  โดยสายพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น  อาทิ  มันเทศเนื้อสีส้มจากประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา,  มันเทศเนื้อสีม่วงจากประเทศญี่ปุ่น  และล่าสุดได้นำมันเทศเนื้อสีเหลืองสด เนื้อเหนียว แน่น รสชาติหวาน หลายคนเรียกว่า  Japanese  Sweet  Potato    มันเทศเนื้อสีเหลืองจากญี่ปุ่นจัดเป็นมันเทศที่มีราคาแพงที่สุดในขณะนี้ ขายในซุปเปอร์มาเก็ตห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร  ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ  90-100  บาท  ลักษณะของหัวมันจะเรียวยาวได้สัดส่วน ผิวเปลือกมีสีม่วงอมแดง ทางแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้นำมันเทศเนื้อสีเหลืองมาทดลองปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตมา  2  รุ่น  จนแน่ใจว่าปลูกได้ในบ้านเราและให้ผลผลิตสูง  ที่สำคัญมีคุณภาพและรสชาติไม่แตกต่างจากที่นำเข้าจากญี่ปุ่น


การเตรียมแปลงปลูก
ปลูกมันเหลืองญี่ปุ่นให้ลงหัวได้ดีนั้น ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เรื่องโครงสร้างของดิน  ถึงแม้ว่ามันเทศจะปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด  แต่ดินร่วนปนทรายมีความเหมาะสมที่สุด  สำหรับพื้นที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยคอกเก่า เช่น  มูลวัว  มูลไก่  ฯลฯ  ในอัตรา  1-2  ตันต่อไร่  ในการเตรียมแปลงปลูกให้ไถดะก่อน 1 ครั้ง และทิ้งไว้ประมาณ  7-10  วัน  ทำการไถแปลงให้ดินละเอียดยิ่งขึ้นและกำจัดวัชพืช โดยใช้ผานเดินตามการไถดะ หลังจากนั้นให้ทำการยกร่องแปลงปลูกขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม  กว้างประมาณ 70 เซนติเมตร สูง  30-40  เซนติเมตร ความยาวของแปลงปลูกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่  ถ้าจะให้เหมาะสมควรจะปลูกแบ่งเป็นล็อคๆ  โดยแปลงมีความกว้างของแปลง  40  เมตร  และความยาวของแปลง  80  เมตร  เพื่อสะดวกและง่ายต่อการดูแลรักษา

การจัดระบบน้ำในแปลงปลูกมันเทศ 
โดยปกติทั่วไปสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันเทศทั่วประเทศมักจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของระบบน้ำในแปลงปลูก ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนอาจจะพึ่งเพียงน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น  ถ้าปลูกในฤดูแล้งอาจจะมีการให้น้ำแบบท่วมแปลง แต่ถ้าการปลูกมันเหลืองญี่ปุ่นควรจะมีการจัดระบบน้ำที่ดี ในแปลงปลูกมันเหลืองญี่ปุ่นของชมรมฯเผยแพร่ความรู้ทางเกษตร จะมีการวางระบบน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ ทำให้ต้นมันได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอและต้นมันเทศตั้งตัวได้เร็ว

การใช้ยาคลุมวัชพืชก่อนปลูกมันเทศ 
ก่อนที่จะฉีดยาคลุมวัชพืชในแปลงปลูกมันเทศควรจะให้ดินมีความชื้นระดับประมาณ   20-30%  ยาคลุมวัชพืชที่นิยมใช้ในแปลงปลูกมันเทศคือยาในกลุ่มของสารอะลาคลอร์  ซึ่งจะคุมวัชพืชใบแคบและวัชพืชใบกว้างในบางชนิด  หลังจากฉีดยาคุมใบได้ประมาณ  7-15  วัน  จึงจะทำการปลูกมันเหลืองญี่ปุ่น


การเตรียมยอดพันธุ์มันเหลืองญี่ปุ่น 
ในการตัดยอดพันธุ์ควรจะตัดให้มีความยาวราว  30  เซนติเมตร  จะไม่ริดใบทิ้งหรือริดทิ้งก็ได้  เนื่องจากยอดมันเป็นพืชที่แตกยอดออกมาใหม่ได้ง่าย  ถ้าตัดยอดก็จะทำให้เสียเวลา  การตัดยอดใช้ส่วนที่เป็นยอดจะดีที่สุด  สำหรับท่อนที่  2-3  ลงไป  สามารถปลูกให้ได้ผลผลิตเช่นกันแต่การให้หัวจะลดลงตามลำดับ เมื่อตัดท่อนพันธุ์มาแล้วควรจะมัดรวมกันเป็นท่อนหรือเป็นกำเอาใบตองห่อมัดเอาไว้  ควรนำท่อนพันธุ์แช่น้ำยาฆ่าแมลงในกลุ่ม “ คาร์โบซัลแฟน”  เช่น  ไฟล์ซ็อค  จุ่มแช่ไว้นานราว  5-10  นาที  จะช่วยลดเรื่องแมลงที่จะติดไปกับท่อนพันธุ์ได้เป็นอย่างดี  หลังจากนั้นให้นำมัดท่อนพันธุ์วางไว้ที่ร่ม รดน้ำ  เช้า-เย็น ประมาณ  2-3  วัน ยอดพันธุ์ก็จะมีรากออกมาแสดงว่าท่อนพันธุ์พร้อมปลูกแล้ว  ถ้าจะให้ดียอดพันธุ์มันเทศที่จะตัดควรตัดจากต้นที่มีอายุไม่เกอน 45 วัน หรือก่อนที่จมีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อหยุดยอด ในพื้นที่ปลูกมันเหลืองญี่ปุ่นในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ยอดมันประมาณ 8000-16000 ยอด 

การปลูกมันเหลืองญี่ปุ่น 
ก่อนลงมือปลูกควรมีกาให้น้ำในแปลงปลูกอย่างน้อย  2-3  วัน  เพื่อให้ดินมีความชื้นและปลูกได้ง่ายและรวดเร็ว วิธีการเตรียมหลุมปลูกแบ่งได้  3  วิธี คือ  ปลูกแบบใช้จอบขุด ปลูกแบบใช้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อนหรือจะปลูกแบบนำยอดพันธุ์เสียบลงแปลงปลูกเลย จากการทดลองปลูก  3  วิธี พบว่าวิธีปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อนได้ผลดีกว่าวิธีการอื่น  ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ  25-30  เซนติเมตร  จะปลูกแบบ  1  หลุม  ต่อ  1  ยอดพันธุ์หรือปลูก 2 ยอดพันธุ์ต่อ 1 หลุมก็ได้ หลุมที่ปลูกควรมีความลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตรควรจะวางญอดพันธุ์ทำมุม 45 องศา ฝังลึกลงดิน  2-3  ข้อของยอดพันธุ์มมันเทศและให้ข้อโผล่พ้นดินขึ้นมาประมาณ  2-3  ข้อ  หลังจากนั้นกลบดินให้แน่นเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ท่อนพันธุ์โยกคลอน

การให้น้ำมันเทศ 
ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ปลูกท่อนมันเหลืองญี่ปุ่นลงดินไปแล้ว  จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ  3  วันแรก จะต้องให้ทุกวันเช้า-เย็น ให้ครั้งละประมาณ  1-2  ชั่วโมง  (กรณีที่ให้ระบบน้ำแบบมินิสสปริงเกอร์)  หลังจาหนั้นจะให้น้ำวันเว้นวันหรือ  3  วัน หรือ  5 
MulticollaC
วัน  หรือ  7  วัน  ต่อครั้ง

การตลบเถามันเทศ 
การตลบเถามันเหลืองญี่ปุ่นที่มีความจำเป็นมากสำหรับการปลูกมันเทศในช่วงฤดูฝน  เนื่องจากต้นมันเทศมักจะงามใบมากเกินไปหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ บ้าใบ”  อย่างก็ตามในการตลบเถามันเทศขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของต้นมันเทศด้วยว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด  ถ้าต้นมันเทศเจริญเติบโตได้ดีตามกำหนดเวลาควรจะตลบเถามันเทศในช่วงอายุต้นประมาณ  45-60  วัน  กรณีที่ไม่มีการตลบเถามันเทศจะเกิดปัญหาข้อมันเทศที่เรื้อยติดดินเกิดเป็นรากใหม่ที่มีผลทำให้การลงหัวช้าลงและได้ผลผลิตที่มีขนาดของหัวไม่ใหญ่เท่าที่ควร 

วิธีการตลบเถามันเทศอาจจะใช้คราดหรือแรงงานคนก็ได้  เถามันเทศที่เลื้อยติดกับดินมักจะเกิดรากเราจะต้องดึงรากให้ขาด ส่วนของรากจะอยู่บริเวณเดียว  คือ  ตรงท่อนพันธุ์ที่เราปลูกเป็นครั้งแรก  หลังจากที่มีการตลบเถาจะต้องมีการให้น้ำด้วยทันที


การป้องกันและกำจัดโรคแมลงมันเทศ  
ความจริงแล้วมันเทศจัดเป็นพืชที่มีโรคและแมลงรบกวนไม่มากนัก โรคจะพบมากในฤดูฝนหรือกรณีที่ให้น้ำมากเกินไป(ขังแฉะ)  เช่น  โรครากเน่าโคนเน่า โรคเชื้อราเมล็ดผักกาดและโรคหัวมันเน่า  เป็นต้น  ในการป้องกันและกำจัดใช้วารป้องกันและกำจักเชื้อราพื้นๆ  อาทิ  สารคาร์เบนดาซิล,  แอนทราโคล  ฯลฯ

** สำหรับแมลงศัตรูม้นเทศที่มีความสำคัญที่สุด  คือ  ด้วงงวงมันเทศ  ในพื้นที่การปลูกมันเทศทั่วประเทศและทั่วทุกแห่งในโลกจะพบการระบาดของแมลงชนิดนี้  ถ้าพบการระบาดมากผลที่ตามมาก็คือ ทำให้มันเทศลงหัวได้น้อยลง  หัวมีคุณภาพต่ำ  มีกลิ่นเหม็นและรสชาติขม  ถ้าเป็นการผลิตมันเหลืองญี่ปุ่นเพื่อส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์  กรุ๊ป  ใหกรุงเทพมหานคร  ถ้าพบว่าหัวมันเทศที่เก็บเกี่ยวมาจากแปลงมีการทำลายของด้วงงวงมันเทศจะต้องคัดทิ้งทันที 

มีคำแนะนำในการป้องกันและกำจัดด้วงงวงมันเทศ  อันดับแรกไม่ควรปลูกมันเทศติดต่อกันหลายปี  ถ้ามีพื้นที่น้อยและจำเป็นจะต้องปลูกในพื้นที่เดิมควรจะปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชหมุนเวียน สำหรับพืนที่ปลูกอยู่ในเขตชลประทานวิธีการปล่อยน้ำท่วมแปลงก่อนลงมือปลูกมีส่วนช่วยในการทำลายไข่ ตัวอ่อนและตัวแก่ของด้วงงวงมันเทศได้ส่วนหนึ่งโดยไม่ต้องใช้สารเคมี 

ในการปลูกมันเทศในฤดูแล้งจะต้องไม่ปล่อยให้แปลงมันเทศมีดินแตกระแหง เนื่องจากช่องว่างของดินจะเป็นช่องทางให้ด้วงมันเทศเข้าทำลายหัวมันเทศได้ง่ายขึ้น จะต้องมีการให้น้ำช่วงปลูกฤดูแล้งเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้ดินแตกระแหงการปล่อยให้หัวมันเทศมีอายุการเก็บเกี่ยวที่แก่เกินไปโดยไม่ขุดเก็บเกี่ยวออกมา การทำลายของด้วงงวงมันเทศก็จะเกิดมากยิ่งขึ้น

คำแนะนำจากทางราชการได้บอกถึงวิธีการป้องกันและกำจัดด้วงงวงมันเทศโดยการใช้สารเคมี เริ่มต้นจากการจุ่มเถามันเทศในสารคาร์โบซัลแฟน เช่น ไฟท์ช็อต ใส่สารไฟท์ช็อดอัตรา 50 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร จุ่มเถามันเทศนานประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะนำไปปลูกลงแปลงเมื่อต้นมันเทศมีอายุได้ 1 เดือน แนะนำใหเฉีดพ้นสารไฟท์ช็อตทุก 15-20 วัน ในช่วงที่มันเทศลงหัวให้เปลี่ยนมาใช้สารเคมีที่มีอัตราน้อย เช่น สารโฟโปนิล ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน 

** สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือจะต้องงดการฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดแมลงทุกชนิดอย่างน้อย 3 อาทิตย์ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 

อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศ 
ความจริงแล้วอายุการเก็บเกี่ยวมันเทศเกือบทุกสายพันธุ์จะเฉลี่ยอยู่ที่  120-150  วัน  หลังจากปลูกยอดพันธุ์ลงไป  ในขณะเดียวกันมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย  เช่น  ฤดูการปลูก  ความสมบรูณ์ของต้น,  สายพันธุ์ที่ปลูกอย่างกรณีของมันเทศเนื้อสีส้มที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรนำเข้ามาปลูกสามารถเก็บเกี่ยวได้  ตั้งแต่อายุ  100  วันขึ้นไป  แต่ไม่เกิน  150  วัน

**วิธีการสังเกตว่ามันเทศแก่และเก็บเกี่ยวได้
- สังเกตที่สันร่องที่ปลูก  ดินจะแตกออกอย่างชัดเจน 
- สังเกตเถามันจะเหี่ยวและออกดอก
- เกษตรกรควรจะขุดซุ้มตัวอย่างและนำมาทดลองบริโภค  หรืออาจจะใช้มีดปาดหัวดูว่ามียางไหลออกมามากหรือน้อย  ถ้ายางออกมาน้อยแสดงว่าหัวมันเทศแก่และเตรียมขุดขายส่งตลาดได้ 


การเก็บเกี่ยวผลผลิต 
ก่อนที่จะทำการขุดหัวมันเทศควรจะใช้มีดหวดหรือเครื่องตัดหญ้าตัดเถามันเก่าเพื่อสะดวกต่อการขุด  อุปกรณ์ที่ใช้ขุดจะใช้จอบหรือเสียมก็ได้แต่จะต้องระวังอย่าให้จอบหรือเสียมโดนหัวมันเทศจนเกิดแผลจะทำให้ราคาตกหรืออาจจะส่งขายห้างสรรพสินค้าไม่ได้ 

จากตัวเลขในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันเหลืองญี่ปุ่นในแปลงปลูกของชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรถ้ามีการรักษาดินที่ดี  จะให้ผลผลิตเฉลี่ยถึง  3,000-4,000  กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูก  1  ไร่ 

วิธีการเก็บรักษาหัวมันเทศ 
ในการขุดหัวมันเทศในแต่ละครั้งอาจจำเป็นต้องขุดเป็นแปลง และส่งขายผลผลิตได้ไม่หมดจำเป็นต้องเก็บรักษาหัวมันเทศให้คงสภาพเดิมไว้อีกหลายวัน แนะนำให้เก็บหัวมันเทศที่มีดินติดอยู่  ยังไม่ต้องล้างดินออกและตัดแต่งหัวมันเทศ  หลีกเลี่ยงการทำให้หัวมันเทศเกิดแผลหรือบอบซ้ำ  หลังจากนั้นให้นำหัวมันเทศไปเก็บไว้ในที่ร่มหรือในห้อง  ไม่ให้โดยแดดและโดนน้ำ จะเก็บรักษาหัวมันเทศไว้ได้นานถึง  3  อาทิตย์ –  1  เดือน  เมื่อจะส่งขายยังตลาดนำออกล้างน้ำให้สะอาดแล้ะตัดแต่งผลต่อไป  ก่อนที่จะทำการล้างหัวมันเทศทุกครั้งจะต้องมีการตัดแต่งและคัดเลือกให้เรียบร้อย  ถ้าใช้แรงงงานคนควรใส่ถุงมือ (หัวมันเทศมียาง) และใช้นำน้ำฉีดพ่นและทำการคัดเกรดส่งห้างสรรพสินค้าต่อไป


ข้อมูลอ้างอิง  :  https://www.rakbankerd.com/

โพสต์โดย : POK@