Social :



ป.ป.ส. เตือนภัยผู้หญิง ยาเสียสาว ระบาดหนัก

04 ธ.ค. 61 14:12
ป.ป.ส. เตือนภัยผู้หญิง ยาเสียสาว ระบาดหนัก

ป.ป.ส. เตือนภัยผู้หญิง ยาเสียสาว ระบาดหนัก

ป.ป.ส. เตือนภัยผู้หญิง ยาเสียสาว ระบาดหนัก


เลขาธิการ ป.ป.ส. เตืออันตราย ยาเสียสาว พบปัจจุบันมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น นำไปใช้ผสมเครื่องดื่มทำให้เหยื่อสูญเสียความทรงจำ จนนำไปสู่การถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือเกิดอาชญากรรมอื่นๆ ชี้หากใช้ยาติดต่อเป็นเวลานานทำให้เสพติด เลิกใช้ยากะทันหันทำให้เกิดอาการขาดยา วิตกกังวล เป็นโรคจิต


จากกรณีที่มีการขาย “ยาอัลปราโซแลม” หรือ “ยาเสียสาว” ผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ ให้แก่กลุ่มวัยรุ่นใช้ผสมน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อความมึนเมา ส่งผลให้เกิดอาการสะลึมสะลือมึนงง ซึ่งปัจจุบันพบว่านำมาใช้ประกอบอาชญากรรมในรูปแบบของการมอมยา รูดทรัพย์ หรือล่วงละเมิดทางเพศ ตามสถานเริงรมย์ต่างๆ บางรายถึงกับเสียชีวิต ขณะเดียวก็มีคดีการจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาตัวนี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การใช้ยาดังกล่าวมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) เปิดเผยว่า ข้อเท็จจริง อัลปราโซแลม (Alprazolam) เป็นยาในกลุ่มเบนโซไดอาซีปีน (Benzodiazepine) มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น โซแลม (Zolam) หรือ ซาแน็ก (Xanax) ใช้รักษาอาการในกลุ่มโรควิตกกังวล และตื่นตระหนก รวมไปถึงภาวะนอนไม่หลับ คลายกล้ามเนื้อ ระงับอาการชัก ภาวะซึมเศร้า ติดสุราเรื้อรัง

“ในประเทศไทยยาอัลปราโซแลม จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 ซึ่งไม่อนุญาตให้จำหน่ายได้ในร้านขายยาทั่วไป ต้องได้รับการจ่ายยาโดยแพทย์เท่านั้น เนื่องจากมีฤทธิ์ต่อจิตและระบบประสาทส่วนกลางในสมอง ปัจจุบันมีการค้าและการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น ในกลุ่มวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวตามสถานบันเทิง ใช้ผสมกับน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อดื่มเข้าไปจะ ทำให้มึนเมา สะลึมสะลือ ระหว่างที่ยาออกฤทธิ์ก็จะสูญเสียความทรงจำชั่วขณะ รู้ตัวอีกทีอาจอยู่ในสภาพถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือเกิดอาชญากรรมอย่างอื่น” นายนิยม กล่าว


เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวต่อว่า การใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการเสพติดได้ หากหยุดใช้ยาในทันที อาจทำให้เกิดอาการขาดยา วิตกกังวล เป็นโรคจิต และอาจถึงกับชักได้ แม้จะเป็นยาที่ถูกควบคุมแต่ปัจจุบันก็ยังมีการลักลอบจำหน่าย เพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิดอย่างต่อเนื่อง

โดยบทกำหนดโทษสำหรับผู้ผลิต
Lif
นำเข้า หรือส่งออก ต้องโทษจําคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับ ตั้งแต่ 500,000-2,000,000 บาท สำหรับผู้ขาย ต้องโทษจําคุกตั้งแต่ 7-20 ปี และปรับตั้งแต่ 700,000-2,000,000 บาท สำหรับผู้มีไว้ ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ ต้องโทษจําคุกตั้งแต่ 1-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และสำหรับ ผู้เสพ ต้องโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

“ป.ป.ส. จึงขอให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ เฝ้าระวังการซื้อยาผ่านทางเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ตักเตือนหากพบพฤติกรรมที่จะนำไปสู่อันตรายต่อตนเองและผู้อื่นได้ และขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ประกอบการสถานบันเทิงต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันสอดส่องดูแล โดยเน้นหนักในกลุ่มนักท่องเที่ยว ไม่ให้มีการมั่วสุมใช้สารเสพติด รวมถึงควบคุมอย่างเข้มงวดที่จะไม่ให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าใช้บริการ” นายนิยม กล่าว









โพสต์โดย : Ao