Social :



วิธีการปลูก และดูแล ส้มโอ

04 ธ.ค. 61 13:12
วิธีการปลูก และดูแล ส้มโอ

วิธีการปลูก และดูแล ส้มโอ

วิธีการปลูก  และดูแล  ส้มโอ

ส้มโอ    เป็นไม้ผลเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย  เนื่องจากมีรสชาติดี  และเป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป  นอกจากนี้ยังส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ  สามารถนำเงินเข้าประเทศได้ปีละหลายสิบล้านบาท  จนทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกส้มโอมากขึ้นทุกปี


พันธุ์ส้มโอ: 
พันธุ์ส้มโอที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ก็มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ปลูกคนละท้องที่ จึงเรียก ชื่อแตกต่างกันไป พันธุ์ส้มโอที่ปลูกเพื่อการค้าแบ่งออกได้ดังนี้
1 . พันธุ์การค้าหลัก  ได้แก่  ขาวพวง  ขาวทองดี  ขาวน้ำผึ้ง  เป็นต้น 
2. พันธุ์การค้าเฉพาะแห่ง   ได้แก่  ขาวแป้น  ขาวหอม  ขาวแตงกวา  ท่าข่อย  ขาวใหญ่  หอมหาดใหญ่  เจ้าเสวย  กรุ่น  ขาวแก้ว  เป็นต้น

พื้นที่ปลูกส้มโอเดิมอยู่ในเขตจังหวัดทางภาคตะวันตก  เช่น  นนทบุรี  นครปฐม  เป็นต้น  ปัจจุบันพื้นที่ปลูกส้มโอได้กระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ  ทั่วประเทศโดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ  ได้แก่  นครปฐม สมุทรสาคร  ราชบุรี  ชัยนาท  พิจิตร  ปราจีนบุรี  นครนายก  ตราด  ชุมพร  สงขลา  เป็นต้น


การขยายพันธุ์ ส้มโอ  :  ทำได้หลายวิธี  คือ
1.การเพาะเม็ด 
2.การติดตา 
3.การเสียบกิ่ง 
4. การตอน 

แต่ที่ชาวสวนนิยมทำอยู่ในปัจจุบันคือการตอน  ซึ่งเป็น  วิธีที่ชาวสวนส้มโอมีความชำนาญมาก  เนื่องจากมีข้อดีหลาย ประการ  เช่น  วิธีการทำง่าย  อุปกรณ์หาได้ง่าย  ราคาถูก  ออกรากเร็ว  ต้นที่ได้ไม่กลายพันธุ์  ให้ผลเร็ว  ต้นไม่สูง  ทรงต้น  เป็นพุ่ม  สะดวกในการเข้าไปดูแลรักษา  แต่ก็มีข้อเสียคือ อายุไม่ ยืน และอ่อนแอต่อโรค  อุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่งส้มโอ มีดังนี้
1.มีด 
2.ขุยมะพร้าว 
3.ถุงพลาสติก 
4.เชือกฟาง 


ฤดูที่ทำการตอนกิ่งส้มโอ : 
ตามปกติแล้ว  การตอนกิ่งไม้ทุกชนิดจะทำการตอนใน  ฤดูฝน  คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม  เพราะ ในระยะนั้นต้นไม้กำลังอยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโต  ฝนตก  บ่อยไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำให้กับกิ่งตอน 

การคัดเลือกกิ่งตอน : 
ก่อนที่จะทำการคัดเลือกกิ่งส้มโอที่จะตอน  ต้องพิจารณาเลือกต้นก่อน  เพราะถ้าต้นแม่พันธุ์ที่ใช้ตอนไม่ดีแล้ว  กิ่งตอนที่จะนำไปปลูกต่อไปก็จะไม่ดีด้วย  ซึ่งมีหลักในการ  พิจารณาหลายประการ  เช่น  
- เลือกต้นแม่พันธุ์ที่ให้ผลแล้ว  ซึ่งทำให้เราสามารถ  จะพิจารณาลักษณะที่ดีๆ  ตามมาได้อีก
- เป็นต้นที่ให้ผลดก  ให้ผลสม่ำเสมอ  เป็นพันธุ์ดี  และมีรสดี
- เลือกจากต้นที่มีความเจริญเติบโต  แข็งแรง สังเกต  จากมีการเจริญเติบโตดีกว่าต้นอื่นๆ
- เลือกจากต้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวน 


เมื่อเลือกได้ต้นที่ดีแล้ว จึงมาทำการคัดเลือกกิ่งที่จะ  ตอน  ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  แต่ส่วนมากชาวสวนมักไม่ค่อย  คำนึงถึงกัน เห็นกิ่งใดพอที่จะตอนได้ก็ตอนหมด  ซึ่งนับว่าไม่  ถูกต้อง เพราะว่าต้นไม้แต่ละต้นมีกิ่งที่มีความเจริญเติบโต สมบูรณ์ไม่เท่ากัน บางกิ่งก็แข็งแรงดี บางกิ่งแคระแกน อ่อนแอ บางกิ่งก็แก่เกินไปหรืออ่อนเกินไป  สิ่งเหล่านี้จะทำให้ได้กิ่งตอน ที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรเลือกกิ่งตอนดังนี้
1 . กิ่งที่จะใช้ตอนนั้นต้องเป็นกิ่งเพสลาด  คือ ไม่แก่  ไม่อ่อนเกินไป  มีใบยอดคลี่เต็มที่ และเจริญเติบโตจนเป็นใบแก่แล้ว 
2. กิ่งที่จะตอนควรจะเป็นกิ่งกระโดงตั้งตรง  หรือเอียงเล็กน้อย  ไม่เป็นกิ่งที่ห้อยเอายอดลงดิน  เพราะจะทำให้รากที่  งอกออกมางอ  เมื่อตัดไปปลูกจะได้กิ่งตอนที่ปลายรากชี้ฟ้า 
3. เป็นกิ่งที่มีความยาวประมาณ  50-70  เซนติเมตร  มีกิ่งแขนงแยกออก  2-3  กิ่ง 
4. เป็นกิ่งที่เจริญเติบโตแข็งแรงปราศจากโรค  และ แมลง

เมื่อเลือกได้กิ่งที่สมบูรณ์ตามต้องการแล้ว จึงทำการ ควั่นกิ่ง การควั่นนั้นให้ควั่นที่ใต้ข้อของกิ่งเล็กน้อย  เนื่องจาก บริเวณข้อของกิ่งจะสะสมอาหารไว้มาก  ทำให้การงอกของ  รากเร็ว  และได้รากจำนวนมาก รอยควั่นด้านล่างห่างจาก  รอยควั่นบนเท่ากับความยาวของเส้นรอบวงของกิ่ง กรีดที่ เปลือกระหว่างรอยควั่นทั้งสอง ลอกเปลือกตรงรอยควั่นออก  ส่วนมากแล้วกิ่งที่ลอกเปลือกออกได้ง่ายจะงอกรากได้เร็วกว่า กิ่งที่ลอกเปลือกออกยาก ใช้มีดขูดเยื่อเจริญซึ่งมีลักษณะเป็น เยื่อลื่นๆ  ออกให้หมด  เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อเจริญมาประสานกันต่อได้อีก  ซึ่งจะทำให้รากไม่งอก สังเกตได้โดยใช้มือจับดู  ถ้าหาก ลื่นแล้วแสดงว่าขูดเยื่อเจริญออกหมดแล้ว
*** นำถุงขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้มาผ่าตรงกลาง จากด้านที่ มีเชือกมัดจนถึงก้นถุงใช้มือแหวกขุยมะพร้าวให้แยกออกเป็นร่อง นำไปหุ้มรอยควั่น พร้อมกับมัดด้วยเชือกฟางให้แน่นอย่าให้ ถุงขุยมะพร้าวหมุนได้
MulticollaC


ถ้าเป็นการปลูกส้มโอแบบยกร่อง  จะปลูกเป็นแถวเดียว  ใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 6 เมตร โดยขุดหลุมปลูกกลางแปลงดิน ส่วนการปลูกในพื้นที่ดอนจะปลูกตามลักษณะของพื้นที่โดยให้มีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว ประมาณ  6 x 6  เมตร 

หลุมปลูกควรมีขนาดความกว้างประมาณ 0.5 เมตร ขุดหลุมแยกดินบนและดินล่างไว้แยกกัน กองไว้ปากหลุม แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ  1 - 2  เดือน  เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคเชื้อราต่าง ๆ  ที่อาศัยอยู่ในดิน ผสมดินปนกับปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  เศษใบไม้ หญ้าแห้ง และบางส่วนของดินชั้นล่าง แล้วกลบลงไปในหลุมจนเต็มปากหลุม นำกิ่งพันธุ์ส้มโอที่เตรียมไว้ปลูกตรงกลางหลุม  โดยให้ระดับของดินอยู่เหนือตุ้มกาบมะพร้าว  กิ่งตอนเล็กน้อย  หรือถ้าเป็นกิ่งตอนที่ชำแล้วให้ระดับพอดีกับระดับดินที่ชำ แล้วใช้ไม้หลักปักให้ถึงก้นหลุมเพื่อกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่ม หาวัสดุพรางแสงแดด  เช่น  ทางมะพร้าว หรือกิ่งไม้ที่มีใบใหญ่พรางแสงแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

1. การให้น้ำ 
ในระยะที่ปลูกส้มโอใหม่ ๆ  ต้องหมั่นให้น้ำสม่ำเสมอจนกว่าจะตั้งตัวได้  เมื่อส้มโอเจริญเติบโตดีแล้ว ให้น้ำเป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น
2. การใส่ปุ๋ย 
ส้มโอควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกควบคู่กันไป ในระยะที่ส้มโออายุ  1 - 3  ปี  หรือยังไม่ให้ผล ให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่า  ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร  15 - 15 - 15  ปุ๋ยเคมีใช้อัตรา  300-500  กรัม/ต้น/ครั้ง  โดยใส่  3 - 4  ครั้ง/ปี  เมื่อส้มโอให้ผลแล้วเมื่อ  อายุ  4  ปีขึ้นไป  การใส่ปุ๋ยจะแตกต่างกันไปตามช่วงของการ  ออกดอกติดผล 

กล่าวคือ  หลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วจะให้ปุ๋ยสูตร  15 - 15 -15  เพื่อให้ต้นส้มโอฟื้นตัวจากการออกผลเร็วขึ้น เมื่อส้มโอจะเริ่มออกดอกใหม่ให้เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตร  8-24-24  หรือ  12 - 24 - 12  เพื่อช่วยให้มีการสร้างดอกดีขึ้น เมื่อติดผล แล้วประมาณ  30  วัน ขณะที่ผลยังเล็กอยู่ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 เพื่อช่วยให้การเจริญเติบโตของผลดีขึ้น จนกระทั่ง ผลมีอายุได้ 5-6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร  13 - 13 - 21  เพื่อช่วยให้  ผลมีการพัฒนาด้านคุณภาพของเนื้อดีขึ้นมีความหวานมากขึ้น  ส่วนอัตราการใช้ควรพิจารณาจากขนาดของทรงพุ่มและ จำนวนผลที่ติดในแต่ละปี โดยทั่วไปเมื่อต้นส้มโออายุได้  6-7  ปี ก็จะโตเต็มที่ การใส่ปุ๋ยอาจจะใส่ครั้งละประมาณ  1  กิโลกรัม  สำหรับต้นส้มโอที่มีการติดผลมาก  ควรใส่ปุ๋ยทางใบเสริม  เพื่อช่วยให้ผลส้มโอมีคุณภาพดี  หรือต้นส้มโอที่มีสภาพโทรม  มาก ๆ  จากการที่มีน้ำท่วมหรือน้ำเค็มควรให้ปุ๋ยทางใบเสริมจะ ช่วยให้การฟื้นตัวของต้นส้มโอเร็วขึ้น

วิธีการใส่ปุ๋ยโรยบนพื้นดินภายในบริเวณทรงพุ่ม แต่ระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ซิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือก รอบโคนต้นส้มโอเน่า และอาจทำให้ส้มโอตายได้

3. การตัดแต่งกิ่ง 
ควรตัดแต่งกิ่งที่ขึ้นแข่งกับลำต้นให้หมด รวมทั้งกิ่ง ที่ไม่ได้ระเบียบ กิ่งที่มีโรคแมลงทำลายออกทิ้ง การตัดแต่งกิ่งควร ทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้กิ่งฉีก หลังจากตัดแต่งกิ่งควรใช้ ยากันเชื้อราหรือปูนกินหมากผสมน้ำทาตรงรอยแผลที่ตัด เพื่อกันแผลเน่าเนื่องจากเชื้อรา เดษที่เหลือจากการตัดแต่งกิ่ง ควรรวมไว้เป็นกองแล้วนำไปเผาทำลายนอกสวน


ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง : 
- เพื่อให้การออกดอกติดผลดีขึ้น  เนื่องจากใบได้รับแสงแดดทั่วถึงกัน  การปรุงอาหารของใบมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
- ช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช  เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งที่มีโรคแมลงทิ้งไป 
ช่วยให้กิ่งแย่งอาหารลดน้อยลง  เพราะกิ่งนี้ ชาวสวนต้องตัดทิ้งจะเป็นกิ่งที่คอยแย่งอาหารและไม่ค่อยออก ดอกติดผล 
- ช่วยทำให้ขนาดของผลส้มสมสม่ำเเสมอได้ขนาดตามที่ ตลาดต้องการ 

4. การกำจัดวัชพืช 
ในสวนส้มโอทุกแห่งมักจะมีปัญหาจากวัชพืชที่ขั้นรบกวน ถ้ามีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียหาย เพราะนอกจากจะแย่งน้ำและอาหารแล้วังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงอีกด้วย จึงต้องคอยควบคุมอย่าให้มีวัชพืชมาก แต่การกำจัดหญ้าหรือวัชพืชอื่นให้หมดไปเลยก็ไม่ดีควรให้มีเหลืออยู่บ้างจะช่วยยึดดินไม่ให้หน้าดินพังทลาย รวมทั้งช่วยป้องกันกายระเหยของน้ำได้อีกด้วย ่ 


ข้อมูลอ้างอิง  :  http://rakbankerd.com



โพสต์โดย : POK@